สำนักเศรษฐกิจการป่าไม้ กรมป่าไม้

สรุปผลการเจรจา ครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป ในการจัดทำข้อตกลง FLEGT-VPA

สรุปผลการเจรจา ครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป ในการจัดทำข้อตกลง FLEGT-VPA

สรุปผลการเจรจา ครั้งที่ 3 ระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรป ในการจัดทำข้อตกลง FLEGT-VPA

ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2563 สหภาพยุโรป (อียู) และประเทศไทยได้จัดการเจรจาครั้งที่สาม เพื่อหารือในการจัดทำข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจ (VPA) ในการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า (FLEGT) ผ่านการประชุมทางไกล ทั้งสองฝ่ายมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบในการรับประกันว่าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ผลิตในประเทศไทย นำเข้ามาในประเทศ และส่งออกจากประเทศ ผ่านการตรวจสอบความถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนั้นข้อตกลง VPA ยังช่วยส่งเสริมการค้าไม้ถูกกฎหมาย สร้างธรรมาภิบาลป่าไม้ และสนับสนุนมาตรการของประเทศไทยในการต่อสู้กับการทำไม้ผิดกฎหมาย

นายพงศ์บุณย์ ปองทอง รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “ประเทศไทยดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG) ในการปกป้องรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ และการบริหารจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าไม้” นายพงศ์บุณย์ ปองทอง กล่าวต่อ “จะเห็นได้ว่าการดำเนินการเจรจาจัดทำข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนด้วยความสมัครใจระหว่างประเทศไทยและสหภาพยุโรปที่ผ่านมา  ได้ส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการบังคับใช้กฎหมาย และธรรมาภิบาล ในการจัดการป่าไม้ของประเทศ รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้” 

ตั้งแต่เริ่มการเจรจา ประเทศไทยได้ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบด้านป่าไม้ผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระดับชาติ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้จากประเทศไทยมีความถูกต้องตามกฎหมาย ประเทศไทยได้พัฒนาระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ไทย (THA-TLAS) และวางระบบการควบคุมห่วงโซ่อุปทานไม้ไทยใกล้เสร็จสิ้นแล้ว เมื่อเริ่มใช้ ระบบ THA-TLAS จะช่วยแสดงและรับประกันว่าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ส่งออกจากประเทศไทย มีความถูกต้องตามกฎหมายและกฎระเบียบของประเทศ

ในการเจรจา ครั้งที่ 3 นี้ ประเทศไทยและสหภาพยุโรปได้ นำเสนอความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านนโยบาย กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับภาคป่าไม้  เช่น การปรับปรุงกฎระเบียบ EU Timber Regulation (EUTR) ของสหภาพยุโรป และในปี พ.ศ. 2562 ประเทศไทย ได้มีการแก้ไขพรบ.ป่าไม้ และการประกาศใช้ พรบ.ป่าชุมชน รวมไปถึงการแก้ไขกฎระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง

ฝ่ายไทยและฝ่ายสหภาพยุโรป ได้ร่วมกันพิจารณาร่างภาคผนวกภายใต้ข้อตกลง VPA เช่น การปรับปรุงร่างภาคผนวกนิยามความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ของประเทศไทย โดยในปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการพิจารณารายการสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ที่จะครอบคลุมอยู่ภายใต้ข้อตกลง VPA และต้องได้รับหนังสือรับรองเฟล็กที

การจัดทำภาคผนวกระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ของประเทศไทย และภาคผนวกการควบคุมห่วงโซ่อุปทานของไม้ไทย มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญ โดยปัจจุบันประเทศไทยอยู่ระหว่างการพิจารณากระบวนการควบคุมการนำเคลื่อนที่ของไม้จากที่ดินเอกชน และการควบคุมการนำเข้าไม้ผ่านการศึกษาถอดบทเรียนจากรูปแบบและแนวทางที่ประสบผลสำเร็จ โดยเมื่อได้ข้อสรุปแล้วเนื้อหาจะถูกบรรจุลงไปในข้อตกลง VPA

จากการเจรจา ฝ่ายไทยและฝ่ายสหภาพยุโรป ได้ให้การรับรองในขั้นต้นต่อเอกสารภาคผนวก จำนวน 2 ภาคผนวก ได้แก่ ภาคผนวกเงื่อนไขในการปล่อยสินค้าที่มีหนังสือรับรองเฟล็กทีของประเทศไทยเข้าสู่สหภาพยุโรป และภาคผนวกคำอธิบายการตรวจสอบโดยอิสระซึ่งเป็นแนวทางในการติดตามตรวจสอบการทำงานของกลไกการออกหนังสือรับรองเฟล็กที

คุณ Hugo-Maria Schally, Head of Unit for Multilateral Environmental Cooperation ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสหภาพยุโรป กล่าวว่า “สหภาพยุโรปยังคงยืนยันความมุ่งมั่นที่จะทำข้อตกลงกับประเทศไทยเพื่อต่อสู่กับปัญหาการทำไม้และค้าไม้ที่ผิดกฎหมาย ให้เสร็จสิ้นให้ได้เร็วที่สุด และยืนยันว่าการเจรจาครั้งที่สามนี้ นำมาซึ่งความก้าวหน้าที่ดีที่จะไปนำสู่การบรรลุเป้าหมายดัวกล่าว”

หลังการเจรจา ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะสานต่อการดำเนินการพัฒนาระบบรับประกันความถูกต้องตามกฎหมายของไม้ไทย THA-TLAS ระบบควบคุมห่วงโซ่อุปทานไม้ไทย และภาคผนวกอื่นๆ ที่จะประกอบรวมเป็นข้อตกลง VPA ฉบับสมบูรณ์ รวมทั้งสหภาพยุโรปจะแบ่งปันข้อมูลด้านนโยบายการค้าไม้ รวมถึงสถิติและข้อมูลแนวโน้มตลาดไม้ของสหภาพยุโรปแก่ประเทศไทย และจะหาช่องทางในการให้ความสนับสนุนทางเทคนิคแก่ฝ่ายไทย ในด้านการเสริมสร้างกระบวนการการเข้าร่วมให้เข็มแข็ง และการเสริมสร้างศักยภาพด้านต่างๆ เช่นการตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ไม้ และการบังคับใช้กฎหมาย

ในปัจจุบันมากกว่า 15 ประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการเจรจาและเริ่มดำเนินการข้อตกลง VPA กับสหภาพยุโรป การเข้าร่วมเจรจาข้อตกลง VPA เป็นโอกาสที่ประเทศไทยจะได้เข้าเป็นแนวร่วมในการต่อสู้กับการทำไม้ที่ผิดกฎหมาย และการพัฒนาธรรมาภิบาลป่าไม้ในระดับโลก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

นางกันตินันท์  ผิวสอาด

ผู้อำนวยการ สำนักเศรษฐกิจการป่าไม้

โทรศัพท์ : 081-409-5166

อีเมล : [email protected]

นายสิริวัฒน์ โพธิ์กระเจน

ผู้ช่วยฝ่ายสื่อและข่าวสาร

สำนักงานคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย

โทรศัพท์ : 02-305-2600 ext. 2662

อีเมล : [email protected]

ช่องทางการเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติม

สำนักงานเลขานุการไทย-อียู เฟล็กที

โทรศัพท์ : 02-561-5102

เว็บไซท์ : www.tefso.org  

Facebook : TEFSO

อีเมล : [email protected]  

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *