ป่าชุมชนต้นแบบ วิถีคน วิถีป่า จังหวัด: ขอนแก่น

รายละเอียดข้อมูลขอจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนต้นแบบ " วิถีคน วิถีป่า" จังหวัดขอนแก่น
ชื่อป่าชุมชนบ้านกุดดุก
ที่ตั้งหมู่ที่ 3 ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
อนุมัติ ปี พ.ศ.2543 และได้รับการต่ออายุโครงการ ปี พ.ศ. 2556
เนื้อที่188 – 3 – 45 ไร่
พิกัด276462 E 1882632 N
ชื่อ-สกุล ประธานป่าชุมชนนายณรงค์ สีพุทธา
ประวัติสถานที่          บ้านกุดดุก หมู่ที่ 3 ตำบลทรายมูล อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2557 โดยมีกลุ่มผู้นำอพยพมาจากบ้านเหมือดแอ่ เนื่องจากมีการเกิดโรคระบาดทำให้มีผู้คนเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการอพยพโยกย้ายมาอยู่ในพื้นที่บ้านกุดดุกโดยมีสภาพเป็นป่ามีที่นาโดยรอบ พื้นที่ป่าดังกล่าวเป็นพื้นที่สำหรับตัดไม้ทำเป็นไม้หมอนสร้างทางรถไฟ เป็นแหล่งไม้ฟืนสำหรับต้มน้ำหัวจักรรถไอน้ำ และเป็นป่าสัมปทานไม้เพื่อเข้าโรงเลื่อย โดยชาวบ้านได้กันพื้นที่ป่าบางส่วนเป็นดอนปู่ตาหรือดอนหอ เนื่องจากเชื่อว่าเป็นที่อยู่ของผีปู่ ผีย่า ผีบรรพบุรุษ ช่วยปกปักรักษาคุ้มครองชีวิตผู้คน สัตว์เลี้ยง และพืชพันธุ์ธัญญาหารให้มีความอุดมสมบูรณ์ และพื้นที่ดอนปู่ตาดังกล่าวคือพื้นที่ป่าชุมชนบ้านกุดดุกในปัจจุบัน
เหตุผลในการเลือกพื้นที่          บ้านกุดดุก หมู่ที่ ๓ มีความอุดมสมบูรณ์ด้านพืชอาหารป่า จนได้รับโล่ห์รางวัลพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประเภทป่าชุมชนดีเยี่ยมด้านป่าชุมชนแหล่งอาหารสมบูรณ์ จากการประกวดป่าชุมชน โครงการกล้ายิ้ม “คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน”ประจำปี ๒๕๕๒ ซึ่งจัดโดยกรมป่าไม้ร่วมกับบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ทั้งยังมีความเชื่อในฮีต ๑๒ คอง ๑๔ คือ จารีตประเพณีในแต่ละเดือนของชาวอีสาน มีความเคารพเชื่อฟังผู้อาวุโสตามวิถีและวัฒนธรรมความเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องการบุกรุกพื้นที่และการลักลอบตัดไม้ในพื้นที่ป่าชุมชน ซึ่งเป็นดอนเจ้าปู่ ผีปู่ ผีย่า ผีบรรพบุรุษปกปักรักษาอาจมีเหตุเป็นไป หรือไม่สบาย การนำไม้จากป่าชุมชนมาใช้สำหรับกิจกรรมสาธารณะส่วนรวม ต้องมีการบอกกล่าว ผีภูมิเจ้าที่ ผีปู่ ผีย่า ผีบรรพบุรุษ โดยผ่าน“ขจ้ำ” ซึ่งเป็นผู้นำด้านจิตวิญญาณ
เป็นผู้สื่อสารระหว่างชาวบ้านกับผีปู่ตา
เป็นกุศโลบายในการปกป้องพื้นที่ป่า โดยวิถีทางวัฒนธรรมความเชื่อและทั้งยังเป็นแหล่งศึกษาดูงานด้านพรรณไม้และพืชสมุนไพรแก่ผู้สนใจจากหลากหลายหน่วยงานองค์กร
ประเด็นสำคัญ/จุดเด่น/ปัจจัยหลัก
- ประเด็นหลัก1. มีอาคารเรียนรู้แบบถาวร
2. มีเส้นทางเดินป่าศึกษาธรรมชาติ
3. มีพรรณไม้หลากหลายทั้งไม้ยืนต้น พืชสมุนไพร และพืชอาหารป่า
- ประเด็นรอง1. ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าร่วมกับองค์กรหน่วยงานของรัฐ
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนกิจกรรมดูแลรักษาป่า
3. มีการบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน เป็นรูปอธรรม

 

 

ชื่อ-สกุลเจ้าหน้าที่ประสานงาน: นายจักรกฤษณ์ พละกลาง
ตำแหน่ง: นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
สังกัด: ส่วนจัดการป่าชุมชน สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๗ (ขอนแก่น)