ศูนย์ป่าไม้บุรีรัมย์

ศูนย์ป่าไม้บุรีรัมย์ ประกอบด้วย 4 ฝ่าย ดังนี้
  • 1) ฝ่ายบริหารทั่วไปมีหน้าที่รับผิดชอบ
    • 1.1) ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ การบัญชี งานบุคคล การพัสดุ อาคารสถานที่และยานพาหนะ
    • 1.2) จำทำแผน ใช้จ่ายงบประมาณของ ควบคุมและติดตาม รวบรวมและจัดทำรายงานผลปฏิบัติงานแผนงาน/กิจกรรมที่ได้รับอนุมัติงบประมาณ
    • 1.3) ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย
  • 2) ฝ่ายจัดการด้านการป้องกันและพัฒนาป่าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบ
    • 2.1) จัดทำและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ แผนงาน โครงการ ด้านป่าไม้ในพื้นที่จังหวัด และจัดทำแผนป้องกันและพัฒนาป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดจำแนกเป็นรายอำเภอ
    • 2.2) เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการและประสานการปฏิบัติภารกิจด้านป่าไม้ ทั้งการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรป่าไม้ จัดทำรายงานผลการดำเนอนงาน และรายงานสถานการณ์ป่าไม้ของดจังหวัด
    • 2.3) สนันสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ในด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพนากรป่าไม้ การควยคุมไฟป่า การฟื้นฟู การส่งเสริมปลูกไม้เศรษฐกิจ การจัดการป่าชุมชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และการจัดการที่ดินป่าไม้
    • 2.4) ประสานการดำเนินงานการเกี่ยวกับการอนุญาติและการให้บริการด้านป่าไม้และติดตามตรวจสอบการดำเนินการของผู้ที่ได้รับอนุญาตด้านป่าไม้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ตามหลักวิชาการ กฏหมายว่าด้วยการป่าไม้ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
    • 2.5) ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนันสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
ชื่อหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ ในสังกัดศูนย์ป่าไม้บุรีรัมย์
  • 1) หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้สตึก ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ.คูเมือง อ.แคนดง อ.นาโพธิ์ อ.บ้านใหม่ไชยพจน์ อ.พุทไธสง อ.สตึก
  • 2) หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้หนองกี่ ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ.ชำนิ อ.โนนสุวรรณ อำลำปลายมาศ อ.หนองกี่ อ.หนองหงส์
  • 3) หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ประโคนชัย ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ.กระสัง อ.ประโคนชัย อ.พลับพลาชัย อ.ห้วยราช
  • 3) หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ปะคำ ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ. นางรอง อ.ปะคำ อ.โนนดินแดน
  • 4) หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ละหารทราย ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.บ้านกรวด อ.บ้านด่าน อ.เมืองบุรีรัมย์ อ.ละหานทราย
    หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้
หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ อำนาจหน้าที่
  • 1) ป้องกันและปราบปรามการบุครุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งประสานการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคัใช้กฎหมายป่าไม้ในขอบเขตท้องที่รับผิดชอบ
  • 2) ดำเนินการและประสานการดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน การจัดการที่ดินป่าไม้ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านป่าไม้ตลอดจนส่งเสริมการปลูกป่าของประชาชน ภาคเอกชน และภาคส่วนต่างๆ
  • 3) เป็นหน่วยงานบริการเกี่ยวกับการยื่นคำขอ การแจ้งความประสงค์ การจดทะเบียนและอื่นในการขอรับอนุญาตด้านป่าไม้ การขอบริการทางวิชาการ รวมทั้ง การประสาน การจัดการเรื่องร้องเรียน
  • 4) ดำเนินการจัดทำรายงานแผนและผลการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ
  • 5) ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ ประกอบด้วยงาน ดังนี้
  • 1.งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • 1.1 ดำเนินการจัดทำรายงานแผนและผลการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ
  • 1.2 ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ และงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจของกรมป่าไม้
  • 1.3 ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
  • 2.งานป้องกันและจัดการป่าไม้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
  • 2.1 ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ การควบคุมไฟป่า และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ละแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ป่าไม้
  • 2.2 ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองแนวเขตป่าไม้ การระวังชี้แนวเขตป่าไม้ตลอดจนร่วมพิจารณา และตรวจสอบเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • 2.3 ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินการของผู้ที่ได้รับอนุญาตด้านป่าไม้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
  • 2.4 ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
  • 3.งานส่งเสริมและพัฒนาการป่าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบ
  • 3.1 ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่เอกชน ประชาชน และพื้นที่ของรัฐถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชน การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม การปลูกป่าทุกรูปแบบ และดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
  • 3.2 รับคำขอ ร่วมตรวจสอบ การรับรองการป่าไม้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • 3.3 ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
  • 1) เป็นผู้แทนกรมป่าไม้ในระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการประสานงานด้านป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดตามอำนาจหน้าที่ของสำนัก
  • 2) ดำเนินการด้านการป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้การควบคุมไฟป่า การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินป่าไม้ และลดความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ โดยประสานการปฏิบัติบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • 3) ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชน การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และการปลูกไม้เพื่อเศรษฐกิจ
  • 4) ดำเนินการอนุญาต และการบริการด้านป่าไม้ ให้เป็นไปตามกฎและระเบียบว่าด้วยการป่าไม้ และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาการถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
  • 5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานตรวจสอบและออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้และถ่านไม้ เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและสนับสนุนการทำงานในระบบ National Single Window และ ASEAN Single Window
  • 6) ส่งเสริมและประสานความร่วมมืองานด้านทรัพยากรธรรมชาติกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
  • 7) สนับสนุนและร่วมมือในการดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรป่าไม้ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์จังหวัด และกลุ่มจังหวัด
  • 8) ปฏิบัติงานรวมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
ศูนย์ป่าไม้บุรีรัมย์มีอำนาจหน้าที่