ป่าชุมชนต้นแบบ วิถีคน วิถีป่า จังหวัด: ลพบุรี

รายละเอียดข้อมูลขอจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนต้นแบบ " วิถีคน วิถีป่า" จังหวัดลพบุรี
ชื่อป่าชุมชนบ้านลำน้ำเขียว
ที่ตั้งหมู่ที่ 5 ตำบลเขาน้อย อำเภอลำสนธิ จังหวัดลพบุรี
อนุมัติ ปี พ.ศ.2553
เนื้อที่3,027 ไร่
พิกัด47P 0758297E 1665058N
ชื่อ-สกุล ประธานป่าชุมชนนายจำลอง จิตติรัศมี
ประวัติสถานที่ป่าชุมชนบ้านลำน้ำเขียว (เขาซับแกงไก่) เริ่มมีความอุดมสมบูรณ์จากชาวบ้านในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียงช่วยกันรักษาป่าปลูกพืชเสริมในพื้นที่รกร้างว่างเปล่า โดยพระอาจารย์ปริญญา สุปริญฺโญ เป็นที่ปรึกษา สภาพป่าฟื้นตัวตามลำดับจนในที่สุดป่ามีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ และมีสัตว์ป่าเข้ามาอยู่อาศัยมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดชุมชนมีแนวคิดที่อยากจัดตั้งองค์กรเข้ามาร่วมกันดูแล อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าเขาซับแกงไก่ให้เป็นรูปธรรม จึงได้ร่วมกันจัดทำโครงการป่าชุมชนบ้านลำน้ำเขียว ในปี พ.ศ.2552 เนื้อที่ 1,600 ไร่ และได้ต่ออายุโครงการป่าชุมชนบ้านลำน้ำเขียว ในปี พ.ศ. 2558 เพิ่มเนื้อที่เป็น 3,027 ไร่
เหตุผลในการเลือกพื้นที่ป่าชุมชนบ้านลำน้ำเขียวมีความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณต่างๆ มากมาย มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีพืชสมุนไพร พืชอาหารชุมชน และมีสัตว์ป่าจำนวนมากอาศัยอยู่ มีองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งช่วยกันดูแลรักษา
ประเด็นสำคัญ/จุดเด่น/ปัจจัยหลัก
- ประเด็นหลัก1. มีความอุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ
- ด้านทรัพยากรป่าไม้ ป่าชุมชนบ้านลำน้ำเขียว (เขาซับแกงไก่) เป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพ มีพืชพรรณไม้นานาชนิด ไม้ที่สำคัญ เช่น ไม้มะค่าโมง มะค่าแต้ ประดู่ป่า มะเกลือ งิ้วป่า มะม่วงป่า สะเดา มะเดื่อ เป็นต้น พืชอาหารของชุมชน ได้แก่ หน่อไม้ ผักหวานป่า ผักปลัง กะทกรกป่า ผักตำลึก มะกอกป่า เห็ดต่างๆ และพืชสมุนไพรจำนวนมาก พร้อมทั้งมีไม้ที่เป็นไม้เฉพาะถิ่นที่โดดเด่น เช่น จันทน์ผา จันทน์แดง เป็นต้น
- ด้านสัตว์ป่า ป่าชุมชนบ้านลำน้ำเขียว (เขาซับแกงไก่) มีสัตว์ป่าเป็นจำนวนมากเนื่องจากป่ามีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ เช่น หมีควาย เลียงผา หมูป่า สุนัขจิ้งจอก ลิงกัง ลิงลม เม่น อีเห็น ชะมด ไก่ป่า กระต่ายป่า นกนานาชนิด และสัตว์เลื้อยคลานเป็นจำนวนมาก
2. เป็นแหล่งต้นน้ำลำธารและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ ทั้งนี้เนื่องจากป่าชุมชนบ้านลำน้ำเขียว (เขาซับแกงไก่) ตั้งอยู่ในพื้นที่รอยต่อสามจังหวัด คือ ลพบุรี นครราชสีมา และสระบุรี ซึ่งสภาพโดยรอบส่วนใหญ่จะเป็นภูเขาสลับกับที่ราบ บางส่วนจึงเป็นแหล่งต้นน้ำที่มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ไหลลงสู่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และในขณะเดียวกันก็เป็นแหล่งอนุบาลและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหลายชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาน้ำจืด เช่น ปลากด ปลาตะเพียน ปลาอีสูบ ปลาหางแดง เป็นต้น
3. เป็นศูนย์เรียนรู้ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการฝึกอบรมเยาวชน อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง และเป็นสถานที่ดูงานด้านป่าชุมชนของชุมชนอื่นที่พร้อมจะนำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชนนั้นๆ ต่อไป
- ประเด็นรอง1. มีการสร้างเครือข่ายของป่าชุมชนใกล้เคียง
2. มีแปลงปลูกไม้เศรษฐกิจ เพื่อเป็นกองทุนของป่าชุมชน
3. มีแปลงสาธิตการปลูกไม้เศรษฐกิจของเยาวชน

 

ชื่อ-สกุลเจ้าหน้าที่ประสานงาน: นายสยาม สละ
ตำแหน่ง: นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ
สังกัด: ศูนย์ป่าไม้จังหวัดลพบุรี