การประชุมเชิงปฏิบัติการการปรับสภาพพันธุ์พืช และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ใน บริเวนระบบนิเวศที่ถูกรบกวน (การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมือง)

โครงการการปรับปรุงสภาพพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พืชเฉพาะถิ่น และพืชที่ถูกคุกคาม ในระบบนิเวศพื้นดินที่ถูกรบกวนในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย (Domestication of Endangered, Endemic and Threatened Plant Species in Disturbed Terrestrial Ecosystem in Malaysia and Thailand) โดยโครงการฯ มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาวิจัยเพื่อปรับสภาพพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พืชเฉพาะถิ่น และพืชที่ถูกคุกคาม ในระบบนิเวศพื้นดินที่ถูกรบกวนในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย เพื่อเป็นการศึกษา วิจัยความรู้ และบทเรียนในวิธีการที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาค โดยสถาบันวิจัยด้านการป่าไม้แห่งมาเลเซีย (Forest Research Institute of Malaysia: FRIM) เป็นหน่วยงานดำเนินการหลักของประเทศมาเลเซีย ร่วมกับกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการหลักของประเทศไทย

ทั้งนี้จากการประชุมคณะกรรมการผู้ประสานงานโครงการฯ (Project Coordination Committee Meeting: PCM) ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ณ FRIM ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมได้เห็นชอบให้กรมป่าไม้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับประเทศ (Domestic Workshop) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ในพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองมาก่อน ให้กับบุคลากรของกรมป่าไม้ และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมือง ร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ในการปรับสภาพพันธุ์พืช และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ในบริเวนระบบนิเวศที่ถูกรบกวน และเผยแพร่องค์ความรู้และการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการการปรับปรุงสภาพพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พืชเฉพาะถิ่น และพืชที่ถูกคุกคาม ในระบบนิเวศพื้นดินที่ถูกรบกวนในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการการปรับสภาพพันธุ์พืช และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ใน บริเวนระบบนิเวศที่ถูกรบกวน (การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมือง) ในครั้งนี้ที่ประชุมจะได้รับฟังการบรรยายจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการดำเนินการปลูกฟื้นฟูป่าในพื้นที่ที่เป็นเหมืองมาก่อน ทั้งจากคณะวนศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้เอง ร่วมทั้งจะได้มีการศึกษาดูงานในพื้นที่จริง ณ บริษัท ปูนซิเม้นต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด