ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า


นายนิธิโรจน์  จงจิตรกิตติ์ธนา
ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมการป่าไม้

ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า

ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า มีอำนาจหน้าที่

๑) เสนอแผนงานและโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จัดทำแผนปฏิบัติการและแผนการใช้จ่ายงบประมาณกำกับ ควบคุมดูแล และประสานงานด้านส่งเสริมการปลูกป่าจัดทำแผนที่แปลงปลูกและบำรุงป่าในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ และรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติงานที่กรมป่าไม้กำหนด
๒) ส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ทุกรูปแบบทั้งในที่ดินของรัฐและที่ดินเอกชนการดำเนินงานในรูปสหกรณ์สวนป่าการปลูกป่าเศรษฐกิจในรูปแบบอื่นๆ รวมทั้งการดำเนินงานเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสวนป่า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
๓) ดำเนินงานด้านวิชาการการ วิจัยและการพัฒนาด้านการป่าไม้ รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเพาะชำกล้าไม้ การปลูกและฟื้นฟู แก่ประชาชน หน่วยงาน ภาครัฐ และองค์กรเอกชน
4) ดำเนินการตามแผนงานและกิจกรรมตามแนวทางพระราชดำริและแนวนโยบายที่เกี่ยวข้องและประสานการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและกิจการพิเศษอื่น ๆ
๕) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

ส่วนส่งเสริมการปลูกป่า ประกอบด้วย 4 ฝ่ายดังนี้

๕.1 ฝ่ายปลูกป่ามีหน้าที่รับผิดชอบ

(๑) กำกับ ควบคุม ดูแลการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ทุกรูปแบบให้เป็นไปตามหลักวิชาการรวมทั้งการดำเนินงานเกี่ยวกับ กฎหมายว่าด้วยสวนป่า และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๒) ส่งเสริม และสนับสนุนการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าทุกรูปแบบ

(๓) ส่งเสริม และสนับสนุนการรวมกลุ่มและพัฒนาศักยภาพของสหกรณ์สวนป่าภาคเอกชนและการประกอบอาชีพด้านป่าไม้

(๔) จัดทำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ของแปลงปลูกป่าและฟื้นฟูป่าไม้ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

(๕) ดำเนินงานด้านวิชาการเกี่ยวกับการปลูกและฟื้นฟูป่าไม้ รวมทั้งส่งเสริมและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ แก่ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน

(๖) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

๕.๒ ฝ่ายผลิตกล้าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบ

(๑) ควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานด้านเพาะชำกล้าไม้ เพื่อแจกจ่ายให้แก่ประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรเอกชน

(๒) พัฒนาเทคนิคการผลิตกล้าไม้ให้มีคุณภาพ

(๓) ส่งเสริมเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และถ่ายทอด ความรู้เกี่ยวกับการเพาะชำกล้าไม้ การขยายพันธุ์ไม้ การสร้างเรือนเพาะชำกล้าไม้ชุมชน สู่ประชาชน หน่วยงานของรัฐและองค์กรเอกชน

(๔) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

๕.๓ ฝ่ายโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ มีหน้าที่รับผิดชอบ

(๑) ประสานบูรณาการกับหน่วยงานราชการในพื้นที่เพื่อดำเนินการโครงการพระราชดำริและโครงการพิเศษอื่นๆ ให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมายของโครงการฯ

(๒) ประสานงานกับโครงการพระราชดำริของกรมป่าไม้ ในพื้นที่เพื่อเตรียมการรับเสด็จฯจัดเตรียมข้อมูลให้กับผู้บริหารที่มาร่วมรับเสด็จฯ

(๓) ประสานงานและจัดเตรียมข้อมูลในการตรวจติดตามงานขององคมนตรีกรมวังผู้ใหญ่ สำนักงาน กปร. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มูลนิธิชัยพัฒนา และหน่วยงานอื่นๆ ที่มาตรวจติดตามงานโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษในพื้นที่

(๔) ตรวจติดตามโครงการพระราชดำริและกิจการพิเศษ ตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายเงินประจำปี

(๕) ประสานงานและการอนุรักษ์และฟื้นฟูไม้ในพื้นที่เขตพระราชฐานและพื้นที่พิเศษรวมทั้งดูแลต้นไม้ทรงปลูกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์

(๖) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมายเอกชน

๕.๔ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาการป่าไม้ มีหน้าที่รับผิดชอบ

(๑) เสนอแผนงานและโครงการ เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา วิจัย และพัฒนาการป่าไม้

(๒) ประสานงานและปฏิบัติงานร่วมกับสำนักวิจัยและพัฒนาการป่าไม้และหน่วยงานอื่นเพื่อสนับสนุนและดำเนินการตามยุทธศาสตร์การวิจัยในภาพรวมของประเทศและของกรมป่าไม้ในส่วนที่เกี่ยวข้อง

(๓) ศึกษา วิเคราะห์ การส่งเสริมเผยแพร่และถ่ายทอดความรู้ ผลงานวิจัย ฝึกอบรมและบริการทางวิชาการด้านป่าไม้ รวบรวมและจัดทำฐานข้อมูลงานวิจัยป่าไม้

(๔) สนับสนุนประสานงาน ติตตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานด้านวิจัยหรือแหล่งทดลองทางวิชาการในพื้นที่รับผิดชอบ

(๕) ปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรืองานที่ได้รับมอบหมาย

  1. ศูนย์ป่าไม้จำนวน ๗๖ จังหวัดมีหน้าที่รับผิดชอบ

1) ศึกษา วิเคราะห์ จัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนงานโครงการ ด้านป่าไม้ในพื้นที่จังหวัดให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนยุทธศาสตร์ทุกระดับ และทบทวนสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ระดับจังหวัดให้สอดคล้องกับศักยภาพและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

๒) เป็นศูนย์กลางในการดำเนินการและประสานการปฏิบัติภารกิจด้านป่าไม้ ทั้งการสงวนอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรป่าไม้ และจัดทำรายงานสถานการณ์ป่าไม้ของจังหวัด ตลอดจนประสานดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัด