ศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติ


มีอำนาจหน้าที่

  1. เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลต่างๆ ภายในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อจัดทำรายละเอียดฐานข้อมูลและแผนที่ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อการบริหารแบบบูรณาการในพื้นที่รับผิดชอบ
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับการบูรณาการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบด้านงานป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า งานจัดการที่ดินป่าไม้ งานบริการด้านการอนุญาต งานวิจัยและพัฒนาด้านการป่าไม้ งานส่งเสริมการปลูกป่า งานจัดการป่าชุมชน งานเกี่ยวกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจการพิเศษตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการป่าไม้ทุกฉบับ
  3. ส่งเสริม และสนับสนุน การบริหารจัดการชุมชนในพื้นที่ป่า โดยใช้ระบบนิเวศลุ่มน้ำเป็นเกณฑ์ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
  4. พิจารณาให้ความเห็นในเบื้องต้นต่อ การขออนุญาต การดำเนินกิจกรรม หรือโครงการต่างๆ ในพื้นที่รับผิดชอบ และร่วมประเมินผลกับหน่วยงานเจ้าของแผนงานและงบประมาณ รวมถึงตรวจติดตาม ประเมินผล และให้คำแนะนำตามเงื่อนไขการอนุญาต
  5. ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนในพื้นที่ในการจัดการทรัพยากรที่ดินและป่าไม้แบบมีส่วนร่วม
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย
  • ฝ่ายบริหารทั่วไป

– การปฏิบัติงานสารบรรณทั่วไป

– ควบคุมทะเบียนปฏิบัติงานด้านงบประมาณการเงิน บัญชี และพัสดุ

– จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณของศูนย์จัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติ วิเคราะห์และจัดทำแผนงบประมาณตลอดจนรวบรวมฐานข้อมูล สถิติการดำเนินงาน และผลการดำเนินงาน ด้านแผนงาน ติดตามประเมินผล

– ดำเนินงานด้านบุคคล ควบคุมดูแลอาคารสถานที่ ยานพาหนะ ครุภัณฑ์

– ประสานการดำเนินงานของศูนย์ข้อมูลสารสนเทศ เพื่อบริการประชาชน

– ประสานงานราชการและปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

  • ฝ่ายจัดการป่าไม้

– กำหนดแนวทาง มาตรการ และการปฏิบัติงานเพื่อการสงวนและดูแลรักษาป่าไม้แบบมีส่วนร่วม

– ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการบูรณาการตามแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานกรมป่าไม้ ในการดำเนินการในพื้นที่ป่าไม้แบบมีส่วนร่วม เรื่องการป้องกันรักษาป่าและควบคุมไฟป่า การจัดการที่ดินป่าไม้ งานบริการด้านการอนุญาตต่างๆ และงานอื่นๆ ที่ดำเนินการในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

– ประสานกับทุกภาคส่วนในการดำเนินการเกี่ยวกับการบริหารจัดการที่ดินป่าไม้ในทุกมิติ

– ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

  • ฝ่ายพัฒนาป่าไม้

– จัดทำรวบรวม และพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม โดยรวบรวมข้อมูลต่างๆ ภายในพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อจัดทำรายละเอียดฐานข้อมูลและแผนที่ในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ (GIS) ในพื้นที่รับผิดชอบเพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้และการบริหารจัดการที่ดินป่าไม้แบบมีส่วนร่วม

– เสนอมาตรการและแนวทางสนับสนุนการพัฒนาอาชีพการป่าไม้ ตามหลักระบบวนเกษตร กสิกรรมธรรมชาติ ตามแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง และปลูกป่าผสมผสาน 5 เรือนยอด

– ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานของหน่วยงานกรมป่าไม้ในการดำเนินการในพื้นที่รับผิดชอบแบบมีส่วนร่วม ในเรื่องการฟื้นฟูป่าไม้ การส่งเสริมการปลูกป่า การปลูกไม้เศรษฐกิจ การวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อการจัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติในพื้นที่รับผิดชอบ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

– ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

  • ฝ่ายจัดการชุมชนในพื้นที่ป่า

– ดำเนินการตามนัยคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ข้อ 2.1 ประกอบกับพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ 2507 และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

– ประสานการจัดการชุมชนในพื้นที่ป่า แผนการจัดการและสนับสนุนการพัฒนาการจัดการป่าไม้คุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ และสังคมร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง

– ดำเนินการกำหนดกติกาชุมชน (ธรรมนูญพลเมือง) โดยไม่ขัดต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับการป่าไม้ และกฎหมายอื่นๆ

– ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำฐานข้อมูลและผังชุมชน

– ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

  • ฝ่ายการมีส่วนร่วม

– พัฒนาและส่งเสริมองค์กรอาสาป่าไม้ในพื้นที่รับผิดชอบในระดับบ้าน (ป่าไม้ชาวบ้าน) หมู่บ้าน ตำบล และส่งเสริมเครือข่ายในระดับอำเภอ ป่าสงวนแห่งชาติ และลุ่มน้ำ

– จัดทำทะเบียน ประวัติองค์กรอาสาป่าไม้ พร้อมทั้งกำหนดเงื่อนไขกระบวนการ และมาตรการการดำเนินงานขององค์กรอาสาป่าไม้ชาวบ้านแบบมีส่วนร่วม

– จัดทำแผนงาน/โครงการบริหารจัดการเชิงพื้นที่แบบมีส่วนร่วม โดยจัดเวทีชาวบ้าน ประชุม สัมมนา หรือฝึกอบรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนกระบวนการจัดการกลุ่มป่าสงวนแห่งชาติแบบบูรณาการ