
วันที่ 22 เมษายน 2562 นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ผู้อำนวยการสำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ สั่งการให้นายสมชาย ฉิมแย้ม หัวหน้าฝ่ายประสานคดีพิเศษ ชุดพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ ประสานการปฏิบัติร่วมกับพันเอกพงษ์เพชร เกษสุภะ หัวหน้าชุดปฏิบัติการ ศปป.4 กอ.รมน. นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดพยัคฆ์ไพร เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษเขตพื้นที่ 6 กรมสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่ทหารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ เจ้าหน้าที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๔ สาขาพิษณุโลก หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้วัดโบสถ์ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ พล.9 (ปากพราน) เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแควน้อย (เตรียมการ) และเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรวัดโบสถ์ รวมกว่า 30 นาย ลงพื้นที่เข้าตรวจสอบสวนแสงพรหมรีสอร์ท ริมลำน้ำแควน้อย ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย
เมื่อเจ้าหน้าที่เดินทางถึง ได้พบกับผู้จัดการรีสอร์ท
โดยได้นำเอกสารสิทธิ์ที่ดินเป็น น.ส.3 ข. พื้นที่ 50 ไร่
และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมมาแสดง เจ้าหน้าที่จึงให้นำชี้ขอบเขตที่ดิน
จากการจับค่าพิกัด
มาคำนวณเนื้อที่ได้จำนวน 102 ไร่เศษ
ซึ่งพื้นที่ไม่ตรงกับเอกสารสิทธิ์ น.ส.3 ข. ที่นำมาแสดงซึ่งมีพื้นที่เพียง
50 ไร่ และมีอาณาเขตไม่ติดต่อกับลำน้ำแควน้อย
จากการตรวจสอบข้อมูล รวมถึงการสืบสวนของ DSI ระบุว่า น.ส.3 ข ฉบับนี้ตำแหน่งที่ตั้งจริงอยู่คนละฝั่งแม่น้ำแควน้อย โดยอยู่ห่างออกไปประมาณ 5 กิโลเมตร และปัจจุบันเป็นเขต สปก.ไปแล้ว ดังนั้น น.ส.3 ข ที่ผู้จัดการสวนแสงพรหมรีสอร์ท นำมาแสดงจึงเป็น น.ส.3 ข ที่บินมาลงในที่ตั้งรีสอร์ทปัจจุบัน และบวมเพิ่มขึ้นจาก 50 ไร่ เป็น 102 ไร่ เจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันตรวจยึดพื้นที่อาคารที่พัก และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ พร้อมนำตัวผู้จัดการรีสอร์ท นำส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรวัดโบสถ์ เพื่อติดตามตัวนายทุนเจ้าของรีสอร์ทแห่งนี้มาดำเนินคดีต่อไป พร้อมส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการ และส่งเรื่องให้กรมที่ดิน ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ซึ่งหากพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เพื่อดำเนินการต่อไป เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เป็นหนึ่งในมูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน
“เจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน ภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการพิทักษ์ป่า (ศปก.พป.) ลงพื้นที่ตรวจสอบสวนแสงพรหมรีสอร์ท ที่พิษณุโลก พบเอกสารสิทธิ์บินจากจุดอื่น และบวมออกสองเท่า พร้อมนำเรื่องส่ง DSI จัดการ”
วันที่ 22 เมษายน 2562 นายชีวะภาพ ชีวะธรรม ผู้อำนวยการสำนักป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า กรมป่าไม้ สั่งการให้นายสมชาย ฉิมแย้ม หัวหน้าฝ่ายประสานคดีพิเศษ ชุดพยัคฆ์ไพร กรมป่าไม้ ประสานการปฏิบัติร่วมกับพันเอกพงษ์เพชร เกษสุภะ หัวหน้าชุดปฏิบัติการ ศปป.4 กอ.รมน. นำกำลังเจ้าหน้าที่ชุดพยัคฆ์ไพร เจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษเขตพื้นที่ 6 กรมสอบสวนคดีพิเศษ เจ้าหน้าที่ทหารกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดเพชรบูรณ์ เจ้าหน้าที่สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ ๔ สาขาพิษณุโลก หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้วัดโบสถ์ หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ พล.9 (ปากพราน) เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติแควน้อย (เตรียมการ) และเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรวัดโบสถ์ รวมกว่า 30 นาย ลงพื้นที่เข้าตรวจสอบสวนแสงพรหมรีสอร์ท ริมลำน้ำแควน้อย ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ จังหวัดพิษณุโลก ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าสองฝั่งลำน้ำแควน้อย
เมื่อเจ้าหน้าที่เดินทางถึง ได้พบกับผู้จัดการรีสอร์ท
โดยได้นำเอกสารสิทธิ์ที่ดินเป็น น.ส.3 ข. พื้นที่ 50 ไร่
และใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมมาแสดง เจ้าหน้าที่จึงให้นำชี้ขอบเขตที่ดิน
จากการจับค่าพิกัด
มาคำนวณเนื้อที่ได้จำนวน 102 ไร่เศษ
ซึ่งพื้นที่ไม่ตรงกับเอกสารสิทธิ์ น.ส.3 ข. ที่นำมาแสดงซึ่งมีพื้นที่เพียง
50 ไร่ และมีอาณาเขตไม่ติดต่อกับลำน้ำแควน้อย
จากการตรวจสอบข้อมูล รวมถึงการสืบสวนของ DSI ระบุว่า น.ส.3 ข ฉบับนี้ตำแหน่งที่ตั้งจริงอยู่คนละฝั่งแม่น้ำแควน้อย โดยอยู่ห่างออกไปประมาณ 5 กิโลเมตร และปัจจุบันเป็นเขต สปก.ไปแล้ว ดังนั้น น.ส.3 ข ที่ผู้จัดการสวนแสงพรหมรีสอร์ท นำมาแสดงจึงเป็น น.ส.3 ข ที่บินมาลงในที่ตั้งรีสอร์ทปัจจุบัน และบวมเพิ่มขึ้นจาก 50 ไร่ เป็น 102 ไร่ เจ้าหน้าที่จึงได้ร่วมกันตรวจยึดพื้นที่อาคารที่พัก และสิ่งปลูกสร้างต่างๆ พร้อมนำตัวผู้จัดการรีสอร์ท นำส่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรวัดโบสถ์ เพื่อติดตามตัวนายทุนเจ้าของรีสอร์ทแห่งนี้มาดำเนินคดีต่อไป พร้อมส่งเรื่องให้กรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการ และส่งเรื่องให้กรมที่ดิน ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ ซึ่งหากพบว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องในการกระทำความผิดจะส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ปปง.) เพื่อดำเนินการต่อไป เนื่องจากความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติ เป็นหนึ่งในมูลฐานความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน





