ถาม-ตอบเกี่ยวกับระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้


[toc]

ระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้คืออะไร?

ระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้ (Royal Forest Department Data Catalog) คือ ระบบงานที่มีไว้เพื่อรวบรวมคำอธิบายข้อมูล นอกจากนี้ ระบบฯ ยังมีสามารถในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดไฟล์ไม่เกิน 100 MB และแสดงผลข้อมูลดังกล่าวให้อยู่ในรูปแบบตารางและกราฟอย่างง่ายได้อีกด้วย

คำอธิบายข้อมูลคืออะไร?

คำอธิบายข้อมูล (metadata) คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ เช่น ข้อมูลนี้มีชื่อเรียกว่าอะไร เป็นข้อมูลเกี่ยวกับอะไร หน่วยงานใดเป็นผู้รวบรวม ฯลฯ ซึ่งจะช่วยให้บุคคลทั่วไปเข้าใจและสามารถนำข้อมูลไปใช้ได้อย่างถูกต้อง โดยกรมป่าไม้จะใช้รูปแบบคำอธิบายข้อมูลตาม มาตรฐานของสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ว่าด้วยแนวทางการจัดทำบัญชีข้อมูลภาครัฐ (มสพร. 1-2564)

ทำไมหน่วยงานภาครัฐจึงต้องจัดทำคำอธิบายข้อมูลและบัญชีข้อมูล?

หน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องจัดทำคำอธิบายข้อมูลและบัญชีข้อมูลเพื่อให้เป็นไปตาม พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 4 (4)

ประโยชน์ที่ได้จากการจัดทำคำอธิบายข้อมูลและบัญชีข้อมูลคืออะไร?

  1. ประชาชนเข้าถึงข้อมูลได้โดยสะดวก มีส่วนร่วมและตรวจสอบการดำเนินงานของภาครัฐ และสามารถนำข้อมูลไปพัฒนาบริการและนวัตกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศในด้านต่าง ๆ
  2. ผู้บริหารมองเห็นภาพรวมว่ามีข้อมูลใดในองค์กร และหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบข้อมูลใดบ้าง ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลไปใช้ประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  3. การแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างองค์กรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หน่วยงานควรจะเริ่มต้นจัดทำคำอธิบายข้อมูลและบัญชีข้อมูลอย่างไร?

  1. สำรวจว่าหน่วยงานมีข้อมูลอะไรบ้าง โดยเริ่มจากข้อมูลที่ถูกร้องขอบ่อยครั้งก่อน
  2. บันทึกคำอธิบายข้อมูลเบื้องต้นในระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้ หัวข้อใดที่ยังไม่ทราบให้เลือกหรือพิมพ์คำว่า “ไม่ทราบ” ไปพลางก่อน
  3. สอบถามคำอธิบายข้อมูลส่วนที่เหลือกับผู้รวบรวมข้อมูล หรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบข้อมูล ของข้อมูลที่ยังบึนทึกคำอธิบายข้อมูลไม่สมบูรณ์ และนำมาบันทึกในระบบ
  4. กรณีเป็นข้อมูลที่มีขนาดไม่เกิน 100 MB และเป็นข้อมูลสาธารณะ อาจพิจารณานำเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้โดยตรง

บันทึกคำอธิบายข้อมูลเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้อย่างไร?

สามารถศึกษาวิธีบันทึกคำอธิบายข้อมูลในระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้ได้จากบทความเรื่อง การจัดทำบัญชีข้อมูล ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ หากไม่แน่ใจว่าแต่ละช่องต้องกรอกอะไร ให้อ้างอิงจากภาคผนวก ก. และ ข จากเอกสาร มสพร. 1-2564

นอกจากนี้ ยังสามารถศึกษาการใช้งานระบบได้จากวิดีโอ หลักสูตรการอบรมสำหรับระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ของสำนักงานสถิติแห่งชาติได้อีกด้วย โดยวีดีโอที่แนะนำให้ดู ได้แก่

  1. การอบรมหลักสูตรระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐสำหรับผู้ใช้งานระบบ (รุ่นที่ 2) ตอนที่ 1 เป็นการอธิบายวิธีการบันทึกคำอธิบายข้อมูลในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้ได้ เนื่องจากใช้โปรแกรม CKAN เช่นเดียวกับระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้
    • นาทีที่ 7:30 เริ่มอธิบายเกี่ยวกับโครงการ
    • นาทีที่ 1:10:25 เริ่มอธิบายเกี่ยวกับคำอธิบายข้อมูล (metadata)
    • นาทีที่ 1:22:50 เริ่มสาธิตการบันทึกคำอธิบายข้อมูลในระบบ
    • หมายเหตุ: หากต้องการใช้ไฟล์ template ตามวีดีโอ สามารถดาวน์โหลดได้จากท้ายบทความเรื่อง รายละเอียดคำอธิบายชุดข้อมูล ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ
  2. การอบรมหลักสูตรระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐสำหรับผู้ใช้งานระบบ (รุ่นที่ 2) ตอนที่ 2 เป็นการอธิบายความสำคัญของการจัดรูปแบบข้อมูลจาก Excel File ให้อยู่ในรูปแบบ CSV เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ที่จะนำข้อมูลไปประมวลผล และทำให้แสดงผลข้อมูลในรูปแบบตารางหรือกราฟผ่านระบบฯ ได้โดยตรง
  3. การอบรมหลักสูตรระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐสำหรับผู้ใช้งานระบบ (รุ่นที่ 2) ตอนที่ 4 เป็นการสาธิตวิธีจัดรูปแบบข้อมูลจาก Excel File ให้อยู่ในรูปแบบ CSV

บางช่องในหน้าเพิ่มชุดข้อมูลไม่มีคำอธิบายใน มสพร. 1-2564 ต้องกรอกอะไร?

จะมีบางช่องที่ไม่มีคำอธิบายใน มสพร. 1-2564 ได้แก่

  • การเข้าถึง เป็นการกำหนดว่าผู้ใดสามารถเข้าถึงข้อมูลชุดนี้ได้บ้าง หากระบุ “สาธารณะ” ทุกคนจะเข้าถึงชุดข้อมูล หากระบุ “ส่วนตัว” ชุดข้อมูลจะเข้าถึงได้โดยสมาชิกที่เข้าสู่ระบบและอยู่ในหน่วยงานที่เป็นเจ้าของชุดข้อมูลเท่านั้น
  • ยินยอมให้นำชื่อชุดข้อมูลไปใช้ที่ GD-Catalog เป็นการระบุว่ายินยอมให้นำข้อมูลชุดนี้ไปแสดงใน ระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐ หรือไม่ กรณีที่ยินยอม เมื่อมีระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐมีการรวมรวม (harvest) ชุดข้อมูลนี้จะถูกนำไปแสดงในระบบบัญชีข้อมูลภาครัฐโดยอัตโนมัติ

หากต้องการนำข้อมูลในระบบบัญชีข้อมูลกรมป่าไม้ไปแสดงผลเป็น dashboard จะต้องทำอย่างไร?

ปัจจุบันมีเครื่องมือที่ใช้สร้าง dashboard จากข้อมูลดิบเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเป็นจำนวนมาก เช่น Power BI, Tableau Public, Google Data Studio, Apache Superset ฯลฯ โดยถือเป็นหนึ่งในทักษะทั่วไป (generic skills) ของ เป้าหมายของทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการและบุคลากรภาครัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนเป็นรัฐบาลดิจิทัล ตาม ว6/2561 ซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถเรียนรู้ได้จากแหล่งต่าง ๆ เช่น

แสดงความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *