นายอิศเรศ จิระรัตน์
ผู้อำนวยการส่วนภาคีเครือข่ายป้องกันรักษาป่า
ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2567 - ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์ผู้บริหารส่วนภาคีฯ

เสริมสร้าง พัฒนา บุคลากรและเครือข่ายฯ ให้มีประสิทธิภาพในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทั่วประเทศ

                 งานป้องกันรักษาป่า นอกจากจะใช้มาตรการทางด้านกฎหมายแล้วยังต้องใช้มาตรการด้านอื่นๆควบคู่ไปด้วย เช่น มาตรการทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และอื่นๆ โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม หรือการบูรณาการทุกภาคส่วน ส่วนภาคีเครือข่ายป้องกันรักษาป่า มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการสร้างเครือข่ายให้เข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันรักษาป่าร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ โดย เครือข่าย ทั้ง 3 เครือข่าย มีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลป้องกัน และส่งเสริม ดังนี้

เครือข่าย ทั้ง 3 เครือข่าย มีบทบาทสำคัญในการทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ โดยมีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลป้องกัน และส่งเสริม ดังนี้

  1. เสริมกำลังและขยายขอบเขตการดูแลป่า
  • เจ้าหน้าที่ป่าไม้มีจำนวนจำกัด ไม่เพียงพอที่จะดูแลพื้นที่ป่าขนาดใหญ่ได้ทั่วถึง
  • เครือข่ายชุมชนสามารถช่วยสอดส่อง แจ้งเบาะแส และเป็นด่านหน้าในการดูแลพื้นที่ป่าของตน
  1. ลดปัญหาการบุกรุกและทำลายป่า
  • หากชุมชนมีส่วนร่วม จะช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า การเผาป่า หรือการบุกรุกพื้นที่อนุรักษ์
  • การมีชุมชนร่วมเฝ้าระวัง ทำให้กลุ่มที่คิดจะบุกรุกหรือทำลายป่าลดน้อยลง
  1. สร้างความเข้าใจและส่งเสริมการอนุรักษ์ในระยะยาว
  • เมื่อชุมชนมีส่วนร่วม พวกเขาจะเห็นคุณค่าของป่าและรักษาทรัพยากรอย่างยั่งยืน
  • ช่วยกระจายความรู้ด้านการอนุรักษ์ไปสู่คนรุ่นใหม่และสังคมโดยรวม
  1. ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลป่า
  • คนในพื้นที่มักมีความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศท้องถิ่น เช่น ฤดูกาลของป่า หรือพืชสัตว์ที่ต้องอนุรักษ์
  • สามารถนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ เช่น วิธีป้องกันไฟป่าแบบดั้งเดิม หรือการปลูกป่าแบบธรรมชาติ
  1. ลดความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชน
  • การทำงานร่วมกันช่วยให้เกิดความไว้วางใจ และลดปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิการใช้ที่ดิน
  • ส่งเสริมให้ชุมชนเห็นว่าการอนุรักษ์ป่าเป็นประโยชน์ต่อพวกเขาเอง
  • เพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและการพัฒนาอย่างยั่งยืนการอนุรักษ์ป่าอย่างถูกต้องสามารถนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือ การใช้ทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืนเครือข่ายป้องกันป่าสามารถเป็นช่องทางให้ชุมชนเข้าถึงโครงการสนับสนุนจากรัฐหรือองค์กรอนุรักษ์

เกร็ดความรู้ทั่วไป

พระราชปณิธาน ด้านทรัพยากรป่าไม้

นายอิศเรศ จิระรัตน์
ผู้อำนวยการส่วนภาคีเครือข่ายป้องกันรักษาป่า
ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2567 - ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์ผู้บริหารส่วนภาคีฯ

เสริมสร้าง พัฒนา บุคลากรและเครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ให้มีประสิทธิภาพในการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ทั่วประเทศ

หลักการและเหตุผล

                  1. งานป้องกันรักษาป่า นอกจากจะใช้มาตรการทางด้านกฎหมายแล้ว
ยังต้องใช้มาตรการด้านอื่นๆควบคู่ไปด้วย เช่น มาตรการทางด้านสังคม เศรษฐกิจ
การศึกษา และอื่นๆ โดยผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วม หรือการบูรณาการทุกภาคส่วน

                  2. ส่วนภาคีเครือข่ายป้องกันรักษาป่า มีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการสร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการสร้างเครือข่ายราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ผ่านการฝึกอบรม ทั้งอบรมวิทยากรราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) และอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) เป็นการเพิ่มความรู้ทางด้านวิชาการ การปลูกฝังสร้างจิตสำนึก จิตวิทยา และทักษะการสื่อสาร ไปยังราษฎรผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน ที่ตั้งอยู่รายล้อมป่า

                   3. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะปลูกฝังให้คนกับป่าอยู่ด้วยกันแบบพึ่งพา ทรงให้ความสำคัญกับแนวทางการอบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) จึงทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ “สก.” ประดับบนผ้าผูกคอ “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” มอบให้แก่ราษฎรที่ผ่านการฝึกอบรมฯ (รสทป.) และทรงพระราชทานธง “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” แก่หมู่บ้านหรือชุมชนที่ผ่านการฝึกอบรมฯ (รสทป.) และมีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ดูแลสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเอง และทรงพระราชทานเข็ม “พิทักษ์ป่า เพื่อรักษาชีวิต” ให้แก่องค์กรประชาชน และบุคคลที่อยู่ในสถาบันต่างๆ ที่ได้ดำเนินกิจกรรมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ เป็นผู้นำในการดูแลรักษาป่าด้วยความเสียสละอย่างต่อเนื่องเป็นที่ประจักษ์ต่อคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัดเจน สิ่งเหล่านี้จึงเป็นขวัญและกำลังใจอย่างหาที่สุดมิได้ต่อเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน และราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า