ป่าชุมชนต้นแบบ วิถีคน วิถีป่า จังหวัด: ภูเก็ต

รายละเอียดข้อมูลขอจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ป่าชุมชนต้นแบบ " วิถีคน วิถีป่า" จังหวัดภูเก็ต
ชื่อป่าชุมชนบ้านใสยวน
ที่ตั้งหมู่ที่ 7 ตำบลราไวย์ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต
อนุมัติ ปี พ.ศ.2560
เนื้อที่253 ไร่
พิกัด0425155 0967393
ชื่อ-สกุล ประธานป่าชุมชนนายฝาด หมิดโหมง
ประวัติสถานที่ในอดีตหมู่บ้านใสยวน คือ หมู่ที่ 1 แต่เมื่อ พ.ศ. 2534 ได้แยกออกมาเป็น หมู่ที่ 7 ณ ปัจจุบัน ความเป็นมาของชื่อหมู่บ้านใสยวน เดิมทีหมู่บ้านใสยวน เป็นป่าใสและภูเขา มีผึ้งยวนเป็นจำนวนมากมาอาศัยเป็นถิ่นที่อยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านใสยวน (ใสคือป่า - ยวนคือผึ้ง)
เมื่อปี พ.ศ. 2501 หมู่บ้านใสยวนมี 75 ครัวเรือน แต่ ณ ปัจจุบันมี 400 กว่าครัวเรือน ซึ่งมีอาชีพเกษตรกรรม อาทิเช่น ทำนา ทำสวน ปลูกผัก ทำไรเลื่อนลอย โดยอาศัยน้ำจากภูเขาห้วยในการทำเกษตรกรรมซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 3 สาย ดังนี้
1. ชื่อห้วยน้ำควนคา ซึ่งจะอยู่ทางทิศตะวันตกติดเขตตำบลกะรน
2. ชื่อห้วยน้ำท่อ ซึ่งจะอยู่ทางทิศเหนือติดเขตกะรนปรักเจ
3. ชื่อห้วยกรอกสุบี่ ซึ่งจะอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดเขตหมู่ที่ 4 ตำบลราไวย์
โดยห้วยทั้งหมดจะไหลจากภูเขาลงสู่ด้านล่าง นั้นคือ หมู่บ้านใสยวน ทำให้ชาวบ้านมีน้ำใช้ในการอุปโภคและบริโภคในครัวเรือน และทำการเกษตร
เมื่อปี พ.ศ. 2507 พลตำรวจเอกพิชัย กุลละวานิช เป็นรัฐมนตรีการเกษตร ได้ออกประกาศให้พื้นที่ป่าเทือกเขานาคเกิดทั้งหมดเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ทำให้ชาวบ้านต้องอพยพในการทำไร่เลื่อนลอย และการทำการเกษตรลงมาทำยังพื้นที่ราบด้านล่าง ซึ่งก็คือหมู่บ้านใสยวนในปัจจุบัน ชาวบ้านก็จะมีอาชีพที่แตกต่างกันไปตามยุคสมัย อาทิเช่น ทำการเกษตร รับจ้างทั่วไป ทำการประมงพื้นบ้าน ทำอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว เป็นต้น แต่สภาพพื้นที่ป่าและแหล่งน้ำชาวบ้านได้ร่วมกันอนุรักษ์คงไว้ตามสภาพเดิมจนถึง ณ ปัจจุบัน
เหตุผลในการเลือกพื้นที่เนื่องจากป่าชุมชนแห่งนี้ มีความสำคัญเป็นแหล่งต้นน้ำของชุมชน และมีการต่อสู้ปกป้องป่าผืนนี้ไว้มาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี เนื่องจาก จังหวัดภูเก็ต เป็นเมืองท่องเที่ยว ที่ดินราคาสูง
ประเด็นสำคัญ/จุดเด่น/ปัจจัยหลัก
- ประเด็นหลัก1. “ความภูมิใจของชุมชน” ซึ่งมีความสามัคคีร่วมด้วยช่วยกัน รักษาป่าผืนนี้ไว้ได้
2. ป่าผืนนี้เป็นต้นน้ำลำธารหล่อเลี้ยงคนในชุมชน
3. ความหลากหลายของป่า พันธุ์ไม้ สมุนไพร สัตว์ป่า
- ประเด็นรอง1. ป่าผืนนี้อยู่กลางเมืองใหญ่ เหมาะแก่การเรียรู้ “ท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์”
2. วิถีคนในชุมชน “อิสลาม” กับการรักษา
3. จิตสำนึกของคนในชุมชนกับป่า

 

 

ชื่อ-สกุลเจ้าหน้าที่ประสานงาน: นายเอกพล คงมาก
ตำแหน่ง: ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเกษตร
สังกัด: สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ ที่ 12 สาขากระบี่