พล.อ. ประวิตร มอบหนังสืออนุญาตทำกินในป่าสงวนฯ

12 กันยายน 2565 วิสาหกิจชุมชนบ้านมั่นคงเมืองแม่สอด จ.ตาก

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ จ.ตาก เป็นประธานในพิธี “บจธ. มอบสิทธิ มอบสุข ในที่ดินทำกิน และมอบหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน (คทช.)” โดยมี นายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก พลตำรวจเอก เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน ประธานกรรมการ บจธ. นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปกท.ทส. นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ นายประสิทธิ์ ท่าช้าง ผอ.สจป. ที่ 4 (ตาก) เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ ให้การต้อนรับ

กรมป่าไม้ ร่วมรายการ “APEC VISION” ของกรมประชาสัมพันธ์

19 กันยายน 2565 ณ สตูดิโอ สถาบันการประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ ถนนพหลโยธิน กรุงเทพ

นายวันชัย จริยาเศรษฐโชค รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมการบันทึกเทปรายการ “APEC VISION” ของกรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินรายการโดย อ.วีระ ธีระภัทร และ ดร.วิทย์ สิทธิเวคิน โดยเป็นรายการสนทนา พูดคุยกันเรื่องเอเปค โดยคุยกันแบบ HARD TALK หนักแน่น เจาะลึก ตรงประเด็น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนได้รับทั้งสาระ ความรู้เกี่ยวกับเอเปค เข้าใจผลกระทบของเอเปคที่มีต่อประชาชน สำหรับประเด็นการสนทนาในการบันทึกเทปครั้งนี้ คือ ป่าไม้ กับ เอเปค โดยมีแขกรับเชิญร่วมในการบันทึกเทปได้แก่ ดร.ปกรณ์ อาภาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รองประธานกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา ร่วมพูดคุยในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเอเปคเช่น การจัดการประชุม การเตรียมความพร้อมในฐานะเจ้าภาพเอเปค นโยบายแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจผลการดำเนินงานของเอเปค การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ การค้าไม้เศรษฐกิจ การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าโดยใช้เทคโนโลยี และการส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย และการกำจัดการค้าไม้ที่ปิดกฎหมาย เป็นต้น

กรมป่าไม้ ร่วมงาน “พฤกษาบูชา พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”

6 กันยายน 2565 ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารรัฐสภา

นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วย นายอำนาจ สุสุทธิ ผู้อำนวยการส่วนผลิตกล้าไม้ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมงาน “พฤกษาบูชา พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง”ซึ่งจัดโดย คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ร่วมกับคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภา กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เครือข่ายพลังสตรีสร้างคุณธรรมโดยมีพลเอกสุรศักดิ์กาญจนรัตน์ประธานคณะกรรมาธิการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วุฒิสภาเป็นประธานเปิดงาน นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมกล่าวถึง “ค่าของแผ่นดิน”นอกจากนี้ยังมีการเสวนาในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ต้นไม้เพื่อแผ่นดิน” โดยนายอำพล จินดาวัฒนะประธานคณะทำงานสมัชชาต้นไม้เพื่อแผ่นดินตามรอยพ่อสำหรับงาน “พฤกษาบูชา พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” ดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา ตลอดจนส่งเสริมให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมจิตอาสาและบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคม พร้อมกันนี้ กรมป่าไม้ได้นำต้นกล้าอินทนิลน้ำ มะฮอกกานี มะค่าโมงทองอุไร และพะยูง จำนวน 500 ต้น ไปมอบให้แก่ผู้ร่วมงานและเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภานำกลับไปปลูกบริเวณบ้านพัก เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและคุณค่าของการอนุรักษ์ป่าไม้ ภายใต้หลักคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ กตัญญู วินัย สุจริต พอเพียง และจิตอาสา

5 กันยายน 2565 ห้องประชุมสำนักแผนงานและสารสนเทศ กรมป่าไม้

นายบรรณรักษ์ เสริมทอง รองอธิบดีกรมป่าไม้ ร่วมประชุมคณะกรรมการกำกับผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการในกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1/2565 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ แอปพลิเคชัน Zoom โดยมี นางอรนุช หล่อเพ็ญศรี รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน ทั้งนี้ เพื่อพิจารณารายละเอียดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เกณฑ์การให้คะแนน ของตัวชี้วัดตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผู้เข้าร่วมประชุมของกรมป่าไม้ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักจัดการที่ดินป่าไม้ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

สำหรับตัวชี้วัดประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมป่าไม้ ที่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการฯ ในครั้งนี้มี จำนวน 5 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย

(1) จำนวนพื้นที่ป่าเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น

(2) จำนวนเนื้อที่ป่าไม้ถาวรที่ได้รับการสำรวจสภาพพื้นที่เพื่อจัดทำข้อมูลที่ดิน

(3) การเพิ่มและพัฒนาพื้นที่ป่าชุมชน

(4) ความสำเร็จของการจัดการหมอกควันและไฟป่า (Hotspot)

(5) จำนวนพื้นที่ป่าได้รับการฟื้นฟู

1 3 4 5 6 7 26