ศูนย์ป่ําไม้นครราชสีมามีอำนาจหน้าที่
1) เป็นผู้แทนกรมป่าไม้ในระดับจังหวัด เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการประสานงานด้านป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดตามอำนาจหน้าที่ของสำนัก
2) ดำเนินการด้านการป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้การควบคุมไฟป่า การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินป่าไม้ และลดความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ โดยประสานการปฏิบัติบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
3) ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชน การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และการปลูกไม้เพื่อเศรษฐกิจ
4) ดำเนินการอนุญาต และการบริการด้านป่าไม้ ให้เป็นไปตามกฎและระเบียบว่าด้วยการป่าไม้ และระเบียบอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาการถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้
5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานตรวจสอบและออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้และถ่านไม้ เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรและสนับสนุนการทำงานในระบบ National Single Window และ ASEAN Single Window
6) ส่งเสริมและประสานความร่วมมืองานด้านทรัพยากรธรรมชาติกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
7) สนับสนุนและร่วมมือในการดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรป่าไม้ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์จังหวัด และกลุ่มจังหวัด
8) ปฏิบัติงานรวมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
ศูนย์ป่าไม้จังหวัด ประกอบด้วย 4 ฝ่าย ดังนี้
- 1.1ฝ่ํายบริหํารทั่วไปมีหน้ําที่รับผิดชอบ
- 1) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ
- 2) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคารสถานที่และยานพาหนะ
- 3)ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การพัฒนาข้าราชการการเสริมสร้างวินัย และรักษาระบบคุณธรรม
- 4)ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
- 1.2 ฝ่ายป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่ามีหน้าที่รับผิดชอบ
- 1) ดำเนินการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้
- 2) ประสานความร่วมมือในการสนธิกำลังและการดำเนินการกับองค์กรพันธมิตรเพื่อปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้
- 3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเครือข่ายความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการป้องกันรักษําป่า
- 4) ป้องกันและควบคุมไฟป่า ตลอดจนการประชาสัมพันธ์รณรงค์การป้องกันไฟป่า
- 5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
- 1.3 ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการป่าไม้มีหน้ําที่รับผิดชอบ
- 1) ส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการป่าไม้และการตลาดไม้ ตลอดจนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสวนป่ํา พ.ศ. 2535
- 2) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเพาะชำ กล้าไม้และการขยายพันธุ์ไม้แก่หน่วยงานของรัฐภาคเอกชน และประชาชน
- 3) ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในทุกรูปแบบ
- 4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และสถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และดูแลรักษําป่าชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่รวมทั้งงานด้านป่าในเมืองและระบบวนเกษตร
- 5) ดำเนินการตามกฎหมายป่าไม้และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินงานด้านป่าชุมชน
- 6)ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการด้านป่าไม้ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสวนป่า กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาการถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในระดับจังหวัด
- 7) ดำเนินการเกี่ยวกับงานตรวจสอบและออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้และถ่านไม้ เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และสนับสนุนการทำงานในระบบ National Single Window และ ASEAN Single Window
- 8) ประสานการอนุญาตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- 9) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
- 1.4 ฝ่ายจัดการที่ดินป่าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบ
- 1) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองแนวเขตป่าไม้ ตลอดจนการระวังชี้แนวเขตป่าไม้
- 2) ร่วมพิจารณา ตรวจสอบเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้
- 3) ประสานกับหน่วยงานต่างๆในระดับพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ป่าไม้
- 4) ปฏิบัติงานดื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ ในสังกัดศูนย์ป่าไม้สุรินทร์
- หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้รัตนบุรี ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ.ชุมพลบุรี อ.ท่าตูม อ.โนนนารายณ์ อ.รัตนบุรี อ.สนม
- หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ปราสาท ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ.ปราสาท อ.เขวาสินรินทร์ อ.จอมพระ อ.เมืองสุรินทร์
- หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้สังขะ ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ.บัวเชด อ.ศรีณรงค์ อ.สังขะ อ.สำโรงทาบ
- หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้กาบเชิง ขอบเขตพื้นที่รับผิดชอบ อ. ลำดวน อ.ศีขรภูมิ อ.กาบเชิง อ.พนมดงรัก
หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้
หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ อำนาจหน้าที่
- 1.ป้องกันและปราบปรามการบุครุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ รวมทั้งประสานการดำเนินการเกี่ยวกับการบังคัใช้กฎหมายป่าไม้ในขอบเขตท้องที่รับผิดชอบ
- 2.ดำเนินการและประสานการดำเนินการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ ส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน การจัดการที่ดินป่าไม้ และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านป่าไม้ตลอดจนส่งเสริมการปลูกป่าของประชาชน ภาคเอกชน และภาคส่วนต่างๆ
- 3.เป็นหน่วยงานบริการเกี่ยวกับการยื่นคำขอ การแจ้งความประสงค์ การจดทะเบียนและอื่นในการขอรับอนุญาตด้านป่าไม้ การขอบริการทางวิชาการ รวมทั้ง การประสาน การจัดการเรื่องร้องเรียน
- 4.ดำเนินการจัดทำรายงานแผนและผลการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ
- 5.ปฏิบัติงานร่วมกับ หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย
หน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้ ประกอบด้วยงาน ดังนี้
- 1.งานบริหารทั่วไป มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- 1.1 ดำเนินการจัดทำรายงานแผนและผลการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ
- 1.2 ดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลด้านป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ และงานเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจของกรมป่าไม้
- 1.3 ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
- 2.งานป้องกันและจัดการป่าไม้ มีหน้าที่ความรับผิดชอบ
- 2.1 ปฏิบัติการป้องกันปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ การควบคุมไฟป่า และประสานความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่เพื่อปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ละแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ป่าไม้
- 2.2 ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองแนวเขตป่าไม้ การระวังชี้แนวเขตป่าไม้ตลอดจนร่วมพิจารณา และตรวจสอบเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- 2.3 ติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินการของผู้ที่ได้รับอนุญาตด้านป่าไม้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข
- 2.4 ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
- 3.งานส่งเสริมและพัฒนาการป่าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบ
- 3.1 ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจในพื้นที่เอกชน ประชาชน และพื้นที่ของรัฐถ่ายทอดความรู้ และสนับสนุนความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชน การฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม การปลูกป่าทุกรูปแบบ และดำเนินการตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- 3.2 รับคำขอ ร่วมตรวจสอบ การรับรองการป่าไม้ ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
- 3.3 ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย