” พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า “

” พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า “

เกร็ดความรู้ทั่วไป

พระราชปณิธาน ด้านทรัพยากรป่าไม้

                การฝึกอบรมฯ จะเป็นการปลุกเร้าเพื่อสร้างจิตสำนึกและอุดมการณ์ โดยดึงความรู้สึกนึกคิดของผู้เข้ารับการอบรมออกมา เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มองเห็นสภาพปัญหาที่ปรากฏอยู่ในสังคมหมู่บ้านชุมชน ที่ทุกคนจะต้องได้รับผลกระทบร่วมกัน และมีการสอดแทรกความสนุกสนานในการฝึกอบรมเพื่อไม่ให้รู้สึกตึงเครียดมากเกินไป แต่ก็แฝงไว้ด้วยสาระ เรียกว่าทุกตัวอักษรซ่อนสาระ ทุกวาระซ่อนเนื้อหา

นายเจน รักสุข
ผู้อำนวยการส่วนภาคีเครือข่ายป้องกันรักษาป่า
ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2566 - ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์ผู้บริหารส่วนภาคีฯ

เสริมสร้าง พัฒนา บุคลากรและเครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ให้มีประสิทธิภาพในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทั่วประเทศ

หลักการและเหตุผล

                  1. งานป้องกันรักษาป่า นอกจากจะใช้มาตรการทางด้านกฎหมายแล้ว
ยังต้องใช้มาตรการด้านอื่นๆควบคู่ไปด้วย เช่น มาตรการทางด้านสังคม เศรษฐกิจ
การศึกษา และอื่นๆ โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม หรือการบูรณาการทุกภาคส่วน

                  2. ส่วนภาคีเครือข่ายป้องกันรักษาป่า มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการสร้างเครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ผ่านการฝึกอบรม ทั้งอบรมวิทยากรราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) และอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) เป็นการเพิ่มความรู้ทางด้านวิชาการ การปลูกฝังสร้างจิตสำนึก จิตวิทยา และทักษะการสื่อสาร ไปยังราษฎรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่รายล้อมป่า

                   3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะปลูกฝังให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันแบบพึ่งพา ทรงให้ความสำคัญกับแนวทางการอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) จึงทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ “สก.” ประดับบนผ้าผูกคอ “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” มอบให้แก่ราษฎรที่ผ่านการฝึกอบรมฯ (รสทป.) และทรงพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” แก่หมู่บ้านหรือชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมฯ (รสทป.) และมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ดูแลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเอง และทรงพระราชทานเข็ม “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” ให้แก่องค์กรประชาชน และบุคคลที่อยู่ในสถาบันต่างๆ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เป็นผู้นำในการดูแลรักษาป่าด้วยความเสียสละอย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์ต่อคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดเจน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นขวัญและกำลังใจอย่างหาที่สุดมิได้ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า