การฝึกอบรมนานาชาติหลักสูตร Forest-based Ecotourism Management in Thailand

พิธีเปิดการฝึกอบรมนานาชาติหลักสูตร Forest-based Ecotourism Management in Thailand ที่จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 11 กุมภาพันธ์-11 มีนาคม 2562 โดยส่วนความร่วมมือด้านการป่าไม้ระหว่างประเทศ กรมป่าไม้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency-TICA) กระทรวงการต่างประเทศ ณ ห้องประชุม 1 กรมป่าไม้ โดยมีนางศศิธร ว่องวีรโชติกุล รองอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (สพร.) กล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม และนายปรมินทร์ วงศ์สุวัฒน์ รองอธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวเปิดการฝึกอบรม ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 19 คน มาจาก Argentina, Bhutan, Colombia, Egypt, Fiji, Georgia, Kazakhstan, Madagascar, Malawi, Maldives, Mexico, Nicaragua, Niger, Palestine, Timor-Leste, Togo, Uruguay, Indonesia และประเทศไทย

คณะผู้เข้ารับการฝึกอบรมนานาชาติหลักสูตร Forest-based Ecotourism Management in Thailand จัดโดยกรมป่าไม้ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International b Cooperation Agency-TICA) จำนวน 19 ชาติ เข้าร่วมงานถนนสายวัฒนธรรมเขมราษฎร์ธานี โดยเข้าร่วมขบวนร้องเล่นเต้นรำกับชาวอำเภอเขมราฐอย่างสนุกสนาน ณ อำเภอเขมราฐ จ.อุบลราชธานี ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 19 คน มาจาก Argentina, Bhutan, Colombia, Egypt, Fiji, Georgia, Kazakhstan, Madagascar, Malawi, Maldives, Mexico, Nicaragua, Niger, Palestine, Timor-Leste, Togo, Uruguay, Indonesia และประเทศไทย

วันที่​ 24 กุมภาพันธ์​ 2562​ คณะผู้เข้ารับการฝึกอบรมนานาชาติหลักสูตร Forest-based Ecotourism Management in Thailand จัดโดยกรมป่าไม้​ ซึ่งได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International b Cooperation Agency-TICA) จำนวน​ 19​ ชาติ​ เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง​ แผนงานวิจัยการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน​สู่การเป็น​ Luxyry-based Ecotourism​ ร่วมกับสมาคมไทยท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์และผจญภัย​ (Thai Ecotourism and Adventure Travel Association – TEATA) และชุมชนในเขตอำเภอเขมราฐ​ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็นในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชนอย่างกว้างขวาง​ และเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง​ ณ ห้องประชุมสำนักงานเทศบาลตำบลเขมราฐ​ อำเภอเขมราฐ​ จ.อุบลราชธานี​

 

 

 

 

 

ผู้อำนวยการ Eden Project พร้อมคณะ ให้คำแนะนำการฟื้นฟูพื้นที่เหมือง

เมื่อวันที่ 31 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2562 เจ้าหน้าที่ส่วนความร่วมมือด้านการป่าไม้ระหว่างประเทศ สำนักแผนงานและสารสนเทศ กรมป่าไม้ ได้ร่วมปฏิบัติงานรับรองชาวต่างประเทศ กับสำนักโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ ในโอกาสที่ Dr.Mike Maunder ผู้อำนวยการ Eden Project และ Mr. Paul Stone ได้เดินทางมาประเทศไทย ตามที่กรมป่าไม้เรียนเชิญ เพื่อมาให้คำปรึกษาในการฟื้นฟูพื้นที่เหมือง 

การประชุมเพื่อเผยแพร่ผลการประชุม CBD COP14 และ Ramsar COP13

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2562 เจ้าหน้าที่ส่วนความร่วมมือด้านการป่าไม้ระหว่างประเทศ สำนักแผนงานและสารสนเทศ พร้อมด้วยเจ้าหน้าทีจากสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ กรมป่าไม้ ได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเผยแพร่ผลการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ ๑๓ การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ ๑๔ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องเมย์แฟร์ บอลรูม ซี โรงแรม เดอะ เบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ โดยมี ดร.รวีวรรณ ภูริเดช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน เปิดการประชุม สรุปสาระสำคัญดังนี้ ๑)การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำ สมัยที่ ๑๓ โดย นางสาวสุกัญญา วิศาล ผู้อำนวยการกลุ่มงานขับเคลื่อนนโยบายและกลไก ๒)การประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วย ความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ ๑๔ (CBD COP14) โดย ดร.เบญจมาภรณ์ วัฒนธงชัย ผู้อำนวยการกลุ่มงาน ประสานงานกลางอนุสัญญา และ ๓)การประชุมสมัชชาภาคีพิธีสารคาร์ตาเฮนาว่าด้วยความปลอยภัยทางชีวภาพ สมัยที่ ๙ (COP-MOP9) โดย นางสาวนารีรัตน์ พันธุ์มณี ผู้อำนวยการกลุ่มงานความมั่นคงทางชีวภาพ นอกจากนี้ ได้จัดให้มีการเสวนาร่วม เรื่อง การดำเนินงานของภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และพื้นที่ชุ่มน้ำของประเทศไทย โดยมี ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) และเครือซิเมนต์ไทย โดย นายวัลลภ ปรีชามาตย์ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ เป็นผู้ดำเนินรายการ ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์ผลการประชุมฯให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รับทราบความก้าวหน้าของการประชุม อีกทั้งเพื่ออภิปรายและแลกเปลี่ยนความเห็นต่อประเด็นที่มีการหารือภายใต้การประชุม สมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ ๑๔ และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา และสถาบันวิจัย ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน คณะกรรมการ และอนุกรรมการที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเจ้าหน้าที่ สผ. จำนวนประมาณ ๒๐๐ คน

 

 

ขอบขอบคุณเนื้อหาข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

1 32 33 34 35 36 38