ภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบ

ส่วนการเจ้าหน้าที่ มีอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ ดังนี้

– วิเคราะห์และจัดอัตรากำลังของกรมป่าไม้ การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง การวางแผนกำลังคน และพัฒนาระบบงานบริหารบุคคลของกรมป่าไม้
– ดำเนินงานเกี่ยวกับการสรรหา การย้าย การเลื่อน การโอน และการประเมินบุคคล
– ดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนประวัติ การปรับปรุงข้อมูลบุคคล การขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จบำนาญ การพิจารณาความดีความชอบ การขอพระราชทานเพลิง การขออนุญาตการลาทุกประเภท (ยกเว้นการลาศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงาน) และการจัดทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่
– ดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.พ. กรมป่าไม้ ตามมาตรา 18 (1) (2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ.2551
– ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ดังนี้

– ปฏิบัติงานสารบรรณ และงานธุรการทั่วไปของส่วนการเจ้าหน้าที่
– ดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.พ. กรมป่าไม้ ตามมาตรา 18 (1) (2) และ (4)
แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ.2551
– ดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้าง จัดหา เบิกจ่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ของส่วนการเจ้าหน้าที่
– ดำเนินการเกี่ยวกับงานยานพาหนะของส่วนการเจ้าหน้าที่
– ดำเนินการเกี่ยวกับการอนุมัติปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ
– ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

2. ฝ่ายอัตรากำลังและระบบงาน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

– ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำแผนยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคล
– การดำเนินการตามมาตรการบริหารและพัฒนากำลังคนภาครัฐ
– การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่ง
– การประเมินบุคคลและผลงาน เพื่อย้าย โอน เลื่อน แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษลงมา และระดับเชี่ยวชาญ และให้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง และเงินเพิ่มพิเศษ ในตำแหน่งประเภทวิชาการ
– การบริหารกรอบอัตรากำลังพนักงานราชการ
– การปรับปรุงระบบงานฐานข้อมูลอัตรากำลังของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ของกรมป่าไม้
– การดำเนินการเกี่ยวกับ อ.ก.พ.กรมป่าไม้ ตามมาตรา 18 (1) (2) และ (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ.2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
– ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

3. ฝ่ายทะเบียนประวัติและบำเหน็จบำนาญ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

– ดำเนินการจัดทำ รักษาทะเบียนประวัติ (ก.พ.7) ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำและข้าราชการบำนาญ
– ควบคุม กำกับ ดูแล และดำเนินการเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS กรมป่าไม้) และระบบการออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ
– ดำเนินการจัดทำ แก้ไข ปรับปรุงข้อมูลบุคคลของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ผ่านระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS กรมป่าไม้)
– ดำเนินการจัดทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ บัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับบำเหน็จบำนาญ บัตรพิทักษ์เสรีชน และเหรียญราชการชายแดน
– ดำเนินการเกี่ยวกับการขอรับบำเหน็จบำนาญ บำเหน็จดำรงชีพและบำเหน็จตกทอด ของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และข้าราชการบำนาญ
– ดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำ
– ดำเนินการบันทึกเพิ่มเติม แก้ไขและปรับปรุงข้อมูลของข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และลูกจ้างประจำที่เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ผ่านระบบงานเงินเดือนและสวัสดิการ
– ดำเนินการเกี่ยวกับการประกาศเกษียณอายุของข้าราชการและลูกจ้างประจำ และการประกาศให้พนักงานราชการสิ้นสุดสัญญาจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ
– ดำเนินการจัดทำ แก้ไข เพิ่มเติม และปรับปรุงข้อมูลผู้มีสิทธิ (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำและข้าราชการบำนาญ) และบุคคลในครอบครัวผู้มีสิทธิ ในฐานข้อมูลบุคลากรภาครัฐผ่านโครงการ จ่ายตรงค่ารักษาพยาบาลของกรมบัญชีกลาง
– ดำเนินการเกี่ยวกับการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ การรับ-ส่งคืน เครื่องราชอิสริยาภรณ์และประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชฯ
– ดำเนินการเกี่ยวกับการลาทุกประเภท ยกเว้นการลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติงานด้านวิจัยและการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
– ดำเนินการเกี่ยวกับการขอพระราชทานเพลิงศพ
– ดำเนินการเกี่ยวกับการขออนุมัติไปราชการของผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 1-13 และสาขา
– ดำเนินการเกี่ยวกับการคัดเลือกข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการดีเด่นประจำปีของกรมป่าไม้ และข้าราชการพลเรือนดีเด่นของกระทรวงศึกษาธิการ
– ดำเนินการคัดเลือก “เพชรจรัสแสง” บุคคลต้นแบบสังกัดกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
– ดำเนินการจัดทำและดูแล website ของส่วนการเจ้าหน้าที่
– ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

4. ฝ่ายสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

– สรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการิของกรมป่าไม้
– ดำเนินการเกี่ยวกับการบรรจุ แต่งตั้ง โอน ย้าย เลื่อนระดับตำแหน่งของข้าราชการ และลูกจ้างประจำของกรมป่าไม้
– ดำเนินการเกี่ยวกับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการของกรมป่าไม้
– ดำเนินการเกี่ยวกับสรรหา คัดเลือก พนักงานราชการของกรมป่าไม้
– ดำเนินการเกี่ยวกับการลาออกจากราชการของข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ
– การหารือ/ตอบข้อหารือ และให้คำปรึกษาแนะนำด้านการบริหารงานบุคคล มีความถูกต้อง ชัดเจน รวดเร็ว และตรวจสอบได้
– ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

5. ฝ่ายเงินเดือนและค่าตอบแทน มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

– ดำเนินการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ และลูกจ้างประจำของกรมป่าไม้ ในรอบการประเมิน 1 ตุลาคม – 31 มีนาคม และ 1 เมษายน – 30 กันยายน
– ดำเนินการเลื่อนค่าตอบแทนพนักงานราชการประจำปีของกรมป่าไม้
– ดำเนินการให้ข้าราชการกรมป่าไม้ได้รับเงินประจำตำแหน่ง
– ดำเนินการให้ข้าราชการกรมป่าไม้ได้รับเงินค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือนของข้าราชการ
– ดำเนินการให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการกรมป่าไม้ได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว
– ดำเนินการให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำกรมป่าไม้ ได้รับเงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ (สปพ.)
– ดำเนินการให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำกรมป่าไม้ ได้รับเงินค่าตอบแทนพิเศษรายเดือนให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
– ดำเนินการให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ได้รับเงินเพิ่มพิเศษสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.)
– ดำเนินการเรื่องการขอเงินทดแทนกรณีประสบอันตราย เจ็บป่วยหรือสูญหาย เนื่องจากปฏิบัติหน้าที่ราชการของพนักงานราชการ กรมป่าไม้
– ดำเนินการจัดทำประมาณการรายจ่ายขั้นต่ำงบบุคลากรประจำปีของกรมป่าไม้
– ดำเนินการให้ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ และพนักงานราชการ ได้รับเงินรางวัลประจำปีของกรมป่าไม้
– ดำเนินการปรับเงินเดือนข้าราชการ ค่าจ้างลูกจ้างประจำ ค่าตอบแทนพนักงานราชการของกรมป่าไม้
– ดำเนินการปรับเงินเดือนให้ข้าราชการได้รับเงินเดือนตามคุณวุฒิ
– ดำเนินการระบบจ่ายตรงเงินเดือนข้าราชการ และค่าจ้างลูกจ้างประจำ
ของกรมป่าไม้
– ดำเนินการแก้ไขบัญชีถือจ่ายของลูกจ้างประจำกรมป่าไม้
– ดำเนินการเกี่ยวกับการขอบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษให้แก่ข้าราชการที่ประสบอุบัติเหตุ หรือถึงแก่ความตายในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
– ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย