Recreational Forest Management Office
เกาะมุก อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเกาะมุก อำเภอกันตรัง จังหวัดตรัง เป็นเกาะที่มีความใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจังหวัดตรัง มี “อ่าวฝรั่ง” เป็นหาดทรายที่มีความสวยงามตามธรรมชาติ ความยาวประมาณ 400 เมตร ทอดตัวไปตามทางทิศเหนือ – ใต้ของเกาะมุก พื้นที่ติดชายหาดเป็นที่ราบและเนินเขา มีหมู่บ้านประมงอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะ อาชีพหลักของคนบนเกาะ ได้แก่ ประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะลอบหมึก ที่เกาะมุกยังมีการดำหาหอยมุกกันบ้าง บนเกาะมีเส้นทางเดินลัดเลาะไปตามบ้านเรือน สามารถเดินชมวิถีชาวเกาะมุกได้เกือบรอบเกาะ และยังเป็นถิ่นอาศัยของ “ปูไก่” จำนวนมาก ชอบออกหากินในช่วงหลางคืน และเป็นปูชนิดที่หาได้ยากเนื่องจากใกล้ที่จะสูญพันธ์ุ
สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่ โดยทั่วไปเป็นเนินสูงๆ ต่ำๆ สลับด้วยเขาเล็กๆ กระจัดกระจายอยู่ทั่วไป พื้นที่ราบมีจํานวนน้อย ซึ่งใช้เป็นแหล่งเพาะปลูกข้าว ทางทิศตะวันออกมีเทือกเขาบรรทัดยาวจากตอน เหนือจดตอนใต้และเป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดตรังกับพัทลุง ลักษณะดินส่วนใหญ่บนเขาบรรทัดเป็นดิน ร่วนปนทราย สภาพเป็นป่าดิบชื้นและชายเลนสําหรับท้องที่ที่อยู่ติดทะเล
ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมที่พัดประจํา 2 ชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ซึ่งเป็นลมจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดพาเอาความชื้นจากทะเลแถบมหาสมุทร อินเดียมาสู่ประเทศไทยในช่วงระหว่างกลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคมหรือในช่วงฤดูฝน ทําให้จังหวัดตรังมีฝนตกหนาแน่นทั่วไป ส่วนมรสุมอีกชนิดหนึ่งคือ มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นลม จากทิศตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจากประเทศจีนมาสู่ประเทศไทย โดยพัดผ่านทะเลจีนใต้และอ่าวไทยพาเอาไอน้ำและความชื้นมาสู่จังหวัดนี้ด้วย เนื่องจากจังหวัดตรังอยู่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตกจึงได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือไม่เต็มที่ ทําให้อากาศไม่หนาวเย็นมาก นักและยังคงมีฝนในระยะแรกที่มรสุมนี้พัดผ่าน
กำลังปรับปรุงข้อมูล
ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.30 น.
ปัจจุบันยังไม่มีประกาศเก็บค่าบริการ
🔹หัวหน้าป่านันทนาการ : นายสมนึก กุนหลัด
🔹ตำแหน่ง : นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
🔹ที่ตั้ง : ตำบลเกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง 92110
🔹เบอร์โทร : 064-585-3235, 089-593-1605
🔹อีเมล์ : forest12nakhonsi@gmail.com