รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมฯ พิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการภาครัฐ

วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุม 301 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล

นายสุพจน์ ภู่รัตนโอภา รองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้รับมอบหมายจากอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2568 โดยมีนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยที่ประชุมได้รับทราบรายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2567 การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการก่อสร้างระบบรวบรวมและบำบัดน้ำเสีย (พื้นที่วิกฤตโซนที่ 1) อบจ.นนทบุรี สรุปผลการดำเนินการและความคิดเห็นในภาพรวมต่อข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และรายงานสถานภาพการเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

ด้านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

1. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำจาง-ห้วยบ้านโตก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบูรณ์

2. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำแม่ตายละ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

3. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองหาดใหญ่

4. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการทางแยกต่างระดับจุดตัดทางหลวง หมายเลข 347 กับทางหลวงหมายเลข 3263 (แยกวรเชษฐ์)

5. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ทางหลวงหมายเลข 121 ช่วงจุดตัดทางหลวงหมายเลข 108 – จุดตัดทางหลวงหมายเลข 11 จ.เชียงใหม่

6. รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างสายส่งระบบ 115 KV ช่วงสถานีไฟฟ้าแรงสูงวชิราลงกรณ – สถานีไฟฟ้าสังขละบุรี จ.กาญจนบุรี (ส่วนที่ผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1)

ด้านนโยบายและบริหาร

1. (ร่าง) แนวทางการจัดระเบียบป้ายเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมภูมิทัศน์เมือง

2. (ร่าง) แผนผังภูมินิเวศภาคเหนือ

3. (ร่าง) ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี พ.ศ. ….

4. การปรับปรุงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

5. การร้องขอข้อยกเว้นเพิ่มเติม (Extension of Exemption Period) ตามข้อบทที่ 4 ผลิตภัณฑ์ที่เติมปรอท ภายใต้อนุสัญญามินามาตะว่าด้วยปรอทของประเทศไทย

6. การเสนอพื้นที่ชุ่มน้ำเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ (Ramsar Site) จำนวน 3 แห่ง คือ 1) พื้นที่ชุ่มน้ำศูนย์ศึกษาธรรมชาติกองทัพบก (บางปู) เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา มหาราชินี 2) พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำบางปะกงตอนล่าง และ 3) พื้นที่ชุ่มน้ำแม่น้ำอิงตอนล่าง

7. การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ 15 (COP 15)

Leave a Comment

Skip to content