ป่าชุมชนต้นแบบ วิถีคน วิถีป่า จังหวัด: ชัยนาท

รายละเอียดข้อมูลขอจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนต้นแบบ " วิถีคน วิถีป่า" จังหวัดชัยนาท
ชื่อป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง
ที่ตั้งหมู่ที่ 10 ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท
อนุมัติ ปี พ.ศ.พ.ศ. 2542 ปัจจุบันต่ออายุปี พ.ศ. 2559
เนื้อที่247 - 2 - 50 ไร่
พิกัด47P 592714 E, 1645143 N
ชื่อ-สกุล ประธานป่าชุมชนนายสนั่น ภมรพล
ประวัติสถานที่ป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทองได้รับจัดตั้งเป็นป่าชุมชนแห่งแรกของประเทศไทย ที่จดทะเบียนกับกรมป่าไม้ในวันที่ 21 ธันวาคม 2542 ในพื้นที่ป่าชุมชนตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 จำนวน 993 ไร่ ต่อมาได้มีการรวมกลุ่มเป็นเครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง ครอบคลุมพื้นที่ 14 หมู่บ้าน 4 ตำบล 2 อำเภอ เนื้อที่รวม 22,000 กว่าไร่ ปัจจุบันได้ดำเนินการขอต่ออายุป่าชุมชน บ้านเขาราวเทียนทองใหม่ มีเนื้อที่ป่าชุมชน 247 - 2 - 50 ไร่

กิจกรรมของเครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง
1. ปลูกป่าเสริม การปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในพื้นที่ว่าง พื้นที่ที่เคยถูกบุกรุก และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม โดยกล้าไม้ที่ใช้ปลูกนั้น จะเน้นทั้งพืชอาหาร ไม้เนื้อแข็ง และไม้ใช้สอย เพื่อให้เกิดความสมดุลขึ้นในผืนป่า นอกจากนี้ยังหนุนเสริมให้เกิดการกระจายพื้นที่ป่าไม้ไปยังหัวไร่ปลายนาของคนในชุมชน
2. จัดทำฝายเก็บน้ำขนาดเล็ก 200 กว่าแห่ง รอบเขา ทำให้ป่าอุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่ามีแหล่งอาหาร
3. ดับไฟป่า ช่วงเดือน มีนาคม- เมษายน สำหรับการดับไฟหากเกิดกรณีไฟป่าขึ้น จะมีการระดมคนและน้ำไปร่วมกันดับไฟป่า นอกจากนี้ยังมีการตรวจตราป่าเป็นประจำเพื่อป้องกันการเผาป่า
4. การทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่าเนื่องจากไฟป่าจะมาในช่วงฤดูแล้ง การป้องกันไฟป่าจะมีการจัดทำแนวป้องกันไฟป่าปีละ 2 ครั้ง คือเดือนธันวาคมและเดือนกุมภาพันธ์ สำหรับขนาดของแนวกันไฟนั้นจะขึ้นอยู่กับขนาดผืนป่าบริเวณนั้น
5. การวางแปลง/สำรวจสภาพป่า การประเมินสภาพป่าเก็บข้อมูลพันธุ์ไม้
6. การปิดเปิดป่า การเก็บหาผลผลิตจากป่า เพื่อให้ป่าอุดมสมบูรณ์
7. การสร้างกฎระเบียบ เพื่อการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน ได้มีการจัดทำข้อตกลง กฎเกณฑ์ในการใช้ประโยชน์จากป่าร่วมกันอย่างยุติธรรม และกระจายผลประโยชน์ภายใต้กำลังของทรัพยากรที่มีอยู่
8. การพัฒนาบุคลากรและขยายเครือข่าย เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการบริหารจัดการป่าชุมชน ได้มีการจัดประชุมประจำเดือนอย่างต่อเนื่องเพื่อรับทราบผลการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค และร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไข นอกจากนี้ยังมีการศึกษาดูงานและเข้าร่วมอบรมสัมมนาในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องการป่าชุมชนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายต่อไป
9. การทำแผนที่เดินดิน เพื่อให้รู้จุดบ้านสมาชิกครัวเรือนอาสาและผู้นำชุมชน
10. จัดตั้งกองทุนเพื่อการจัดการป่าชุมชน เพื่อใช้ในการทำกิจกรรมของเครือข่ายป่า
11. จุดเรียนรู้การผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เครือข่ายป่าขยายองค์ความรู้ ไปสู่การผลิตปุ๋ย
12. จุดเรียนรู้พลังงานทางเลือกชุมชน เครือข่ายป่าขยายองค์ความรู้ การใช้ของป่าแปรรูปในพลังงานทางเลือกชุมชน
13. การแปรรูปสมุนไพรในป่า(จุดเรียนรู้ผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน) การนำสมุนไพรมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือน

กิจกรรมส่งเสริมเยาวชน
- การถ่ายทอดองค์ความรู้ การจัดค่ายเยาวชนทุกปีเพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชน รู้จักรักษาและหวงแหนทรัพยากรที่มีในชุมชน
- ส่งเสริมเยาวชนจัดทำสื่อ หนังสั้น เกี่ยวกับการเผยแพร่องค์ความรู้ป่าชุมชน
- อบรมมัคคุเทศก์เทศน้อยในชุมชน เพื่อเป็นทัวร์นำเดินเส้นทางศึกษาธรรมชาติ
- จัดทำหลักสูตรท้องถิ่น โดยการสอนนักเรียนในชุมชน และเด็กที่ไม่ได้รับการศึกษาแนวทางการจัดการองค์ความรู้ของชุมชน
เหตุผลในการเลือกพื้นที่ป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทองมีกลุ่มเครือข่ายป่าชุมชนในที่ต่างๆเข้ามาศึกษา ดูงาน เรียนรู้แลกเปลี่ยนการจัดการป่าชุมชน และเป็นที่เรียนรู้ของเยาวชน โรงเรียนอาจารย์และนักศึกษาจากมาหาวิทยาลัย มูลนิธิ/องค์กรด้านการจัดการป่าภายในประเทศ องค์กรต่างประเทศ เช่น เครือข่ายกรมป่าไม้ จังหวัดอุทัยธานี ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร อาจารย์และนักศึกษาจากมาหาวิทยาลัย ม.จุฬาฯ ม.มหิดล ม.ธรรมศาสตร์ ม.สุโขทัยธรรมาธิราช ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ ม.ราชภัฎ เป็นต้น และยังเป็นแหล่งศึกษาดูงาน องค์กรต่างประเทศ เป็นแหล่งการเรียนรู้เรื่องการจัดการทรัพยากร และการจัดตั้งกองทุนป่าชุมชน ให้กับเครือข่ายต่างๆ และหน่วยงานสถาบันการศึกษา ทั้งในและต่างประเทศ ได้แก่ อิหร่าน เนปาล ลาว กัมพูชา เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น ใต้หวัน อินเดีย ภูฎาน USA อื่นๆ ที่สำคัญ มหาลัยสุโขทัยธรรมธิราชได้นำองค์ความรู้เรื่องการจัดการป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง ไปเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนให้กับมหาวิทยาลัย และปัจจุบันโครงการประชารัฐของรัฐบาล กำลังจัดตั้งเป็นศูนย์อินเตอร์เน็ตชุมชน เพื่อการเรียนรู้ในด้านการประชาสัมพันธ์เครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง ทางเว็บไซต์ www.khaorao.org

สิ่งที่ป่าชุมชนเขาราวเทียนทองภาคภูมิใจที่สุด
- หมู่ 10 บ้านเขาราวเทียนทอง ได้รับธงพระราชทาน “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” จากพระบรมราชินีนาถ ประจำปี 2558 เป็นที่แรกของภาคกลาง
- การต้อนรับเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย มาตรวจเยี่ยมผลงานและชมกิจกรรมเครือข่ายป่าชุมชนเขาราวเทียนทอง
ประเด็นสำคัญ/จุดเด่น/ปัจจัยหลัก
- ประเด็นหลัก1. เป็นหลักสูตรการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (วิชาการจัดการเกษตรและทรัพยากรสิ่งแวดล้อม)
2.เป็นแหล่งเผยแพร่การจัดการป่าชุมชนให้กับคนทั้งในและต่างประเทศได้เข้ามาแลกเปลี่ยนและศึกษาเรียนรู้
3.เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ในการจัดการป่าชุมชน
- ประเด็นรอง1. ถ่ายทอด/ปลูกจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรในชุมชน
2. เป็นศูนย์ประสานงานกับ องค์กร หน่วยงาน ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อส่งเสริมแนวทางพัฒนาศักยภาพในการจัดการป่าชุมชน
3. การพัฒนาบุคลากรและขยายเครือข่าย ป่าชุมชนเขาราวเทียนทองขยายเครือข่าย ถ่ายทอดองค์ความรู้ ไปยังจุดเรียนรู้ต่างๆ เช่น จุดเรียนพลังงานทางเลือกชุมชน จุดเรียนรู้การทำผลิตภัณฑ์ของใช้ในครัวเรือนจากสมุนไพรในป่า จุดเรียนรู้การทอผ้า ซึ่งสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงความรู้ได้อีกด้วย

 

ชื่อ-สกุลเจ้าหน้าที่ประสานงาน: นางสาวชุติกาญจน์ อ่อนแก้ว
ตำแหน่ง: นักวิชาการเผยแพร่
สังกัด: ศูนย์ป่าไม้จังหวัดชัยนาท สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ ๕ (สระบุรี)