ป่าชุมชนต้นแบบ วิถีคน วิถีป่า จังหวัด: ยะลา

รายละเอียดข้อมูลขอจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนต้นแบบ " วิถีคน วิถีป่า" จังหวัดยะลา
ชื่อป่าชุมชนบ้านกาลอ
ที่ตั้งหมู่ที่ 2 ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
อนุมัติ ปี พ.ศ.ยังไม่อนุมัติโครงการ
เนื้อที่1,774 ไร่
พิกัดE 763406 N 704895
ชื่อ-สกุล ประธานป่าชุมชนนายหาซัน หะระตี
ประวัติสถานที่กาลอ เป็นชุมชนเก่าแก่มีอายูราว 300 ปี เป็นชุมชนแห่งแรกของอำเภอรามันมีการตั้งถิ่นฐานมานานก่อนสมัยกษัตริย์อิสลามปกครอง ที่ตั้งชุมชนแต่ตั้งเดิมอยู่บริเวณที่เป็นกูโบ (สุสาน) บ้านทำนบ หมู่ที่ 3 ตำบลกาลอในปัจจุบัน
ที่มาของชุมชน “กาลอ” มาจากข้อสันนิฐาน 3 ข้อ คือ
1. มาจากชื่อไม้กาลอ หรือไม้ไข่เขียว ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ มีอยู่มากบนเทือกเขากาลอ
2. มาจาก “ตือลอกาลอ” หรือแมงป่องซึ่งเป็นสัตว์ดุร้ายในนิทานปรัมปรา
3. มาจาก “สะดียอกาลอ” ซึ่งเป็นสถานที่ที่เจ้าเมืองโกตาบารูใช้เป็นสถานที่เลี้ยงช้าง และเป็นที่เก็บสรรพาวุธ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านกาลอในปัจจุบัน
ในอดีตชาวบ้านกาลอดำรงชีพด้วยการทำนา ล่าสัตว์ หาปลา และเก็บของป่าเป็นอาหาร ต่อมาเมื่อประมาณ 300 ปีก่อน โต๊ะหะยีบากา ได้ริเริ่มชักชวนชาวบ้านให้ร่วมกันสร้างทำนบหรือฝายกั้นน้ำได้เพียงพอต่อการเพาะปลูก สามารถขยายพื้นที่ทำนาได้เพิ่มขึ้น
ต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัวมากขึ้น ชาวบ้านเริ่มบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตที่เป็นเนินเขา ได้ทำการปลูกข้าวไร่หมุนเวียน ปลูกฝ้าย อ้อย มะพร้าว หมากพลูและผลไม้ต่างๆ ผลไม้ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ ทุเรียน ทุเรียนพื้นบ้านของกาลอเป็นทุเรียนที่มีชื่อเสี่ยงและรสชาติดี คือพันธุ์ นาซิกูยิ (ข้าว-ขมิ้น) เนื้อจะมีสีเหลืองคล้ายขมิ้นเหมือนหัวกะทิ
การทำข้าวไร่ของชาวบ้านกาลอ จะเป็นรูปแบบไร่ข้าวหมุนเวียน คือ แต่ละครอบครัวจะแบ่งที่ดินที่บุกเบิกใหม่ออกเป็นแปลงๆ ประมาณ 5-10 แปลงโดยจะทำการเพาะปลูกข้าวหมุนเวียนกันไปในแต่ละแปลง ข้าวไร่ดังกล่าวจะมีรสชาติดีและให้ผลผลิตต่อไร่สูง เนื่องจากดินมีโอกาสพักตัว และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมจะถูกตัดฟันให้กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่มีคุณค่า นอกจากนี้การปลูกในลักษณะที่เคลื่อนย้ายไม่ทำซ้ำในที่เดิมทำให้ปราศจากโรคและแมลงรบกวน ต่อมาเมื่อชาวบ้านนิยมปลูกไม้ผลและยางพารามากขึ้น พื้นที่ปลูกข้าวไร่ก็ลดลงและหมดไปในที่สุด
นอกจากนี้สตรีขาวกาลอยังเป็นช่างทอผ้าที่มีฝีมือ “บือแนบือลีจู” เป็นผ้าทอมือย้อมผลมะเกลือ มีเนื้อหนาและทนทาน ได้รับความนิยมจากคนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก
เหตุผลในการเลือกพื้นที่เมื่อปี พ.ศ. 2543 เคยเป็นศูนย์เรียนรู้ด้านป่าชุมชนจังหวัดยะลา
ประเด็นสำคัญ/จุดเด่น/ปัจจัยหลัก
- ประเด็นหลัก1. อดีตเคยเป็นป่าชุมชนต้นแบบจังหวัดยะลา
2. มีความหลากหลายทางชีวภาพ
3. มีภาคีเครือข่าย
- ประเด็นรอง1. เป็นหมู่บ้านที่เข็มแข็งและเคยถ่ายทำสารคดี
2. มีคณะกรรมการที่มีความรู้ความเข้าใจป่าชุมชนเป็นอย่างดี
3. แหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติ

 

 

ชื่อ-สกุลเจ้าหน้าที่ประสานงาน: นายอับดุลลาห์ เจ๊ะโด
ตำแหน่ง: นักวิชาการเผยแพร่
สังกัด: สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 13 สาขานราธิวาส