โครงการส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นเป็นพืชเศรษฐกิจ จังหวัดยะลา


นายสรธร  เพชรแก้วเพชร

เจ้าพนักงานป่าไม้ชำนาญงาน ทำหน้าที่

หัวหน้าโครงการส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นเป็นพืชเศรษฐกิจ จังหวัดยะลา อีกหน้าที่หนึ่ง

ความเป็นมา
ผืนป่าฮาลา-บาลา เป็นป่าดิบชื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย และมีแนวเขตป่าเชื่อมติดต่อกันเป็นผืนใหญ่ระหว่าง จังหวัดยะลา นราธิวาส และประเทศมาเลเซีย ป่าฮาลา-บาลา เป็นป่าดิบชื้นในเขตภูมิศาสตร์อินโดมาลายัน อยู่ในอนุภาคซุนดา เป็นพื้นที่ ป่าที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่ต่างไปจากพื้นที่ป่าในเขตอื่นของประเทศไทย ในปัจจุบันผืนป่าแห่งนี้กำลังถูกคุกคามและถูกบุกรุก ทำลายลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความต้องการพื้นที่ทำกิน จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีการอนุรักษ์ คุ้มครอง ก่อนที่แหล่งพันธุกรรมทาง ชีวภาพที่สำคัญของชาติ จะถูกทำลายต่อไปโดยไม่มีโอกาสกลับคืนมาได้อีก การบริหารจัดการที่นำไปสู่การมีส่วนร่วม เป็นมิตรและเห็น ความสำคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถดำเนินการได้โดยการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความ ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่การส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นพืชเศรษฐกิจ สำหรับสนับสนุนและส่งเสริม ให้ประชาชนนำไปขยาย
พันธุ์และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ ควบคู่กับการพักผ่อน หาความเพลิดเพลินและสัมผัสกับธรรมชาติที่แท้จริง ซึ่งจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วย สร้างจิตสำนึกให้นิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นรูปธรรมและยั่งยืนต่อไป

พื้นที่ตั้งของโครงการ
โครงการส่งเสริมและพัฒนาพันธ์ไม้ป่าดิบชื้น เป็นพืชเศรษฐกิจ ตั้งอยู่หมู่ที่ ๖ ตําบลแม่หวาด อําเภอ ธารโต จังหวัดยะลา พื้นที่ตั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ป่าฮาลา จังหวัดยะลา ที่เป็นส่วนหนึ่งของผืนป่าฮาลา- บาลา มีลักษณะภูมิประเทศที่เป็นเขาสูงชันสลับซับซ้อน และมีภูมิอากาศที่เหมาะสม ทําให้ป่าแถบนี้มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลายหลายทางชีวภาพสูง มีไม้มีค่าทางเศรษฐกิจ พืชสมุนไพร พืชกินได้ ไม้ดอกไม้ประดับ และพันธุ์ไม้อื่นๆ อีกมากมาย อยู่รวมกันเป็นสังคมพืชป่าดิบชื้น

วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
1.เพื่อให้ศูนย์การอนุรักษ์และรวบรวมพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นที่มีค่าทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะพืชสมุนไพร พืชกินได้ ไม้ดอกไม้ประดับ และพืชอื่นๆ
2.เพื่อเป็นแหล่งในการศึกษาและพัฒนาศักยภาพของพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด
3.ผลิตกล้าไม้เพื่อแจกจ่ายให้ราษฎรนำไปปลูกขยายผลในพื้นที่ของราษฎร

ระยะเวลาดำเนินการและผลการดำเนินงาน

ผลการปฏิบัติงานโครงการส่งเสริมและพัฒนาพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นเป็นพืชเศรษฐกิจจังหวัดยะลา
ระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่  1 ตุลาคม  พ.ศ.2549 – 30  กันยายน  พ.ศ.2550

กิจกรรม

จำนวน

หน่วย

ผลการดำเนินงาน

1.เพาะชำกล้าไม้

100,000

กล้า

100,000

2.เพาะชำกล้าไม้มีค่า

50,000

กล้า

50,000

3.จัดทำทางลำลองศึกษาพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น พร้อมป้ายสื่อความหมาย  และสิ่งอำนวยความสะดวก

3.5

กิโลเมตร

3.5

4.ผลิตและส่งเสริมพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น เป็นพืชเศรษฐกิจ

5

ชนิด

5

5.ประชาสัมพันธ์และอำนวยการ

12

เดือน

12