ประวัติและความเป็นมา


โครงการพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต

พระราชเสาวนีย์ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินานาถ พระราชทานแก่ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า บ้านสร้างถ่อน้อย ตำบลสร้างถ่อนอก อำเภอตัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2538

ข้าพเจ้าถือว่าวันนี้ เป็นวันที่เป็นมิ่งมหามงคล ที่ประเทศไทยได้มีประชาชน เป็นจำนวนมากที่อาสา ที่จะปกป้องรักษาป่า ในผืนแผ่นดินเรา อันที่จริงการปฎิญาณรักษาป่านี้ เป็นประโยชน์แก่พวกเราทุกๆ คน และลูกหลานของเราในอนาคต เพราะเมืองไทย ไม่มีแหล่งน้ำจืดที่ไหนเลย นอกจากป่า ป่าเป็นแหล่งน้ำจืด ป่าเป็นที่เก็บขังน้ำบริสุทธิ์ สำหรับพวกเราได้ทำมาหากิน ได้บริโภค เผื่อว่าผืนดินของเรานี้ จะได้เป็นผืนดินที่เป็นประโยชน์ ให้ชีวิตของพวกเราอย่างแท้จริง ที่เราเป็นนักเกษตรกรรมกสิกรรม ถ้าขาดต้นไม้ ขาดป่า เราก็ขาดความชุ่มชื้น

ความชุ่มชื้นนี้หมายถึง ฝนตกต้องตามฤดูกาล ต้นไม้นี้เป็นของมีประโยชน์มาก เขาจะระเหยความชุ่มชื้น ขึ้นไปบนท้องฟ้าไปผสมกับ ส่วนประกอบในท้องฟ้า ทำให้มีฝนตกต้องตามฤดูกาล และเมื่อฝนฟ้าตกลงมาเขา ก็จะเก็บน้ำไว้ที่ตัวต้นไม้ และก็ในรากทำให้เกิดน้ำใต้ดิน ที่สมบูรณ์ อย่างที่เวลาเราขุดน้ำ ที่ผืนดินเราก็จะได้น้ำ อย่างสมบูรณ์ แม้ว่าฝนจะแล้ง ไปชั่วระยะหนึ่ง

เพราะฉนั้นข้าพเจ้าถือว่า เป็นนิมิตรหมายที่ คนไทยตื่นตัวรู้จักว่าน้ำ เป็นส่วนสำคัญในโลก อันที่จริงแล้ว นักวิชาการทั่วโลกพูดว่า น้ำนี้เป็นของจำกัดในโลกนี้ ไม่ว่าประเทศใดทั้งนั้น และต้นไม้นี้เอง เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้แผ่นดินชุ่มชื้น และก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ฝนฟ้าตก เดี๋ยวนี้ท่านทั้งหลาย คงจะได้ยินผู้เฒ่าผู้แก่จะพูดว่า สมัยนี้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้การเพาะปลูกลำบาก

ประเทศไทยเรามีชื่อเสียงมานาน ในฐานะที่ว่า เป็นประเทศที่สามารถ ผลิตพืชพันธุ์ธัญญาหาร เลี้ยงตนเอง เรามีข้าวบริโภค เรามีอาหารต่างๆ เลี้ยงตัวเอง ซึ่งข้าพเจ้าอยากให้ท่าน ทั้งหลายทราบว่า ความสำเร็จอันนี้ ไม่ใช่ของง่าย เดี๋ยวนี้ทั่วโลกหลายประเทศ หยุดการเป็นประเทศ ที่ผลิตอาหารเลี้ยงตัวเอง ต้องสั่งซื้อ ต้องนำมาจากประเทศต่างๆ ซึ่ง ทำให้การตัดสินใน ของประเทศนั้นๆ ไม่เป็นอิสระเสรีภาพเท่าที่ควร

เพราะฉนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ถือว่าวันนี้เป็นวันที่นิมิตรดี ท่านทั้งหลาย ราษฎรของประเทศไทย ลุกขึ้นมาร่วมกัน รักษาทรัพยากรที่หายาก ที่สุดในโลก และ ไม่มีวันที่จะเพิ่มขึ้นในโลกนี้คือ น้ำ น้ำที่เป็นสายธารแห่งชีวิต น้ำที่เป็นผู้ชุบชีวิตเราตั้งแต่ก่อนเราเกิด เวลาที่เราอยู่ในท้องแม่ เราต้องลอยอยู่ในน้ำ เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือน ที่จะเกิดมีแก่ชีวิตของพวกเรา ที่ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่ เพราะฉนั้น ในการที่ท่านมีความปราถนาดี ที่จะพิทักษ์ทรัพยากรที่สำคัญ ที่สุดของชีวิตมนุษย์

ข้าพเจ้าขออวยพร ให้ท่านทั้งหลาย ประสบความสำเร็จ สมดั่งประสงค์ทุกประการ ซึ่งความสำเร็จของท่าน หมายถึง ความสำเร็จของประเทศไทย และคนไทยในอนาคตนั่นเอง ซึ่งบัดนี้คนทั้งหลาย ไม่ทราบว่าที่เราตัดป่า เราทำลายแหล่งชีวิตของเรา ข้าพเจ้าจึงเลือกคำว่า “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต”

จากพระราชปณิธานของ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงมีพระราชประสงค์ให้ “คน” กับ “ป่า” อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้ราษฎรทุกหมู่เหล่า ต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ใกล้ชุมชน เป็นผลให้ป่าไม้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มรักษาไว้ได้มากขึ้น จึงได้พระราชทาน แนวพระราชดำริให้ราษฎร อยู่ร่วมกับป่าไม้อย่างสันติสุข พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยชุมชน/หมู่บ้าน ได้มีการจัดตั้งองค์การ ในการร่วมกันดูแลรักษาป่า และสภาพแวดล้อม แหล่งต้นน้ำลำธาร

โครงการนี้ มีกิจกรรมหลัก ประเภท คือ

1. โครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำริให้ “คน” กับ “ป่า” อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข โดยพึ่งพาอาศัย ซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นแนวทาง ที่จะทำให้เกิดการพิทักษ์ อนุรักษ์ และฟื้นฟู สภาพป่าให้คงประโยชน์ อย่างยั่งยืนได้ พระราชดำรินี้ ทำให้ราษฎรทุกคน ต่างสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมแรงร่วมใจกัน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ใกล้ชุมชน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ดำเนินการฝึกอบรมตาม โครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า ( รสทป. )

เป็นการฝึกอบรมราษฎร ในชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจ ต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ปลูกฝังความรัก และหวงแหนทรัพยากรป่าไม ้ในท้องถิ่นของตน รวมทั้งคอยดูแล สอดส่อง มิให้มีการบุกรุก และลักลอบตัดไม ้ทำลายป่าแทน เจ้าหน้าที่ของรัฐ

โครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)

ความเป็นมาโครงการ
กองทัพภาคที่ และ กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค ได้เล็งเห็นถึงปัญหา การสูญเสียทรัพยากรป่าไม้ ที่ซึ่งกำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะพื้นที่ป่าไม้ ตามแนวชายแดน ลำพังเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ป่าไม้ คงเกินขีดความสามารถ ที่จะรักษาไว้ได้ หากไม่ได้รับการสนับสนุน จากหน่วยงานอื่น และประชาชนในพื้นที่ จากปัญหาดังกล่าว กองทัพภาคที่ และ กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค จึงได้ริเริ่ม “โครงการ ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.)” ขึ้น เพื่อกระตุ้น และสร้างจิตสำนึก ให้กับประชาชน ที่อยู่ใกล้กับแนวเขตป่า ให้เห็นถึงคุณค่า และความสำคัญของป่าไม้ เลิกการตัดไม้ทำลายป่า แล้วหันมาช่วยกันดูแลรักษาป่าซึ่งโครงการดังกล่าว ได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน อำเภอ 80 หมู่บ้าน เมื่อต้นปี พ.ศ.2537 โดยกรมทหารราบเฉพาะกิจที่ ร่วมกับ จังหวัดอุบลราชธานี ป่าไม้เขตอุบลราชธานี และป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานี โดยกรมป่าไม้ ได้สนับสนุนงบประมาณ ในการฝึกอบรม จำนวน 912,000 บาท มีราษฎรเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งสิ้น 16,000 คนกองทัพภาคที่ และ กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค ได้ทำการประเมินผล โครงการฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า ดังกล่าวแล้วเห็นว่า เป็นโครงการที่มีผลต่อ การดูแลรักษาป่า และยังปลูกฝังจิตสำนึก ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ สร้างทัศนคติที่ดี ต่อการให้ความร่วมมือ กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการดำเนินงานป้องกัน รักษาป่า ให้กับประชาชนได้ดี กองทัพภาคที่ และ กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค จึงได้ทำการขยายผลโครงการนี้ ไปยังพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ซึ่ง กองอำนวยการ รักษาความมั่นคงภายในภาค ส่วนแยก 1เป็นหน่วยรับผิดชอบ ดำเนินการ

โดยกำหนดให้ โครงการฝึกอบรมราษฎร อาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) เป็นโครงการของ ศูนย์ป้องกัน และปราบปรามการลักลอบ ทำลายทรัพยากรป่าไม้ภาคที่ และได้เสนอโครงการ ฝึกอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการลักลอบ ทำลายทรัพยากรป่าไม้ พิจารณาสนับสนุนโครงการฯ และ งบประมาณ ในชั้นต้น มีกำหนด ปี ตั้งแต่ปี 2539 – 2541 งบประมาณการฝึกอบรม ปีละ3,000,000 บาท จำนวน 100 รุ่น/ปี

การดำเนินงานตามโครงการ ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงทราบ และให้ความสนพระทัย เป็นอย่างยิ่ง โดยได้มีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” ให้กับกลุ่มราษฎรหมู่บ้าน และ ชุมชน ที่สามารถดูแลรักษาป่าไว้ได้ ในโอกาสที่ พระองค์ทรงเสด็จพระราชดำเนิน แปรพระราชฐาน ณ ตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เป็นประจำทุกปี ซึ่งมีตัวแทนของราษฎร เข้ารับพระราชทานธงด้วย และในปัจจุบันโครงการ ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ได้ทำการขยายผล ไปสู่พื้นที่ต่างๆ ของประเทศแล้ว

วัตถุประสงค์
1. สร้างจิตสำนึกร่วมกัน ของราษฎรในพื้นที่ ตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน จนถึงระดับชุมชนใหญ่ ให้เกิดความรักหวงแหน และความเป็นเจ้าของป่าด้วยกัน
2. สร้างจิตสำนึกและอุดมการณ์ร่วมกัน ในการป้องกันรักษาป่า ระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ กับราษฎรในพื้นที่ให้เป็นรูปธรรม
3. เพื่อให้ราษฎรผู้ผ่านการฝึกอบรม มีความรู้ ความเข้าใจ ต่อทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า และวิธีการอนุรักษ์ ตลอดจนผลกระทบ ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อขยายผลสูญาติพี่น้อง ในครอบครัวต่อไป
4. เพื่อเป็นทักษะขั้นพื้นฐานที่ควรรู้ ให้กับราษฎรเพื่อสิทธ ิและประโยชน์อันพึงได้รับจากรัฐ
5. เพื่อจัดตั้งองค์กร ราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ในชุมชน

เป้าหมาย
1. ราษฎรในหมู่บ้าน ที่อยู่ชิดพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้แก่ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ และป่าสงวนแห่งชาติ และเป็นความเร่งด่วนอันดับ 1
2. ราษฎรในหมู่บ้านที่อยู่ใกล้ชิด พื้นที่ป่าอนุรักษ์ออกมาตามลำดับ เป็นความเร่งด่วอันดับ 2

2. โครงการธงพิทักษ์ป่าเพื่อรักษาชีวิต

เป็นการคัดเลือก หมู่บ้าน/ชุมชน ที่ให้ความร่วมมือ ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในชุมชนของตนเอง ให้มีสภาพอุดมสมบูรณ ์ไม่มีการลักลอบตัดไม้ ทำลายป่า หรือบุกรุกพื้นที่ป่า ซึ่งทำการคัดเลือก โดยคณะอนุกรรมการ ดำเนิน โครงการธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” แล้วทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพื่อขอพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” ให้กับชุมชน ลักษณะของธง จะปรากฏภาพช้าง อยู่ในป่าอยู่ภายใต ้พระปรมาภิไธยย่อ สก.

คณะกรรมการ โครงการธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” จึงได้คัดเลือกชุมชน ที่มีผลงานอนุรักษ์ ทรัพยากรป่าไม้ เป็นผลดี เข้ารับพระราชทานธงพิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต ตั้งแต่ ปีพุทธศักราช 2539 เป็นต้นมา

โครงการธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต”

ความเป็นมาโครงการธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” นี้เป็นธงที่ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระราชทาน ให้แก่ราษฎรเป็นหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้ร่วมกันดูแลหวงแหน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ของหมู่บ้าน/ชุมชน ของชาติเป็นส่วนรวม โดยได้ร่วมแรงร่วมใจกัน อนุรักษ์ป่าไม้ในหมู่บ้าน/ ชุมชนของตน รักษาชีวิตสัตว์ป่า รักษาสิ่งแวดล้อม โดยไม่เข้าไปตัดไม้ทำลายป่า แผ้วถางทำไร่เลื่อนลอย หรือล่าสัตว์

ลักษณะของธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต”เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด กว้าง 80 เซนติเมตร ยาว 114 เซนติเมตร โดยประมาณ ผืนธงเป็นสีฟ้า ภายในธงประกอบไปด้วย ส่วนบน กลางผืนธง จะเป็นพระมหามงกุฎ มีพระปรมาภิไธยย่อ “สก” อยู่ภายในรูปวงรี ส่วนกลางผืนธง จะเป็นต้นไม้สองต้น ระหว่างกลางจะมีช้าง จำนวน 1,2 หรือ เชือก ส่วนกลางผืนธง จะมีแถบสะบัดขึ้นกลางแถบมีคำว่า “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” ของธงปักด้วยไหมสีน้ำเงิน

ความหมายของธงและสี

สีฟ้า เป็นสีประจำพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

สีเขียว หมายถึง ความชุ่มชื่น ร่มเย็น

สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง

ต้นไม้ แสดงถึงป่าไม้

ช้าง แสดงถึงป่าที่อุดมสมบูรณ์

หลักเกณฑ์การพิจารณาพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต”

ชั้นที่ ธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” มีช้างประกอบ เชือก บนผืนธง จะพระราชทานให้แก่ กลุ่มราษฎรที่ได้รวมตัวกัน รักษาป่าจนเป็นที่ยอมรับ จากประชาชนในระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด มีการจัดตั้งองค์กร ในการดูแลรักษาป่าไม้ ตั้งแต่ถึง ปี มีกฎเกณฑ์คือ การดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากป่า มีพื้นที่ดูแลรักษา ไม่น้อยกว่า 300 ไร่ สภาพป่าบางสวน อยู่ในระหว่างฟื้นตัวตามธรรมชาติ ไม่มีการบุกรุกแผ้วถางป่าไม้

ชั้นที่ ธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” มีช้างประกอบ เชือก บนผืนธง จะพระราชทานให้แก่ กลุ่มราษฎรที่ได้รวมตัวกัน รักษาป่าจนเป็นที่ยอมรับ จากประชาชนทั่วไปในระดับภูมิภาค มีการจัดตั้งองค์กร ในการดูแลรักษาป่าไม้ ตั้งแต่ ถึง 10ปี มีกฎเกณฑ์คือ การดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากป่า มีพื้นที่ดูแลรักษา ไม่น้อยกว่า 500 ไร่ สภาพป่าบางสวน อยู่ในระหว่างฟื้นตัวตามธรรมชาติ ไม่มีการบุกรุกแผ้วถางป่าไม้

ชั้นที่ ธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” มีช้างประกอบ เชือก บนผืนธง จะพระราชทานให้แก่ กลุ่มราษฎรที่ได้รวมตัวกัน รักษาป่าจนเป็นที่ยอมรับ จากชุมชนระดับท้องถิ่น จนถึงระดับประเทศ มีการจัดตั้งองค์กร ในการดูแลรักษาป่าไม้ ตั้งแต่10 ปี ขึ้นไป มีกฎเกณฑ์ในการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์จากป่า อันไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อป่า มีพื้นที่ดูแลรักษา ไม่น้อยกว่า 1,000 ไร่ สภาพป่าสมบูรณ์ ไม่มีการบุกรุกแผ้วถางป่าไม้

ศปร.กอ.รมน.ภาค ค่ายสุรนารี อ.เมือง นครราชสีมา