โครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๗ จ.ยะลา


นายสรธร  เพชรแก้วเพชร

เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ทำหน้าที่

หัวหน้าโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา ๗ จังหวัดยะลา อีกหน้าที่หนึ่ง

โครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 7 จ.ยะลา

ความเป็นมาและพระราชดำริ

เมื่อวันที่  19  ธันวาคม  2534
ให้จัดหาพื้นที่รกร้างว่างเปล่าที่เคยถูกบุกรุกสำหรับจัดสร้าง โครงการจุฬาภรณ์พัฒนาในท้องที่จังหวัดยะลา เพื่อจะได้เป็นการช่วยเสริมการพัฒนาชนบทอีกรูปแบบหนึ่งโดยให้พิจารณาถึงความ เหมาะสม  และความสอดคล้องของสภาพพื้นที่ที่จะดำเนินการพัฒนาในหลาย ๆ รูปแบบ

เมื่อวันที่  2  พฤษภาคม  2535
ให้จัดสร้าง ศูนย์เพาะชำกล้าไม้ (Nursery) สำหรับแจกจ่ายกล้าไม้   ฝึกอบรมและให้ความรู้เรื่องการเพาะชำกล้าไม้  และเป็นสถานที่ทัศนศึกษาสำหรับนักเรียน และประชาชนทั่วไป

 ที่อยู่

หมู่ที่ 6 ตำบลแม่หวาด อำเภอธารโต จังหวัดยะลา

ขอบเขตพื้นที่

ทิศเหนือ จด หมู่บ้านฉลองชัย อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

ทิศใต้ จด นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา และอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง

ทิศตะวันออก จด นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา

ทิศตะวันตก จด นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ จังหวัดยะลา

วัตถุประสงค์

1. เพื่ออนุรักษ์สภาพป่าธรรมชาติ พร้อมกับฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้สามารถเอื้อประโยชน์ได้สูงสุด

2. เพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ

3. จัดทำและส่งเสริมเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์

4. เพื่อศูนย์กลางในการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศน์

เป้าหมาย

การ อนุรักษ์ธรรมชาติและสัตว์ป่าในพื้นที่โครงการฯให้คงสภาพสมบรูณ์มีความหลาก หลายหลายทางชีวภาพ พัฒนาส่งเสริมในกิจกรรมงานเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน

ประโยชน์ต่อประชาชน
1. อนุรักษ์สภาพป่าธรรมชาติ พร้อมกับฟื้นฟูสภาพป่าเสื่อมโทรมให้สามารถเอื้อประโยชน์ได้สูงสุด
2. เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศน์
3. อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
4. พัฒนาส่งเสริมในกิจกรรมงานเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้ในเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ เพื่อประโยชน์แก่ชุมชนในพื้นที่อย่างยั่งยืน

ผลการปฏิบัติงานโครงการจุฬาภรณ์พัฒนา 7  จังหวัดยะลา
ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่  1 ตุลาคม  พ.ศ.2549 – 30  กันยายน  พ.ศ.2550
กิจกรรม จำนวน หน่วย ผลการดำเนินงาน
1.เพาะชำกล้าไม้ทั่วไป 20,000 กล้า 20,000
2.เพาะชำกล้าไม้มีค่า 20,000 กล้า 20,000
3.งานฝึกอบรม 1 รุ่น 1
4.งานเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อไม้มีค่าและหายาก 1 งาน 1
5.งานอำนวยการ  และประสานการดำเนินงาน 12 เดือน 12