ภารกิจหน้าที่

ภารกิจหน้าที่

1) จัดทำแผนเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบให้สอดคล้องตามเป้าหมายและยุทธศาสตร์ของกรม จังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2) ดำเนินการเกียวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ ด้านงานป้องกันการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าไม้ งานจัดการที่ดินป่าไม้ งานวิจัยและพัฒนาด้านการป่าไม้ งานส่งเสริมการปลูกป่า งานจัดการป่าชุมชน ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยการป่า กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
3) กำกับ ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์ป่าไม้จังหวัด ศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติ และหน่วยงานในพื้นที่ รวมทั้งรวบรวมเป็นข้อเสนอแนะต่อกรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการด้านป่าไม้ การอนุญาตด้านป่าไม้ การตรวจสอบและออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนอำนวยการ มีอำนาจหน้าที่

1) ปฏิบัติงานธุรการทั่วไป งานสารบรรณ งานการเจ้าหน้าที่  งานการเงิน บัญชี พัสดุ ครุภัณฑ์ และยานพาหนะของสำนัก
2) ดำเนินการเกี่ยวกับแผนงานและงบประมาณของสำนัก
3) ปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์ สารสนเทศ และการสื่อสารของสำนัก
4) ปฏิบัติงานติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานกิจกรรม/โครงการของสำนัก

5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนอำนวยการประกอบด้วย 4 ฝ่าย 1 ศูนย์ ดังนี้

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ปฏิบัติงานธุรการ สารบรรณ และการเจ้าหน้าที่ของส่วนและสำนัก

       (2) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายการเงินและบัญชี มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

        (1) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงนิ บัญชี พัสดุครุภัณฑ์ ยานพาหนะ สิ่งปลูกสร้าง อาคารสถานที่ และเงินสวัสดิการของทางราชการทุกประเภทของสำนัก

        (2) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายสารสนเทศและงบประมาณ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

        (1) วิเคราะห์ และจัดทำแผนงานและงบประมาณของสำนัก

        (2) ปฏิบัติงานติดตามและประเมินผล รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของสำนักส่งกรมป่าไม้

        (3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.4 ฝ่ายสารสนเทศ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

        (1) วางแผน จัดระบบการสำรวจ และประสานการจัดเก็บข้อมูลของสำนักและเป็นศูนย์ข้อมูลของหน่วยงานในการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับงานป่าไม้

        (2) ดูแลระบบเครือข่ายของหนว่ยงานให้สามารถใช้งานได้อย่างมีเสถียรภาพและประสิทธิภาพ

        (3) ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

         (4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.5 ศูนย์บริการประชาชน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

         (1) อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาติดต่อ ณ ศูนย์บริการประชาชนให้สามารถสอบถาม ขอทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภารกิจและความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

         (2) รับเรื่องทุกข์ ร้องเรียน ขอความเป็นธรรม ขอความร่วมมือ ขอความช่วยเหลือ การแจ้งเบาะแสเกี่ยวข้องกับภารกิจของกรมป่าไม้ และประสานงานส่งต่อเรื่องให้หน่วยงานเจ้าของเรื่องรับไปดำเนินการตามขั้นตอนของแต่ละหน่วยงาน

         (3) ดำเนินการเปิดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้รับบริการในทุกช่องทาง ให้เกิดความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์

         (4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า มีอำนาจหน้าที่

1) เสนอแผนงานและโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณกำกับ ควบคุมดูแล และประสานงานด้านส่งเสริมการปลูกป่า จัดทำแผนที่แปลงปลูกและบำรุงป่าในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และรายงานผลการปฏฺบัติงานตามแผนปฏิบัติงานที่กรมป่าไม้กำหนด
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ทุกรูปแบบ ทัังในที่ดินของรัฐ และที่ดินเอกชน การดำเนินงานในรูปสหกรณ์สวนป่า การปลูกป่าเศรษฐกิจในรูปแบบอื่นๆ รวมทั้งการดำเนินงานที่เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสวนป่า และกฎหมายอื่นที่เกียวข้อง
3) ดำเนินงานด้านวิชาการ รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเพาะชำกล้าไม้ การปลูกและฟื้นฟู แก่ประชาชน หน่วยงาน ภาครัฐ และองค์กรเอกชน

4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ปฏิบัตงานธุรการ และสานบรรณของส่วน

       (2) จัดทำแผนงานและงบประมาณของส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วนส่งสำนัก

       (3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายปลูกป่า มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) กำกับ ควบคุม ดูแล การปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ทุกรูปแบบให้เป็นไปตามหลักวิชาการรวมทั้งการดำเนินงานเกี่ยวกับ กฎหมายว่าด้วยสวนป่า และกฎหมายอื่นที่เกียวข้อง

       (2) ส่งเสริม และสนับสนุนการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่บุกรุกรูปแบบ

       (3) ส่งเสริม และสนับสนุนการรวมกลุ่มและพัฒนาศักยภาพของสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชนและการประกอบอาชีพด้านป่าไม้

       (4) จัดทำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของแปลงปลูกปาและฟื้นฟูป่าไม้ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

       (5) ดำเนินงานด้านวิชาการเกี่ยวกับการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ รวมทั้งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ แก่ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน

       (6) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายเพาะชำกล้าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานด้านเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน

       (2) พัฒนาเทคนิคการผลิตกล้าไม้ให้มีคุณภาพ

       (3) ส่งเสริมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอด ความรู้เกี่ยวกับการเพาะชำกล้าไม้ การขยายพันธ์ุไม้ การสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ชุมชน สู่ประชาชน หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน

       (4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า มีอำนาจหน้าที่

1) จัดทำแผนงานและงบประมาณของส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน กำกับ ควบคุมดูแล และประสานงานด้านป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า
2) ปฏิบัติการด้านการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ประสานงานเพื่อสนับสนุนข้อมูลการข่าว การสืบสวน ดำเนินคดี และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับผู้กระทำผิด ประสาน ติดตามสถานการณ์เพื่อการหยุดยั้งการทำลายป่าไม้

3) ปฏิบัติงานด้านการป้องกันรักษาป่า โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน

4) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการด้านป่าไม้ การอนุญาตด้านป่าไม้การตรวจสอบและออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนป้องกันรักษาและควบคุมไฟป่า ประกอบด้วย 4 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ปฏฺิบัติงานธุรการ และงานสารบรรณของส่วน

       (2) จัดทำแผนงานและงบประมาณของส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน ส่งสำนัก

       (3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายป้องกันรักษาป่า มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ปฏิบัติงานคุ้มครองพื้นที่ป่า ป้องกัน ปราบปรามเพื่อยุติการบุกรุกพื้นที่ป่า

       (2) ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรักษาพื่้นที่ป่า การร้องเรียนตลอดจนการดำเนินการเกี่ยวกับคดี การติดตามผลการดำเนินคดีด้านป่าไม้

       (3) ปฎิบัติการข่าว ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจปราบปราม เพื่อยับยั้งการบุกรุกทำลายป่า และประสานความร่วมมือในการป้องกันรักษาพื้นที่ป่า

       (4) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการด้านป่าไม้ การอนุญาตด้านป่าไม้การตรวจสอบและออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

       (5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายควบคุมไฟป่า มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

        (1) ปฏิบัติงานด้านการควบคุมไฟป่า เฝ้าระวังและป้องกันการเกิดไฟป่า

        (2) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการควบคุมไฟป่า ประชาสัมพันธ์ และรณรงค์ทุกรูปแบบ เพื่อป้องกันการเกิดไฟป่า

        (3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรืองานอื่นที่ได้รับมอบหมาย

1.4 ฝ่ายส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านป้องกันและปราบปราม มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

        (1) จัดทำและดำเนินการจัดฝึกอบรมโครงการราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) และโครงการเยาวชนอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (ยสทป.)

         (2) ปฏิบัติงานด้านส่งเสริมและสร้างเครือข่ายพันธมิตรในการป้องกันรักษาป่า

         (3) ปฏิบัติงานด้านการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร บทความเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมผ่านสื่อต่างๆ ทุกรูปแบบ

          (4) สนับสนุนวิทยากรราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า (รสทป.) ให้แก่หน่วยงานที่ต้องการ

          (5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนจัดการที่ดินป่าไม้ มีอำนาจหน้าที่

1) จัดทำแผนงานและงบประมาณของส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน กำกับ ควบคุมดูแล และประสานงานด้านจัดการที่ดินป่าไม้
2) ปฏิบัติการด้านการจัดการทรัพยากรที่ดินป่าไม้ การกำหนดเขตที่ดินป่าไม้ จัดทำและควบคุมระบบข้อมูลทรัพยากรและที่ดินป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อใช้ปฏิบัติงานด้านการจัดการพื้นที่ป่าไม้
3) ปฏิบัติงานอื่่นเกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนจัดการที่ดินป่าไม้ ประกอบด้วย 4 ฝ่าย ดังนี้

 1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ปฏิบัติงานธุรการ และงานสารบรรณของส่วน

       (2) จัดทำแผนงานและงบประมาณของส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน ส่งสำนัก

       (3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวขัองหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายกำหนดเขตที่ดินป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) สำรวจพื้นที่ป่าไม้ เพื่อกำหนดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

       (2) รังวัดหมายแนวเขตที่ดินป่าไม้ และจัดทำเครื่องหมายแสดงแนวเขตที่ดินป่าไม้

       (3) สอบสวนและวินิจฉัยการมีสิทธิ์หรือทำประโยชน์พื้นที่ราษฎรยื่นคำร้องว่ามีสิทธิ์อยู่ก่อนการประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ

       (4) ประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการรังวัด ยืนยันแนวเขตที่ดินป่าไม้

       (5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายจัดการสิทธิ์การใช้ที่ดินป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ดำเนินการจัดการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ในเรื่อง “สิทธิ์ทำกิน” (สทก.) ในพื้นที่ป่าไม้

       (2) ดำเนินการจัดการพื้นที่ป่าไม้ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ รวมถึงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนตามนโยบายรัฐบาล

       (3) ศึกษา ส่งเสริม และพัฒนาการใช้ที่ดินของราษฎรให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนดำเนินลดผลกระทบในการอาศัย/ทำกินในพื้นที่ป่าไม้ และกำหนดมาตรการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ป่าไม้

       (4) ดำเนินการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาข้อเรียกร้องของราษฎร และองค์กรเอกชนในเรื่องที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย/ทำกิน หรือการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ข้อขัดแยังต่างๆ ในการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในพื้นที่

       (5) ติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ ให้เป็นไปตามนโยบายกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

       (6) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.4 ฝ่ายสำรวจและวิเคราะห์ทรัพยากรป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) จัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน และป่าไม้ในพื้นที่ เพื่อการวางแผนจัดการ และการฟื้นฟูที่ดินป่าไม้

       (2) สำรวจเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ป่าไม้

       (3) ให้บริการข้อมูลข่าวสารเพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ

       (4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนจัดการป่าชุมชน มีอำนาจหน้าที่

1) จัดทำแผนงานและงบประมาณของส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน กำกับ ควบคุมดูแล และประสานงานด้านจัดการป่าชุมชน
2) ส่งเสริมให้มีองค์กร สถาบัน ชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชน และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย

3) ส่งเสริมการจัดป่าชุมชนและพัฒนาเครือข่ายป่าชุมชน

4) สนับสนุนข้อมูลและบริการทางวิชาการด้านวนศาสตร์ชุมชน และข้อมูลที่เกี่ยวกับการจัดการป่าชุมชนและการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชน

5) สำรวจและศึกษาข้อมูลด้านป่าชุมชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลสำหรับใช้ในการบริหารจัดการ และเผยแพร่

6) ดำเนินการป้องกัน และแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 รวมถึงพัฒนาป่าไม้ร่วมกับสถาบันศาสนาในรูปแบบอื่น

7) สนับสนุนงานโครงการพิเศษด้านป่าชุมชน ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ

8) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนจัดการป่าชุมชน ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

      (1) ปฏิบัติงานธุรการ และงานสารบรรณของส่วน

      (2) จัดทำแผนงานและงบประมาณของส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน ส่งสำนัก

      (3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานของส่วน ส่งสำนัก

1.2 ฝ่ายส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน ดำเนินการจัดตั้ง ขยาย เพิกถอนป่าชุมชนตามแนวทางของกรมป่าไม้และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

       (2) สนับสนุนและพัฒนาการบริหารจัดการป่าชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

       (3) ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของประชาชน ชุมชน กลุ่มเครือข่ายองค์กรท้องถิ่นและสถาบันต่างๆ เพื่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชมุชน

       (4) ปฏิบัติงานป้องกัน และแก้ไขปัญหาพระสงฆ์ในพื้นที่ป่าไม้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2538 พร้อมทั้งพัฒนาป่าไม้ร่วมกับสถาบันศาสนาในรูปแบบอื่น

       (5) ดำเนินงานโครงการพิเศษ ตลอดจนโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

       (6) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายพัฒนาวนศาสตร์ชุมชน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

       (1) ศึกษา วางแผน และพัฒนางานด้านวนศาสตร์ชุมชน

       (2) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรป่าไม้และสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน เพื่อพัฒนาป่าในเมืองอย่างยั่งยืน

       (3) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานด้านวนศาสตร์ชุมชน

       (4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ มีอำนาจหน้าที่

1) ประสานบูรณาการกับหน่วยงานราชการในพื้นที่ เพื่อดำเนินการโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษอื่นๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของโครงการฯ

2) ประสานงานกับโครงการพระราชดำริของกรมป่าไม้ ในพื้นที่เพื่อเตรียมการรับเสด็จฯจัดเตรียมข้อมูลให้กับผู้บริหารที่มาร่วมรับเสด็จฯ

3) ประสานงานและจัดเตรียมข้อมูลในการตรวจติดตามงานขององคมนตรี กรมวัง ผู้ใหญ่ สำนักงาน กปร. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิชัยพัฒนา และหน่วยงานอื่นๆ ที่มาตรวจติดตามงานโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษในพื้นที่

4) ตรวจติดตามโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี

5) ประสานงานและการอนุรักษ์และฟื้นฟูไม้ในพื้นที่เขตพระราชฐานและพื้นที่พิเศษรวมทั้งดูแลต้นไม้ทรงปลูกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์

6) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) งานด้านสารบรรณ

(2) งานด้านการเงิน

(3) จัดทำแผนงานและงบประมาณของส่วน จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของส่วน และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน ส่งสำนัก

(4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายประสานงานโครงการ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) การเตรียมการรับเสด็จ และการดำเนินการในพิธีการต่างๆ

(2) ประสานการดำเนินงานกับหน่วยงาน โครงการพระราชดำริ โครงการพิเศษ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(3) ติดตามงานโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษ ในพื้นที่

(4) ตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่และร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแนะข้อคิดเห็นและแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับราษฎรที่ประสบความเดือนร้อน กรณี ราษฎรทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาในพื้นที่รับผิดชอบ

(5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาตามแนวพระราชดำริ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ศึกษาและขยายผลการพัฒนางานตามแนวพระราชดำริ

(2) ให้การสนับสนุนทางวิชาการแก่ส่วนราชการและหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งงานด้านครูป่าไม้และหมอต้นไม้

(3) รวบรวมข้อมูล ดูแลรักษาต้นไม้ทรงปลูกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

(4) ประสานงานอนุรักษ์ดูแลรักษาและฟื้นฟูต้นไม้ ในเขตพื้นที่พิเศษ

(5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ มีอำนาจหน้าที่

1) เสนอโครงการและบูรณาการกับหน่วยงานในพื้นที่ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัยและพัฒนาทางด้านการป่าไม้ให้สำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

2) ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ เพื่อสนับสนุนและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การวิจัยในภาพรวมของประเทศและของกรมป่าไม้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

3) เผยแพร่ความรู้ ผลงานวิจัย และบริการทางวิชาการด้านป่าไม้

4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ปฏิบัติงานด้านธุรการและสารบรรณของกลุ่ม

(2) จัดทำแผนงานและงบประมาณของกลุ่ม จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ รวมทั้งจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานของกลุ่ม

(3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายวิจัยการป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) เสนอแผนงานและโครงการ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และพัฒนาการป่าไม้

(2) ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ เพื่อสนับสนุนและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การวิจัยในภาพรวมของประเทศและของกรมป่าไม้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

(3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายถ่ายทอดและเผยแพร่วิชาการป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) รวมรวมและจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยป่าไม้

(2) ส่งเสริมเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ ผลงานวิจัย ฝึกอบรม และบริการทางวิชาการด้านป่าไม้

(3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่

1) ปฏิบัติงานธุรการของกลุ่มงานกฎหมาย

2) ตรวจสอบ วิเคราะห์ ให้คำปรึกษา ตอบข้อหารือ และให้ความเห็นปัญหาข้อกฎหมายในความรับผิดชอบของสำนักฯ และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของสำนักฯส่วนราชการอื่นและประชาชนทั่วไป

3) ตามข้อหารือและให้คำปรึกษาแนะนำแก่บุคลากรและหัวหน้าส่วนราชการในสำนักฯ เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้และระเบียบภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในกิจการของสำนักฯ และปฏิบัติงานร่วมกับส่วนราชการในสำนักฯ และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

4) ดำเนินการและเป็นผู้แทนคดีเกี่ยวกับคดีอาญา คดีแพ่ง คดีปกครอง และการบังคับคดี ตามที่กรมป่าไม้มอบหมาย

5) ร่วมดำเนินการสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับการกระทำผิดคดีด้านการป่าไม้และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมกับส่วนราชการในสำนักฯ ที่เกี่ยวข้อง

6) ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

กลุ่มกฎหมาย ประกอบด้วย 3 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายกฎหมายและนิติกรรมสัญญา มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ศึกษา วิเคราะห์ ปรับปรุง ให้ความเห็นและข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้

(2) ตอบข้อหารือ และให้ความเห็นปัญหาข้อกฎหมายของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ และสาขาส่วนราชการอื่นและประชาชนทั่วไป

(3) ตรวจสอบนิติกรรมสัญญา และข้อตกลงที่สำนักฯ ทำกับภาครัฐและเอกชนในปัญหาข้อกฎหมาย

(4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายสืบสวนสอบสวน มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียน การกระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายการป่าไม้ และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(2) ร่วมเป็นคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้และกฎหมายที่เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 และพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

(3) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายคดี และคดีปกครอง มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ดำเนินการทางคดีและเป็นผู้แทนคดีให้กรมปาไม้ เกี่ยวกับคดีอาญา คดีแพ่ง ที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักฯ จนคดีเสร็จสิ้น

(2) ดำเนินการทางคดีและเป็นผู้แทนคดีเกี่ยวกับคดีปกครองที่อยู่ในความรับผิดชอบของสำนักฯ จนคดีเสร็จสิ้น

(3) ดำเนินการสืบหาหลักทรัพย์เพื่อบังคับคดีตามคำสั่งกรมป่าไม้และคำสั่งศาล

(4) ให้คำปรึกษาและแนะนำบุคลากรและผู้อำนวยการสำนักฯ เกี่ยวกับการดำเนินคดีแพ่ง และคดีอาญา แก้ต่างคดีให้เจ้าหน้าที่ในสำนักฯ

(5) พิจารณาวินิจฉัยข้อกฎหมายและการจัดการของกลางในคดีความรับผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ของสำนัก

(6) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์ป่าไม้จังหวัด หน่วยงานส่วนกลางในภูมิภาคทุกจังหวัด (จำนวน 76 จังหวัด ยกเว้น กรุงเทพมหานคร) มีอำนาจหน้าที่

1) ดำเนินการประสานงานและสนับสนุนการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดร่วมกับสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด ตามอำนาจหน้าที่ของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้

2) ดำเนินการด้านการป้องกันการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ การควบคุมไฟป่าการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินป่าไม้ และลดความขัดแย้งการใช้ประโยชน์ที่ดินป่าไม้ โดยประสานการปฏิบัติบูรณาการกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

่3) ส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือในการจัดการป่าชุมชน การฟื้นฟูฟื้นที่ป่าเสื่อมโทรม และการปลูกไม้เพื่อเศรษฐกิจง

4) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริหารด้านป่าไม้ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสวนป่า กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาการถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรปาไม้ ในระดับจังหวัด

5) ดำเนินการเกี่ยวกับงานตรวจสอบและออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้และถ่านไม้ เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และสนับสนุนการทำงานในระบบ National Single Window และ ASEAN Single Window

6) ส่งเสริมและประสานความร่วมมืองานด้านทรัพยากรธรรมชาติกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวขัอง

7) สนับสนุนและร่วมมือในการดำเนินการขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรป่าไม้ให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์จังหวัด และกลุ่มจังหวัด

8) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์ป่าไม้จังหวัด ประกอบด้วย 4 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป งานสารบรรณ

(2) ดำเนินการเกี่ยวกับการเงิน การบัญชี การงบประมาณ การพัสดุ อาคาร สถานที่และยานพาหนะ

(3) ดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล การพัฒนาข้าราชการ การเสริมสร้างวินัย และรักษาระบบคุณภาพ

(4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ดำเนินการป้องกันรักษาทรัพยากรป่าไม้

(2) ประสานงานความร่วมมือในการสนธิกำลังและการดำเนินการกับองค์กรพันธมิตรเพื่อปราบปรามการกระทำผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้

(3) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและเครือข่ายความร่วมมือ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการป้องกันรักษาป่า

(4) ป้องกันและควบคุมไฟป่า ตลอดจนการประชาสัมพันธ์รณรงค์การป้องกันไฟป่า

(5) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาการป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ส่งเสริมการปลูกป่าภาคเอกชนให้คำแนะนำและถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการป่าไม้และการตลาดไม้ ตลอดจนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535

(2) ส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการเพาะชำกล้าไม้ และการขยายพันธ์ุไม้แก่หน่วยงานของรัฐภาคเอกชน และประชาชน

(3) ประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการปลูกต้นไม้ในทุกรูปแบบ

(4) ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชนและสถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และดูแลรักษาป่าชุมชนร่วมกับเจ้าหน้าที่รวมทั้งงานด้านป่าไม้ในเมืองและระบบวนเกษตร

(5) ดำเนินการตามกฎหมายป่าไม้และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อการดำเนินงานด้านป่าชุมชน

(6) ดำเนินการเกี่ยวกับการให้บริการด้านป่าไม้ ตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้กฎหมายว่าด้วยป่าสงวนแห่งชาติ กฎหมายว่าด้วยสวนป่า กฎหมายว่าด้วยเลื่อยโซ่ยนต์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการส่งเสริมและพัฒนาการถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ในระดับจังหวัด

(7) ดำเนินการเกี่ยวกับงานตรวจสอบและออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้ และถ่านไม้ เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร และสนับสนุนการทำงานในระบบ National Single Window และ ASEN Single Window

(8) ประสานการอนุญาตร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

(9) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

1.4 ฝ่ายจัดการที่ดินป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ร่วมดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองแนวเขตป่าไม้ ตลอดจนการระวังชี้แนวเขตป่าไม้

(2) ร่วมพิจารณา ตรวจสอบเกี่ยวกับการอนุญาตใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้

(3) ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ในระดับพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่ป่าไม้

(4) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่

1) เป็นศูนย์กลางการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ภายในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อจัดทำรายละเอียดฐานข้อมูลและแผนที่ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการบริหารแบบบูรณาการในพื้นที่รับผิดชอบ

2) ดำเินินการเกี่ยวกับการบูรณาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบด้านงานป้องกันรักษาป่าและควบุคมไฟป่า งานจัดการที่ดินป่าไม้ งานบริการด้านการอนุญาต งานวิจัยและพัฒนาด้านการป่าไม้ งานส่งเสริมการปลูกป่า งานจัดการป่าชุมชน งานเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจการพิเศษตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการป่าไม้ทุกฉบับ

3) ส่งเสริม และสนับสนุน การบริหารจัดการชุมชนในพื้นที่ป่า โดยใช้ระบบนิเวศลุ่มน้ำเป็นเกณฑ์ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

4) พิจารณาให้ความเห็นในเบื้องต้นต่อ การขอนุญาต การดำเนินกิจกรรม หรือโครงการต่างๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ และร่วมประเมินผลกับหน่วยงานเจ้าของแผนงานและงบประมาณรวมถึงตรวจติดตาม ประเมินผล และให้คำแนะนำตามเงื่อนไขการอนุญาต

5) ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนในพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้แบบมีส่วนร่วม

6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติ ประกอบด้วย 4 ฝ่าย ดังนี้

1.1 ฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) การปฏิบัติงานสารบรรณทั่วไป

(2) ควบคุมทะเบียนปฏิบัติงานด้านงบประมาณการเงิน บัญชี และพัสดุ

(3) จัดทำแผนปฏิบัติงานด้านงบประมาณของศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติ วิเคราะห์และจัดทำแผนงบประมาณตลอดจนรวมรวมฐานข้อมูล สถิติการดำเนินงานและผลการดำเนินงาน ด้านแผนงาน ติดตามประเมินผล

(4) ดำเนินงานด้านบุคคล ควบคุมดูแลอาคารสถานที่ ยานพาหนะ ครุภัณฑ์

(5) ประสานการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อบริการประชาชน

(6) ประสานงานราชการและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

1.2 ฝ่ายจัดการป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) กำหนดแนวทาง มาตรการ และการปฏิบัติงานเพื่อการสงวนและดูแลรักษาป่าไม้แบบมีส่วนร่วม

(2) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการบูรณาการตามแผนปฏิบัติงานของหน่วยงาน กรมป่าไม้ในการดำเนินการในพื้นที่ป่าไม้แบบมีส่วนร่วม เรื่องการป้องกันรักษาป่าและควบุคมไฟป่า การจัดการที่ดินป่าไม้ งานบริการด้านการอนุญาตต่างๆ และงานอื่นๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่่ป่าสงวนแห่งชาติ

(3) ประสานกับทุกภาคส่วนในการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินป่าไม้ในทุกมิติ

(4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวขัองหรือที่ได้รับมอบหมาย

1.3 ฝ่ายพัฒนาป่าไม้ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) จัดทำรวบรวม และพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ ภายในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อจัดทำรายละเอียดฐานข้อมูลและแผนที่ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS)ในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และการบริหารจัดการที่ดินป่าไม้แบบมีส่วนร่วม

(2) เสนอมาตรการและแนวทางสนับสนุการพัฒนาอาชีพการป่าไม้ ตามหลักระบบวนเกษตร กสิกรรมธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และปลูกป่าผสมผสาน 5 เรือนยอด

(3) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานกรมป่าไม้ในการดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบแบบมีส่วนร่วม ในเรื่องการฟื้นฟูป่าไม้ การส่งเสริมการปลูกป่า การปลูกไม้เศรษฐกิจ การวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่รับผิดชอบ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(4) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

1.4 ฝ่ายจัดการชุมชนในพื้นที่ป่า มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) ดำเนินการตามนัยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั่งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ข้อ 2.1 ประกอบกับพระราชบัญญัติปาไม้ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

(2) ประสานการจัดการชุมชนในพื้นที่ป่า แผนการจัดการและสนับสนุนการพัฒนาการจัดการป่าไม้คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

(3) ดำเนินการกำหนดกติกรชุมชน (ธรรมนูญพลเมือง) โดยไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับการป่าไม้ และกฎหมายอื่นๆ

(4) ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลและผังชุมชน

(5) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

1.5 ฝ่ายการมีส่วนร่วม มีหน้าที่และความรับผิดชอบ

(1) พัฒนาและส่งเสริมองค์กรอาสาป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบในระดับบ้าน(ป่าไม้ชาวบ้าน) หมู่บ้าน ตำบล และส่งเสริมเครือข่ายในระดับอำเภอ ป่าสงวนแห่งชาติ และลุ่มน้ำ

(2) จัดทำทะเบียน ประวัติองค์กรอาสาป่าไม้ พร้อมทั้่งกำหนดเงื่อนไขกระบวนการและมาตรการการดำเนินงานขององค์กรอาสาป่าไม้ชาวบ้านแบบมีส่วนร่วม

(3) จัดทำแผนงาน/โครงการบริหารจัดการเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วม โดยจัดเวทีชาวบ้าน ประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติแบบบูณาการ

(4) กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการพัฒนากองทุนป่าไม้ชาวบ้านแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมองค์กรเครือข่ายให้มีความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการป่าไม้

(5) ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานกรมป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบแบบมีส่วนร่วม เรื่องการจัดการป่าชุมชน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจการพิเศษ และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่รับผิดชอบ

(6) ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

"ไม้มีค่า ป่าชุมชน คนอยู่กับป่า"