กิจกรรมบำรุงรักษาแปลงปลูก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563
กิจกรรมบำรุงรักษาแปลงปลูก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง ประจำเดือน กุมภาพันธ์ 2563
Mae Moh Project site’s Maintenance Activities. Feburary 2020
Mae Moh Project site’s Maintenance Activities. Feburary 2020
Takua Pa Project Site ’s Maintenance Activities. February 2020
โครงการการปรับปรุงสภาพพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พืชเฉพาะถิ่น และพืชที่ถูกคุกคาม ในระบบนิเวศพื้นดินที่ถูกรบกวนในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย (Domestication of Endangered, Endemic and Threatened Plant Species in Disturbed Terrestrial Ecosystem in Malaysia and Thailand) โดยโครงการฯ มีวัตถุประสงค์หลักในการศึกษาวิจัยเพื่อปรับสภาพพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พืชเฉพาะถิ่น และพืชที่ถูกคุกคาม ในระบบนิเวศพื้นดินที่ถูกรบกวนในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย เพื่อเป็นการศึกษา วิจัยความรู้ และบทเรียนในวิธีการที่ดีที่สุดในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในภูมิภาค โดยสถาบันวิจัยด้านการป่าไม้แห่งมาเลเซีย (Forest Research Institute of Malaysia: FRIM) เป็นหน่วยงานดำเนินการหลักของประเทศมาเลเซีย ร่วมกับกรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการหลักของประเทศไทย
ทั้งนี้จากการประชุมคณะกรรมการผู้ประสานงานโครงการฯ (Project Coordination Committee Meeting: PCM) ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ณ FRIM ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมได้เห็นชอบให้กรมป่าไม้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการในระดับประเทศ (Domestic Workshop) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ ในพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมืองมาก่อน ให้กับบุคลากรของกรมป่าไม้ และบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมือง ร่วมกันหาแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ในการปรับสภาพพันธุ์พืช และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ในบริเวนระบบนิเวศที่ถูกรบกวน และเผยแพร่องค์ความรู้และการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการการปรับปรุงสภาพพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ พืชเฉพาะถิ่น และพืชที่ถูกคุกคาม ในระบบนิเวศพื้นดินที่ถูกรบกวนในประเทศมาเลเซียและประเทศไทย ซึ่งการประชุมเชิงปฏิบัติการการปรับสภาพพันธุ์พืช และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ใน บริเวนระบบนิเวศที่ถูกรบกวน (การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ที่ผ่านการทำเหมือง) ในครั้งนี้ที่ประชุมจะได้รับฟังการบรรยายจากวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการดำเนินการปลูกฟื้นฟูป่าในพื้นที่ที่เป็นเหมืองมาก่อน ทั้งจากคณะวนศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิต และเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้เอง ร่วมทั้งจะได้มีการศึกษาดูงานในพื้นที่จริง ณ บริษัท ปูนซิเม้นต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด