ประวัติกรมป่าไม้

ภาคที่ 1 การป่าไม้ไทย ยุคแรกเริ่ม ก่อตั้งกรมป่าไม้

2430
สนธิสัญญาบาวริ่ง ห้ามเจ้านายฝ่ายเหนือ อนุญาตทําไม้สักในป่าแปลงเดียวกันเกินกว่า 1 ราย
2438
Dr. Cheek ชาวอเมริกันนําการลงทุนทําป่าไม้สักของฝรั่งชาติตะวันตกเข้ามาในประเทศไทย
2439
Mr. H. Slade ที่รัฐบาลว่าจ้างต่อจาก Mr. Castenjold เสนอรายงานให้ป่าไม้สักเป็นสมบัติของแผ่นดิน (พ้นกรรมสิทธิ์ของเจ้านาย ฝ่ายเหนือ) ส่งคนรุ่นหนุ่มไปเรียนวิชาป่าไม้ในต่างประเทศเพื่อกลับมาบริหารกิจการป่าไม้เอง

18 กันยายน 2439 โปรดเกล้าฯ สถาปนากรมป่าไม้

16 ตุลาคม 2439 โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง Mr. H. Slade เป็นเจ้ากรมป่าไม้คนแรก มีที่ทําการกรมป่าไม้แห่งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่
2440
พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิริยะศิริ) เจรจาขอโอนสิทธิ์ป่าไม้สักเป็นสมบัติของแผ่นดินได้สําเร็จ โดยแบ่งค่าตอครึ่งหนึ่งให้เจ้านายฝ่ายเหนือ
2441
ใช้พระราชบัญญัติป้องกันการลักลอบตีตราไม้ พ.ศ. 2441
2449
เริ่มกานไม้สักเองแทนการให้บริษัทรับสัมปทาน ทําไม้ชาวต่างประเทศเลือกกานไม้ได้เอง โดยมีพระยาดรุพันพิทักษ์ (สนิท พุกกะมาน) เป็นหัวหน้ากองกานไม้คนแรกที่จังหวัดลําปาง (ต้นกําเนิดกองคุ้มครอง)

มีการปลูกสร้างสวนสักเป็นครั้งแรกในจังหวัดแพร่แบบอาศัยชาวไร่ (Taungya Plantation) มีพระยาวนพฤกษ์พิจารณ์ (ทองคํา เศวตศิลา) เป็นผู้ดําเนินงาน
2455
เปลี่ยนแปลงรอบตัดฟันจาก 12 ปีเป็น 30 ปี (ภาคเปิด 15 ปี ภาคปิด 15 ปี) เปลี่ยนการจัดเก็บค่าตอไม้จากรูปีมาเป็นเงินบาทไทย โดย กําหนดค่าตอไม้สักต้นละ 12 บาท กําหนขนาด จํากัดไม้สักที่เลือกสับกานไว้ไม่ต่ำกว่า 6 ฟุต 4.5 นิ้ว มีการบํารุงต้นสักด้วยการตัดเถาวัลย์ และการขยายพันธุ์ไม้สักด้วยเมล็ดที่จังหวัดลําพูน (ต้นกําเนิดกองบํารุง)

รัฐบาลเริ่มทําไม้สักเองเป็นครั้งแรกที่ป่าแม่แฮด จังหวัดแพร่ เพื่อฝึกหัดพนักงานป่าไม้ไทย
2458
มีการตราพระราชบัญญัติรักษาป่า พ.ศ. 2456 ขึ้นใช้บังคับกําหนดไม้หวงห้าม 10 ชนิด ได้แก่ ยาง ตะแบก เต็ง รัง ตะเคียน พะยอม กว้าว แดง สวองและประดู่
2464
รายงานกิจการกรมป่าไม้ด้วยภาษาอังกฤษ เป็นการเผยแพร่กิจการของกรมป่าไม้เป็นครั้งแรก ตั้งโรงเรียนสอนวิชาการป่าไม้ที่แผนกยันตรศึกษา โรงเรียนข้าราชการพลเรือน
2465
โปรดเกล้าฯ โอนกรมป่าไม้จากกระทรวงมหาดไทยไปสังกัดกระทรวงเกษตราธิการ

ภาคที่ 2 กรมป่าไม้ ยุคสืบสาน การพัฒนากิจการต่อเนื่อง

2467
กระทรวงเกษตราธิการวางระเบียบการเจาะเผาเอาซันจากต้นตะเคียนซันตาแมว ทําข้อตกลงกับกรมทะเบียนที่ดินว่าการขอจับจองที่ดินหรือการขอรับโฉนด ให้เจ้าพนักงานที่ดินส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานป่าไม้พิจารณาเสียก่อน
2470
โอนสัมปทานป่าแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ให้บริษัท อี้สต์เอเชียติ๊กฝรั่งเศส กรมป่าไม้ถอนกําลังมาทําไม้ที่ป่าแม่ต้า-เมืองลอง จังหวัดแพร่ ขยายการทําไม้กระยาเลยที่ป่าหนองเต็ง-จักราช จังหวัดนครราชสีมา

โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระยาครุพันพิทักษ์ (สนิท พุกกะมาน) เป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนที่ ๔ ประกาศตั้งป่าไม้ภาคมณฑลปัตตานี เปลี่ยนการ เก็บค่าตอและภาษีไม้มาเป็น การเก็บค่าภาคหลวงหน่วยลูกบาศก์เมตร
2475
กรมป่าไม้โอนกลับไปสังกัดกระทรวงมหาดไทยอีกเป็นครั้งที่สอง
2476
โอนกรมป่าไม้ไปสังกัดกระทรวงเศรษฐการ
2477
กรมป่าไม้โอนกลับไปสังกัดกระทรวงเกษตราธิการอีกเป็นครั้งที่สอง
2478
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนสอบคัดเลือก ได้พระยาพนานุจร (เปล่ง สาครบุตร) เป็นอธิบดีกรมป่าไม้คนที่ 5 (คนไทยคนที่ 2) กรมป่าไม้แบ่งส่วนราชการใหม่โดยเปลี่ยนกองทําไม้เป็นกองคุ้มครอง กองกานไม้เป็นกองบํารุง ตั้งกองค้นคว้าของป่าและกองโรงเรียนป่าไม้ขึ้นมา

จัดทําวารสาร "วนสาร” ราย 3 เดือนเป็นครั้งแรก มีพระยาอนุวัตน์วนรักษ์ (ซุนหว้า สุทธิ สุวรรณ) เป็นบรรณาธิการคนแรก
2480
กรมป่าไม้เปิดเจรจากับผู้รับสัมปทานชาวต่างประเทศ ได้ผลว่ารัฐบาลจะทําป่าไม้สักเองร้อย ละ 50 อีกร้อยละ 50 ให้แก่ผู้รับสัมปทานชาว ต่างประเทศรายเดิม นักเรียนโรงเรียนป่าไม้แพร่ รุ่นแรกสําเร็จการศึกษา 25 คน

สภาผู้แทนราษฎรผ่านพระราชบัญญัติออกใช้ 2 ฉบับ ได้แก่ พระราชบัญญัติควบคุมยางสน และพระราชบัญญัติควบคุมต้นตะเคียนชันตาแมว
2481
สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2481 ออกบังคับใช้
2483
รวมกิจการโรงเรียนวนศาสตร์จังหวัดแพร่เป็นคณะหนึ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรอนุปริญญา 3 ปี

2 พฤศจิกายน 2483 กรมป่าไม้ประกาศงดใช้พิกัด วา กํา ในการจําหน่ายไม้ เปลี่ยนมาใช้ มาตราเมตริกแทน
2484
ออกใช้บังคับรัฐบาลเข้ายึดสัมปทานทําไม้สักของบริษัทซาติตะวันตกทั้งหมด ตั้งเป็นบริษัท ไม้ไทยจํากัด

สภาผู้แทนราษฎรผ่านร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2484 ออกบังคับใช้
2487
เปลี่ยน "ป่าไม้ภาค" เป็น "ป่าไม้เขต” เริ่มดําเนินการสวนพฤกษศาสตร์พุแค จังหวัดสระบุรี

คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี (5 ปี) ขึ้นเป็นปีแรก
2489
รัฐบาลไทยส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่บริษัททําไม้สักชาติตะวันตกทั้ง 4 บริษัท รัฐบาลมีความจําเป็นต้องทําป่าไม้สักเสียเองจึงยุติการให้สัมปทานแก่ชาวต่างประเทศ

กรมป่าไม้เลือกกานไม้สักชดเชยให้เพื่อเหตุผลในการพัฒนาประเทศหลังสงคราม
2490
31 มกราคม 2490 รัฐบาลจัดตั้งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ โอนกิจการกองทําไม้ กิจการทํายางสน กิจการยาง และโรงเลื่อยเกษตร 1 และ 2 ไปจากกรมป่าไม้
2495
Mr. G. N. Danhoff ผู้เชี่ยวชาญชาวเนเธอร์แลนด์ เสนอให้สงวนป่าไว้ร้อยละ 40 ของเนื้อที่ประเทศ
2497
ยุบเลิกป่าไม้ เขตเดิมและจัดตั้งเป็นป่าไม้เขต 21 เขต จัดตั้งป่าไม้แขวง (Forest Rangers) 898 แขวง มีการทดลองปลูกไม้เมืองหนาวที่สถานีวนกรรมดอยสุเทพเพื่อให้ชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่น
2498
ยุติการให้สัมปทานป่าไม้สักแก่ชาวต่างประเทศทั้งหมด มอบให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และคนไทยเข้าดําเนินการประชาสัมพันธ์กิจการป่าไม้โดยจัดสร้างภาพยนตร์เรื่อง "กังวานไพร" เป็นครั้งแรก
2499
วางศิลาฤกษ์อาคารที่ทําการกรมป่าไม้ ริมถนน พหลโยธิน กม. 15 (เนื้อที่ 61 ไร่ 2 งาน 71 ตารางวา) Dr. Ing Frits Loetsch ชาวเยอรมัน มาช่วยงานสํารวจทรัพยากรป่าไม้
2501
กรมป่าไม้เลิกเช่าวังพระองค์เจ้าศุภโยคเกษม (วังแดง) ถนนบริพัตร อําเภอป้อมปราบ ย้ายวิทยาลัยวนศาสตร์ จังหวัดแพร่ไปรวมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่อําเภอบางเขน กรมป่าไม้รื้อฟื้นการสอนวิชาป่าไม้ที่โรงเรียนป่าไม้แพร่ขึ้นอีก

9 ตุลาคม 2501 นายเฉลิม ศิริวรรณ รักษาราชการอธิบดีกรมป่าไม้ต่อจากนายคิด สุวรรณสุทธิ ได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นอธิบดีกรมป่าไม้ พิธีเปิดอาคารที่ทําการกรมป่าไม้ (ปัจจุบันคืออาคารเทียมคมกฤส)
2503
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกําหนดให้สงวนป่าไม้ไว้เป็นสมบัติของชาติเนื้อที่ 156 ล้านไร่

ระงับการให้สัมปทานทําไม้สัก มอบการทําไม้สักให้แก่องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้รายเดียว บริษัทป่าไม้ร่วมทุนจํากัดเลิกกิจการไป
2507
28 เมษายน ประกาศใช้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
2510
28 มี.ค. - 2 เม.ย. ประชุมวิชาการป่าไม้ครั้งแรก ยุบด่านป่าไม้กาโด เมืองมะละแหม่ง ชักลากไม้มาฝั่งไทยทางอําเภอแม่สอดและอําเภอแม่สะเรียง
2523
ตั้งสายตรวจพิเศษทางอากาศร่วมกับภาคพื้นดิน เพื่อปราบปรามการกระทําผิดกฎหมาย เริ่มปลูกบํารุงพันธุ์ไม้สนที่ดอยบ่อหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ปลูกสร้างสวนป่าเอกชนป่าเขาบางแกรกทุ่งโพธิ์ และสวนป่าลาดกระทิง ตั้งศูนย์เพาะชํากล้าไม้แห่งแรกที่จังหวัดลําปาง
2525
จัดอบรมอาสาสมัครป้องกันรักษาป่าครั้งแรก เพื่อแก้ไขปัญหาลักลอบตัดไม้ทําลายป่าโดยประชาชนมีส่วนร่วม
2528
แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติขึ้นเป็นคณะแรก
2530
ช่วยเหลือราษฎร ให้สิทธิทํากินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามแนวพระราชดําริรัชกาลที่ 9
2532
จัดตั้งหมู่บ้านป่าไม้ อพยพราษฎรออกจากพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า
2535
ประกาศใช้พระราชบัญญัติ สวนป่า พ.ศ. 2535
2539
สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5

ครบรอบ 100 ปีวันสถาปนากรมป่าไม้

เริ่มโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 9 เนื่องในวโรกาสครองราชย์ปีที่ 50 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระราชทานธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต" ให้แก่อาสาสมัครพิทักษ์ป่า (อสทป.)
2545
ปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งกรมป่าไม้ออกเป็น 3 กรม ได้แก่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และกรมทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่ง
2556
จัดที่ดินและส่งเสริมอาชีพป่าไม้โดยออกเอกสารสิทธิ์ทํากิน (สทก.) ให้ประชาชนที่อยู่ในป่ามาก่อนมีสิทธิ์ถือครองพื้นที่ป่าไม้

ภาคที่ 3 กรมป่าไม้ ยุคสมัยปัจจุบัน และก้าวสู่อนาคต

2557
จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ “พยัคฆ์ไพร"

จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า (ศปก. พป.)

คําสั่ง คสช. ที่ 64/2557 เรื่องการปราบปราม และหยุดยั้ง การบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้

คําสั่ง คสช. ที่ 66/2557 เรื่องเพิ่มหน่วยงานสําหรับป้องกันการบุกรุกทําลายทรัพยากรป่าไม้

จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
2558
ประกาศใช้พระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558
2559
ประกาศใช้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2559
2560
จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติ
2561
มติครม. 26 พ.ย. 2561 เรื่องพื้นที่เป้าหมาย และกรอบมาตรการแก้ไขปัญหาการอยู่อาศัย ในพื้นที่ป่าไม้ (ทุกประเภท)
2562
จัดตั้งสํานักเศรษฐกิจการป่าไม้ สํานักการป่าไม้ต่างประเทศ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ประกาศใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2562 (ยกเลิกไม้หวงห้ามในที่ดินกรรมสิทธิ์)

ประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะกรรมการ นโยบายที่ดินแห่งชาติ พ.ศ. 2562

ประกาศใช้พระราชบัญญัติป่าชุมชน พ.ศ. 2562

ครม. เห็นชอบนโยบายป่าไม้แห่งชาติฉบับใหม่
Skip to content