แนวทางการร่างและเผยแพร่เนื้อหา 1


เนื้อหาซึ่งได้รับการจัดการที่ดี นอกจากจะช่วยให้ผู้อ่านค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กร และความสวยงามของเว็บไซต์อีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงได้มีการกำหนดแนวทางในการร่างและเผยแพร่เนื้อหาไว้ ดังนี้

เลือกหมวดหมู่ให้ถูกต้อง

เมื่อเขียนเรื่อง การเลือกหมวดหมู่ที่ถูกต้องจะทำให้เรื่องดังกล่าวไปปรากฏ ณ ตำแหน่งที่ต้องการ และช่วยให้ผู้อ่านค้นหาสิ่งที่ต้องการได้โดยสะดวก

category-selection

ใส่รูปพิเศษเสมอ

รูปพิเศษจะปรากฏในรายการของเรื่อง เสมือนเป็นตัวแทนของแต่ละเรื่อง ช่วยให้ผู้อ่านจดจำได้ว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร/ตนอ่านเรื่องดังกล่าวไปแล้วหรือยัง นอกจากนั้นยังช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับเรื่องอีกด้วย

หากเพิ่มรูปเข้าไปในเรื่อง รูปที่เพิ่มเป็นรูปสุดท้ายจะถูกใช้แทนรูปพิเศษโดยอัตโนมัติ สามารถกด “ตั้งรูปพิเศษ” ได้ ในกรณีต้องการใช้รูปอื่น

featured-image

พิมพ์เนื้อหาแทนการแนบไฟล์

การแนบไฟล์โดยที่ไม่พิมพ์เนื้อหา ถึงแม้จะช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมเนื้อหา แต่อาจส่งผลกระทบต่อผู้อ่านดังนี้

  1. เป็นการเพิ่มขั้นตอน
  2. ทำให้ยากต่อการสืบค้น
  3. มีโอกาสที่ผู้อ่านจะไม่สามารถเปิดไฟล์แนบได้
  4. มีความเสี่ยงที่ไวรัสจะฝังไปพร้อมกับไฟล์แนบ

ดังนั้นจึงควรพิมพ์เนื้อหา หรือคัดลอกเนื้อหาจากไฟล์แนบมาใส่ในเรื่องแทนการแทรกเพียงลิงค์สำหรับดาวน์โหลดไฟล์แนบ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบดังกล่าว

replace-files-with-texts

เพิ่มรูปประกอบเมื่อมีโอกาส

Use a picture. It’s worth a thousand words.” – Arthur Brisbane

การใช้รูปภาพประกอบการอธิบายด้วยตัวอักษรจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจเรื่องได้ง่ายและเร็วขึ้น อีกทั้งยังเพิ่มความน่าสนใจให้เรื่องอีกด้วยpicture-worth-1000-words

แทรกเครื่องหมาย “อ่านต่อ”

ในหน้าที่เป็นรายการของเรื่อง เช่น หมวดหมู่ หรือผลการค้นหา จะแสดงเพียงเนื้อหาบางส่วนของแต่ละเรื่อง (คำตัดทอน) เท่านั้น

กรณีที่เป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษ ซึ่งใช้ช่องว่างในการแบ่งคำ WordPress จะใช้ 50 คำแรกเป็นคำตัดทอน แต่หากเป็นเนื้อหาภาษาไทย ซึ่งใช้ช่องว่างในการแบ่งประโยค WordPress จะใช้ 50 ประโยคแรกเป็นคำตัดทอนแทน ดังนั้นในกรณีที่เขียนเรื่องเป็นภาษาไทย จึงควรตัดทอนคำด้วยตนเองแทนการพึ่งพาระบบตัดคำอัตโนมัติ เพื่อไม่ให้คำตัดทอนที่ออกมามีตัวอักษรมากเกินไปจนขาดความสวยงาม

สามารถตัดทอนคำด้วยตนเองโดยการกดปุ่ม “อ่านเพิ่มเติม” เพื่อแทรกเครื่องหมาย “อ่านต่อ” ด้านหลังคำสุดท้ายที่ต้องการให้ปรากฏในรายการของเรื่อง

readmore

ตั้งลิงค์ถาวรด้วยตนเอง

ลิงค์ถาวร คือ url ที่ใช้เชื่อมโยงไปยังหน้าหรือเรื่อง โดยทั่วไปแล้ว WordPress จะสร้างลิงค์ถาวรให้โดยอัตโนมัติโดยใช้ชื่อเรื่อง แต่ผู้เขียนสามารถแก้ไขลิงค์ดังกล่าวได้ เพื่อให้ลิงค์ถาวรสมบูรณ์ และง่ายต่อการจดจำของผู้อ่าน

english-slug

หลักในการตั้งลิงค์ถาวรมีดังนี้

  • ตั้งให้ได้ใจความ โดยใช้คำหลัก (keyword) จากเนื้อหา
  • จำกัดตัวอักษรให้มีความกระชับ
  • ใช้ภาษาอังกฤษ เนื่องจากชุดอักขระใน url ต้องเป็นรหัส ASCII เท่านั้น อักขระนอกเหนือจากนั้นจะถูกแปลงให้อยู่ในรูป %{ตัวเลขฐานสิบหกสองหลัก} เช่น th.wikipedia.org/wiki/ประเทศไทย จะถูกแปลงให้เป็น http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2 ซึ่งยากต่อการจดจำ

แสดงความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

หนึ่งความคิดเห็นบน “แนวทางการร่างและเผยแพร่เนื้อหา

  • ขาจร

    เห็นด้วยเรื่องการพิมพ์เนื้อหาแทนการแนบไฟล์ครับ หน่วยงานราชการชอบอัพโหลดไฟล์ pdf ขึ้นเว็บ แทนที่จะพิมพ์เนื้อหาลงไปในบทความตรงๆ ทำให้ต้องคลิกหลายขั้นตอน เครื่องไหนที่ไม่มีโปรแกรมสำหรับเปิดไฟล์ก็ต้องเสียเวลาไปโหลดมาเปิดไฟล์อีกครับ