การเก็บข้อมูลต้นไม้ด้วยเทคโนโลยี LiDAR และจัดทำโมเดล 3 มิติ พื้นที่ศึกษา ต้นจามจุรียักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี 2


พิกัด https://maps.app.goo.gl/xQ2y4XmxeDK6Wafa8

เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 ศทส.ร่วมกับ สวพ. และบริษัท Mapper โดยได้รับความกรุณาจากกองการสัตว์และเกษตรกรรมที่ 1 กรมการสัตว์ทหารบกในการอนุเคราะห์พื้นที่ศึกษาและเก็บข้อมูลในครั้งนี้

โดยทางบริษัท Mapper ได้ใช้เครื่องมือ Ultra High Performance 3D Laser Scanner เพื่อจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud Point เหมือนกับครั้งที่ สำรวจ ณ ศูนย์เมล็ดไม้ฯ จังหวัดขอนแก่น ที่เพิ่มมาในการสำรวจครั้งนี้คือ ภาพถ่ายสี

โดยมีรายละเอียดคร่าว ๆ ทางเทคนิคของอุปกรณ์ มีดังนี้

  1. ความละเอียดขนาด 3 มม.
  2. ระยะทำการแกนที่ 600 เมตร
  3. ทำงานร่วมกับ อุปกรณ์ค้นหาค่าพิกัดด้วยดาวเทียม GNSS TITAN TR7

รายงานฉบับเต็ม 3D Tree Library : Mapper

ทดลองสร้างโมเดล 3 มิติ ด้วยโทรศัพท์มือถือ Iphone 13 Promax ซึ่งเป็นรุ่นที่มีฟังชันก์ LiDAR

ผลการเก็บข้อมูลด้วยมือถือพบว่าข้อจำกัดหลายประการ เช่น

  1. ระยะทำการของ LiDAR บนมือถือจะทำงาน(วัดระยะด้วย Laser) ที่มีความแม่นยำคือ 2 เมตร
  2. ต้นไม้มีขนาดใหญ่มาก และสูงมาก ทำให้เก็บข้อมูลได้ยาก โดยเฉพาะส่วนบนของกิ่งต้นไม้ สุดระยะแขนของผู้เก็บข้อมูล อาจใช้ไม้ต่อถ่ายรูป (Selfie Stick) ช่วยขยายระยะแขนได้
  3. สภาพอากาศที่ร้อน ส่งผลโดยตรงต่อ การประมวลผลของโปรแกรม Poly Cam (Tottering) ทำให้โปรแกรมประมวลผลไม่ทันหรือระยะผิดพลาด
  4. การกวาดเพื่อเก็บข้อมูลในส่วนพื้นมาปริมาณมากจนเกินไป นอกจากเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลแล้วนั้น ยังมีผลกับเวลาในการเก็บด้วย โดยในวันที่เก็บข้อมูล ใช้เวลาประมาณ 3 ชั่วโมง ซึ่งแบทเตอรี่ของอุปกรณ์เหลือ 20%
  5. ดำเนินการปิดการเชื่อมโยงทั้งหมดเพื่อลดภาระการประมวลผล (Reduce Workload) จากที่ทดลองไม่ส่งผลต่อความเร็วและความร้อนของเครื่องจนมีนัยสำคัญ แต่ลดเรื่องการ Notificate ได้ทำให้การ Render ภาพมีความต่อเนื่องขึ้น อาจส่งผลด้านเวลาในการเก็บข้อมูล
  6. ขนาดไฟล์ข้อมูล ประมาณ 4 GB เมื่อประมวลผลแบบ Fast ในโปรแกรม Poly Cam ใช้เวลามากกว่า 1 ชม. จำเป็นต้องรอให้อุปกรณ์โทรศัพท์มือถือเย็นลงด้วย(ใช้การปิดเครื่องและรอให้เย็นลงประมาณ 4 ชั่วโมง) และได้ผลลัพธ์ดังภาพ 3มิติ ข้างต้น โดยมีขนาดไฟล์หลังประมวลผลที่ 96 MB
  7. ทดลองเปลี่ยนโหมดประมวลให้เป็นแบบที่ละเอียดขึ้น เช่น Object พบว่าโปรแกรมไม่สามารถแสดงผลลัพธ์ได้ และโปรแกรมปิดตัวเองระหว่างการประมวลผล (ประมวลผลไม่สำเร็จ)

กล่าวโดยสรุป หากชิ้นงานมีขนาดใหญ่มาก การใช้อุปกรณ์ขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือที่มี LiDAR อาจได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน หรือมีความผิดพลาดสูงเกินยอมรับได้


แสดงความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

2 ความคิดเห็นบน “การเก็บข้อมูลต้นไม้ด้วยเทคโนโลยี LiDAR และจัดทำโมเดล 3 มิติ พื้นที่ศึกษา ต้นจามจุรียักษ์ จังหวัดกาญจนบุรี