วันที่ 9 ม.ค.61 ประชุมซักซ้อมความเข้าใจในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ


เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 เวลา 10.00 น. นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมป่าไม้ เป็นประธานการประชุมซักซ้อมความเข้าใจในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ณ ห้องประชุมศูนย์ข้อมูลด้านการฟื้นฟูป่าต้นน้ำจังหวัดน่าน ศูนย์ป่าไม้จังหวัดน่าน

มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผอ.สจป.ที่ 1-4 และสาขาทุกสาขา ตลอดจน ผอ.ส่วนทุกส่วน ภายใต้ สจป.ที่ 1-4 และสาขาทุกสาขา เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ จากส่วนกลาง อาทิเช่น นายอภิรักษ์ ทหรานนท์ รกท.ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการส่งเสริมการปลูกป่า สสป. นายสุจิณ เรืองถาวรฤทธิ์ ผอ.สพช.สสป. นายชุติเดช กมนณชนุตม์ ผอ.สปร. สสป. นางวราวรรณ ธนะกิจรุ่งเรือง ผอ.ศูนย์สารสนเทศ  เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ในพื้นที่ อาทิเช่น นายประสิทธิ์ ท่าช้าง ป่าไม้จังหวัดน่าน หน.หน่วยส่งเสริมและพัฒนาป่าไม้น่าน ทั้ง 15 อำเภอ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง

โดย นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้ถ่ายทอดนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดน่าน ของท่าน รมว.ทส. ตามแนวทาง “รัฐได้ป่า ประชาได้ที่ทำกิน” ให้ที่ประชุมได้รับทราบและนำไปปรับประยุกต์ใช้ในพื้นที่

จากนั้น รองอธิบดีกรมป่าไม้ ได้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้จังหวัดน่าน ด้วยรูปแบบการ zoning การจัดทำแผนการบริหารจัดการพื้นที่ ระยะ 10 ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพ ในลุ่มน้ำชั้น 3,4,5 ซึ่งไม่สามารถดำเนินโครงการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน (คทช.) ได้ จะนำมาส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ ในรูปแบบวนเกษตรไม้เศรษฐกิจโตเร็ว เพื่อเป็นวัตถุดิบป้อนโรงไฟฟ้าชีวมวล  พร้อมกับยกตัวอย่าง แปลงสาธิตระบบวนเกษตร ที่ อ.แม่สอด จ.ตาก อีกทั้งยังได้ชี้แจง เรื่องการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาป่าไม้น่าน โดยจะมี หน.หน่วยส่งเสริมและพัฒนาป่าไม้ประจำอำเภอ เข้าไปปฏิบัติงานด้านป่าไม้ทุกงานแบบบูรณาการ ร่วมกับทางอำเภอ ทั้ง 15 อำเภอ

นายนิทรรศ เวชวินิจ ผอ.สจป.ที่ 3 สาขาแพร่ ได้นำเสนอรูปแบบการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดน่าน การใช้ระบบภูมิสารสนเทศเข้ามาช่วยในการดำเนินงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งทาง นางวราวรรณ ธนะกิจรุ่งเรือง ผอ.ศูนย์สารสนเทศ ได้เสริมทาง ผอ.สจป.ที่ 3 สาขาแพร่ โดยได้แนะแนวทางการนำเสนอข้อมูล ด้วยระบบภูมิสารสนเทศในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าไม้ ให้กับทางที่ประชุมได้รับทราบ

ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะแนวทางการปฏิบัติงานในพื้นที่ป่าเสื่อมสภาพ ในชั้นลุ่มน้ำ 1,2 ซึ่งราษฎรไม่ยอมออกจากพื้นที่ ทางกรมป่าไม้จะได้ใช้แนวทางตามมาตรา 19 พ.ร.บ.ป่าสงวนฯ เข้าไปใช้บริหารจัดการ

แสดงความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.