คำถาม – คำตอบ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

คำถาม – คำตอบ เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน

๑. คำถาม ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนมีสาระที่สำคัญอย่างไร
คำตอบ สาระในประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนประกอบด้วย
– คำปรารภ
– หมวด ๑ บททั่วไป
– หมวด ๒ จริยธรรมข้าราชการพลเรือน : เป็นการขยายค่านิยมหลัก ๙ ประการของสำนักงานผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เป็นแนวทางการประพฤติปฏิบัติตนของข้าราชการ ประกอบด้วย ๑๐ ข้อหลัก และ ๔๑ ข้อย่อย
– กลไกและระบบการาบังคับใช้ประมวลจริยธรรม : ประกอบด้วย ๒ ส่วน คือ
ส่วนที ๑ องค์การคุ้มครองจริยธรรม : ก.พ. คณะกรรมการจริยธรรม หัวหน้า ส่วนราชการและกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม
ส่วนที่ ๒ ระบบการบังคับใช้ประมวลจริยธรรม : การดำเนินการกรณีการฝ่าฝืน จริยธรรมเป็นความผิดวินัย และบทลงโทษ

 

๒. คำถาม นโยบาย ข้อกำหนด ระเบียบ ฯลฯ ที่คณะกรรมการจริยธรรมควรได้มีการศึกษา
คำตอบ นโยบาย ข้อกำหนด ระเบียบ ที่ควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของ คณะกรรมการจริยธรรม เช่น กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามประมวลจริยธรรม ข้าราชการพลเรือน
(๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
(๒) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.๒๕๕๑
(๓) พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.๒๕๔๐
(๔) พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙
(๕) พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ.๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๕๐ และประกาศคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด โดยธรรมจรรยาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.๒๕๔๓
(๖) พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทาง ราชการ พ.ศ.๒๕๕๘
(๗) พระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริต พ.ศ.๒๕๕๑
(๘) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.๒๕๔๖
(๙) ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน นโยบายรัฐบาล ยุทธศาสตร์ และแผนที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน
(๑๐) ยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
(๑๑) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔)
(๑๒) แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ (พ.ศ.๒๕๕๙-๒๕๖๔)
(๑๓) ยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ
(๑๔) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมภาครัฐ

 

๓. คำถาม คณะกรรมการจริยธรรมได้รับเบี้ยประชุมกรรมการหรือไม่ และเป็นจำนวนเท่าไหร่
คำตอบ คณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการมีสิทธิได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้ง ตามพระ ราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ พ.ศ.๒๕๔๗ และที่แก้ไขเพิ่มเติม และหนังสือ กระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค ๒๔๐๖.๔/ว ๑๓๗ วันที่ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๘ ใน อัตราดังนี้
-ประธานกรรมการ ครั้งละไม่เกิน ๒,๐๐๐ บาท
-กรรมการ เลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ครั้งละไม่เกิน ๑,๖๐๐ บาท

 

๔. คำถาม หากส่วนราชการจัดให้กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมอยู่ในโครงสร้างสำนักบริหาร ทรัพยากรบุคคล โดยใช้บุคคลกรและต้นทุนของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลจะขัด หรือแย้งกับข้อกำหนด “มีความเป็นอิสระ” ตามข้อ ๑๗ หรือไม่
คำตอบ ส่วนราชการอาจจัดให้กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมอยู่ในโครงสร้างของสำนักบริหาร ทรัพยากรบุคคลโดยใช้บุคลากรของสำนักบริหารทรัพยากรบุคคลได้ โดยกลุ่มงานคุ้มครอง จริยธรรมจะต้องรายงานการดำเนินการตรงต่อหัวหน้าส่วนราชการโดยไม่อยู่ในกำกับของ สำนักบริหารทรัพยากรบุคคล

 

๕. คำถาม การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริตตามนโยบายรัฐบาล มีความซ้ำซ้อนกับ กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมหรือไม่
คำตอบ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.) เป็นส่วนราชการตามกฎกระทรวงแบ่งส่วน ราชการโดยอยู่ภายใต้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง และ ส่วนราชการที่อยู่ในบังคับบัญชาขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี และส่วนราชการไม่สังกัดสำนัก นายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง ๕ แห่ง (ยกเว้นสำนักราชเลขาธิการ และสำนัก พระราชวัง) มีภารกิจทั้งในด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และด้านการส่งเสริม คุณธรรมและจริยธรรมข้าราชการ จึงเป็นการบูรณาการภารกิจของกลุ่มงานคุ้มครอง จริยธรรมตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมตาม ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต ไว้ด้วยกัน

 

๖. คำถาม ประธานกรรมการจริยธรรมข้อ ๑๔ (๑) และ กรรมการจริยธรรมตามข้อ ๑๔ (๔) เป็นผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อจากบุคคลภายนอกมีความหมายครอบคลุมถึงกลุ่มบุคคลใดบ้าง
คำตอบ “กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ” หมายถึง ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกส่วนราชการซึ่งเป็นผู้ที่ส่วนราชการนั้นๆให้การยอมรับ

 

๗. คำถาม คุณสมบัติในการสรรหาคณะกรรมการจริยธรรมตามประมวลจริยธรรม มีเกณฑ์ อย่างไรบ้าง
คำตอบ คุณสมบัติของผู้จะมาดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการจริยธรรมจะต้องประกอบด้วย คุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดในประมวลจริยธรรม ดังนี้
     คณะกรรมการจริยธรรม
๑.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความซื่อสัตย์เป็นประจักษ์
๒.เป็นผู้มีเกียรติเป็นที่ยอมรับของส่วนราชการนั้น
๓.เป็นผู้ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย
     ประธานกรรมการจริยธรรม
๑.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่มีความซื่อสัตย์เป็นประจักษ์
๒.เป็นผู้มีเกียรติเป็นที่ยอมรับของส่วนราชการนั้น
๓.เป็นผู้ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย
     กรรมการจริยธรรม ข้อ ๑๔ (๒) (๓) (๔)
๑.เป็นผู้มีเกียรติเป็นที่ยอมรับของส่วนราชการนั้น
๒.เป็นผู้ไม่เคยถูกลงโทษทางวินัย
*ทั้งนี้ มีข้อสังเกตเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการโดยส่วนราชการควรคำนึงถึงความต่อเนื่องในการปฏิบัติภารกิจของคณะกรรมการจริยธรรมเพื่อประสิทธิภาพในการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมของส่วนราชการ ซึ่งส่วนราชการจึงควร คำนึงถึงอายุเกษียณราชการของข้าราชการผู้ที่จะได้รับแต่งตั้งด้วย (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๑๙/๒๗๒ และหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร ๑๐๑๙/๒๗๓ ลงวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการ)

 

๘. คำถาม หัวหน้าส่วนราชการจะพิจารณามอบหมายให้ข้าราชการที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็น กรรมการข้อ ๑๔ (๓) ตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ทำหน้าที่ในฐานะ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานในกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมในเวลาเดียวกันได้หรือไม่ และจะมีผลต่อสถานภาพการเป็นกรรมการจริยธรรมตามข้อนี้ด้วยหรือไม่
คำตอบ หัวหน้าส่วนราชการสามารถมอบหมายข้าราชการซึ่งได้รับการคัดเลือกให้เป็นกรรมการ ตามข้อ ๑๔ (๓) ของประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าหน้าที่ ผู้รับผิดชอบงานในกลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรมอีหน้าที่หนึ่งได้ โดยไม่มีผลต่อการเป็น กรรมการจริยธรรมแต่อย่างใด

 

๙. คำถาม ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (รองหัวหน้าส่วนราชการ) ที่ได้รับการ คัดเลือกให้เป็นกรรมการจริยธรรม จะสามารถทำหน้าที่เป็นเลขานุการ คณะกรรมการ จริยธรรม(หรือหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม) ในเวลาเดียวกันด้วยได้หรือไม่
คำตอบ ข้าราชการที่ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร (รองหัวหน้าส่วนราชการ) ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น กรรมการจริยธรรม สามารถทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการจริยธรรม (หรือหัวหน้า กลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม) ในเวลาเดียวกันได้ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้คล่องตัว และเพื่อลดปัญหาข้อจำกัดของบางส่วนราชการที่มีข้าราชการตำแหน่งประเภทบริหารหรือ อำนวยการจำนวนไม่มาก อย่างไรก็ตาม ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือนมีเจตนารมณ์ แยกการปฏิบัติงานและอำนาจหน้าที่ของกลไกองค์กรคุ้มครองจริยธรรมออกจากกัน ผู้ดำรง ตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มงานคุ้มครองจริยธรรม จึงควรทำหน้าที่เป็นเลขานุการคณะกรรมการ จริยธรรมเพียงอย่างเดียวโดยไม่ควรมีบทบาทในการพิจารณาตัดสินหรือวินิจฉัยด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรม

 

๑๐. คำถาม คณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการชุดเดิมที่มีวาระการดำรงตำแหน่งครบ ๒ ปี แล้ว จะสามารถเสนอรายชื่อคณะกรรมการจริยธรรมชุดนั้น ให้ ก.พ. พิจารณา แต่งตั้งติดต่อกันได้หรือไม่
คำตอบ หากส่วนราชการตรวจสอบวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการจริยธรรมแล้วไม่มี ผู้ใดที่ดำรงตำแหน่งเกินวาระติดต่อกัน ก็สามารถเสนอรายชื่อคณะกรรมการจริยธรรมให้ ก.พ. พิจารณาแต่งตั้งได้ ทั้งนี้ เป็นไปตามข้อ ๑ ในหนังสือเวียน (ว๖/๒๕๕๕) ซึ่งกำหนดให้ คณะกรรมการจริยธรรมมีวาระการดำรงตำแหน่งสองปี นับแต่วันที่ ก.พ. มีประกาศแต่งตั้ง และให้ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระติดต่อกัน

 

๑๑. คำถาม การสรรหาคณะกรรมการจริยธรรมแทนคณะกรรมการจริยธรรมชุดเดิมที่พ้น ตำแหน่งตามวาระ ตามแนวทาง
คำตอบ การสรรหาคณะกรรมการจริยธรรมแทนคณะกรรมการชุดเดิม มีขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ ๑ ให้ส่วนราชการดำเนินการสรรหาคณะกรรมการจริยธรรมชุดใหม่
โดยวิธีการที่ระบุตามประมวลจริยธรรมฯ ข้อ ๑๔ (๑) ถึง ๑๔ (๔)
รวมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการสรรหาให้แล้วเสร็จ ภายในหกสิบวัน นับแต่วันครบวาระ
ขั้นตอนที่ ๒ แจ้งให้สำนักงาน ก.พ. ดำเนินการเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ จริยธรรม โดยแนบประวัติประธานกรรมการ (แบบ ปจ. ๒.๒) และประวัติกรรมการ (แบบ ปจ. ๒.๓) ประกอบการดำเนินการด้วย

 

๑๒. คำถาม ตามข้อ ๔ ในหนังสือเวียน (ว๖/๒๕๕๕ ที่เขียนว่า “ในกรณีตำแหน่งประธาน กรรมการหรือกรรมการจริยธรรมว่างลงก่อนครบวาระ หากมีผู้ดำรงตำแหน่ง เหลืออยู่เกินกึ่งหนึ่ง ให้คณะกรรมการจริยธรรมที่เหลืออยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้” ในความหมายนี่จำเป็นต้องครบองค์ประกอบของการประชุมด้วยหรือไม่
คำตอบ
กรณีที่ประธานกรรมการหรือกรรมการจริยธรรมว่างลงก่อนครบวาระ คณะกรรมการที่ เหลืออยู่กึ่งหนึ่ง (คณะกรรมการจำนวน ๔ คนขึ้นไป โดยไม่นับรวมเลขานุการ) สามารถ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ โดยไม่จำเป็นต้องครบองค์ประกอบในการประชุม และในกรณีที่การ ประชุมครั้งนั้นไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการจริยธรรม ให้กรรมการจริยธรรมที่ เหลืออยู่ร่วมกันเสนอรายชื่อผู้ใดผู้หนึ่งให้ทำหน้าที่ประธานการประชุมเป็นครั้งๆไป ทั้งนี้ เป็นไปตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙ มาตรา ๘๑ ซึ่ง กำหนดไว้ว่า ถ้าประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุมหรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าทีได้ให้รอง ประธานกรรมการทำหน้าที่แทน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สารถปฏิบัติ หน้าที่ได้ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งขึ้นมาทำหน้าที่แทน

 

๑๓. คำถาม หากผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมที่หัวหน้าส่วนราชการไม่เห็นพ้อง ด้วยกับ คำวินิจฉัยนั้น จะมีแนวทางดำเนินการอย่างไร
คำตอบ ข้อ ๑๖ (๕) ของประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน บัญญัติว่า “…ในกรณีที่ คณะกรรมการจริยธรรมมีคำวินิจฉัยใด และหัวหน้าส่วนราชการไม่เห็นพ้องด้วยกับคำ วินิจฉัยนั้น ให้เสนอความเห็นของตนและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการจริยธรรมไปให้ ก.พ. วินิจฉัยได้ เว้นแต่กรณีนั้นมีคำวินิจฉัยของผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือ ก.พ. วินิจฉัยเสร็จ เด็ดขาดไว้แล้ว”

 

๑๔. คำถาม กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับคัดเลือกให้เป็นกรรมการจริยธรรม ในขณะเดียวกัน ก็ถูกร้องเรียนว่ากระทำการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมเพราะเหตุกระทำการไม่ชอบ ด้วยกฎหมายตามข้อ ๗ (๑) ในประมวลจริยธรรม กรณีเช่นนี้จะดำเนินการอย่างไร
คำตอบ ข้อ ๓ (๒) วรรคที่ ๒ ของประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน กำหนดไว้ว่า “…ในกรณี หัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ฝ่าฝืนจริยธรรมต้องรายงานต่อปลัดกระทรวง หรือผู้บังคับบัญชา เหนือชั้นขึ้นไปของหัวหน้าส่วนราชการนั้นแล้วแต่กรณี และหรือคณะกรรมการจริยธรรม” ดังนั้น ในกรณีมีผู้ร้องผู้ว่าราชการจังหวัดกระทำการฝ่าฝืนจริยธรรม ให้รายงานต่อ ปลัดกระทรวงมหาดไทยพิจารณาดำเนินการต่อไป