รายละเอียดข้อมูลขอจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนต้นแบบ " วิถีคน วิถีป่า" จังหวัดนครพนม |
ชื่อป่าชุมชน | บ้านดงป่ายูง |
ที่ตั้ง | หมู่ที่ 9 ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม |
อนุมัติ ปี พ.ศ. | 2555 |
เนื้อที่ | 140-3-37 ไร่ |
พิกัด | 48Q 0470334 UTM 1898205 |
ชื่อ-สกุล ประธานป่าชุมชน | นายไพรวรรณ สุริยนต์ |
ประวัติสถานที่ | ป่าชุมชนบ้านดงป่ายูง หมู่ที่ 9 เป็นพื้นที่ป่าสาธารณะของหมู่บ้าน มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม 5 แปลง จำนวน 140-3-37 ไร่ เป็นป่าไม้ธรรมชาติที่ยังมีต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ แปลงที่ใหญ่ที่สุดมีเนื้อที่ 45 ไร่ เป็นที่ตั้งของศาลาเจ้าปู่ตาหรือศาลหลักบ้านอยู่ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ชาวบ้านเรียกชื่อป่านี้ว่า “ป่าเหล่าหนองเฮือ” หรือดอยปู่ตา
เมื่อปี พ.ศ. 2529 นายใบศรี มะโพธิ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น ร่วมกับ นายเชาวลิต ไชยยงค์ พัฒนากรประจำตำบล ได้วิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง ของหมู่บ้าน และพบว่าจุดแข็งของหมู่บ้านดงป่ายูง มีศักยภาพและมีฝีมือในด้านการจักสานไม้ไผ่ โดยเฉพาะจักสานกระติบข้าว จึงพยายามอนุรักษ์ภูมิปัญญาเรื่องการจักสานกระติบข้าวไว้ ซึ่งต่อมากรมการพัฒนาชุมชนได้สนับสนุนงบประมาณให้หมู่บ้านจำนวน 50,000 บาท เพื่อนำมาซื้อกล้าไม้ไผ่มาปลูกในที่ดินสาธารณะ คือ หนองเฮือ (ดอนมเหศักดิ์) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าดอนปู่ตา ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 45 ไร่ ในสมัยนั้นมีครัวเรือนทั้งสิ้น 76 ครัวเรือน จากการมีวิสัยทัศน์ของพัฒนาชุมชนอำเภอธาตุพนมประกอบกับความร่วมมือของชุมชนบ้านดงป่ายูง จึงได้มีแนวคิดในการที่จะปลูกป่าชุมชนเพื่อชุมชน โดยพัฒนาชุมชนอำเภอธาตุพนมเป็นแกนนำให้แนวคิดจัดทำเวทีประชุมประชาคมขึ้น เพื่อแบ่งเนื้อที่ปลูกป่าไผ่ให้เท่ากันจำนวน 76 ล็อคเท่ากับจำนวน 76 ครัวเรือน ทำการปลูกป่าไผ่และให้บำรุงรักษาตามพื้นที่ของแต่ละครอบครัวที่ได้รับการสรรให้นั้น ซึ่งในช่วงแรก ๆ นั้นชาวบ้านดงป่ายูงยังขาดแคลนไม้ไผ่เพื่อทำการจักสานกระติบข้าว ต้องไปซื้อที่ตำบลคำเตย อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม และซื้อในหมู่บ้านใกล้เคียงทำให้ไม่เพียงพอต่อการผลิตสินค้าเท่าไรนัก จนเมื่อปี พ.ศ.2535 ได้จัดตั้งกลุ่มจักสานกระติบข้าวขึ้นเป็นครั้งแรกโดยได้รับเงินทุนที่เหลือจากการจัดซื้อกล้าไม้ไผ่ จำนวน 10,000บาท ในตอนนั้นมีสมาชิกในกลุ่มจำนวน 10 คน ดำเนินการจนถึงปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 130 คน |
เหตุผลในการเลือกพื้นที่ | บ้านดงป่ายูง หมู่ที่ 9 ตำบลนาถ่อน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ได้รับการส่งเสริมการจัดตั้งป่าชุมชนตามแนวทางของกรมป่าไม้ ตาม ปชช.1-3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 สิ้นอายุโครงการในปีพ.ศ. 2548 และมีความประสงค์จะจัดทำโครงการป่าชุมชนเป็นการต่อเนื่อง จัดทำโครงการป่าชุมชนตามแนวทางของกรมป่าไม้ (ปชช.1-3) เสนอกรมป่าไม้พิจารณาอนุมัติตามหนังสือกรมป่าไม้ ที่ ทส1605.43/24049 ลงวันที่ 17 ธันวาคม 2555 มีการดำเนินงานป่าชุมชนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน วิถีชีวิตราษฎรบ้านดงป่ายูงมีการพึ่งพิงป่าชุมชนเป็นหลัก ทุกคนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชน มีการนำไม้ในพื้นที่ป่าชุมชนมาใช้ในการจักสานเป็นหลักหมู่บ้าน อีกทั้งยังมีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเยาวชนของหมู่บ้านที่ร่วมกันสืบสาน จัดตั้งกลุ่มปลูกต้นไม้ และการจักสาน ของกลุ่มเยาวชน มีการบริการจัดการเรียนแบบกลุ่มปลูกต้นไม้ของหมู่บ้าน |
ประเด็นสำคัญ/จุดเด่น/ปัจจัยหลัก |
- ประเด็นหลัก | 1. พื้นที่ป่าชุมชนมีความพร้อมในการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนต้นแบบ “วิถีคน วิถีป่า”
2. ราษฎรบ้านดงป่ายูงมีความพร้อมในการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนต้นแบบ “วิถีคน วิถีป่า”
3. มีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่กลุ่มเยาวชนของหมู่บ้านที่ร่วมกันสืบสาน จัดตั้งกลุ่มปลูกต้นไม้ |
- ประเด็นรอง | 1. การดำเนินงานโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงของบ้านดงป่ายูง ใช้พื้นที่ป่าชุมชนเป็นหลัก
2. รางวัล“คนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน” ระดับจังหวัด ปี 2555
3. รางวัลลูกโลกสีเขียว ประเภท “กลุ่มเยาวชน” ปี 2555
4. รางวัลป่าชุมชนดีเด่น ประจำปี 2557 “ด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน” |
|
ชื่อ-สกุลเจ้าหน้าที่ประสานงาน: นายจุมพล ช่างอินทร์
ตำแหน่ง: นักวิชาการป่าไม้ปฎิบัติการ
สังกัด: สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 สาขานครพนม