coorspec

ตอบกระทู้

กำลังดู 8 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 8 (ของทั้งหมด 8)
  • ผู้เขียน
    ข้อความ
  • coorspec
    Keymaster

    เรียน คุณมาริสา

    ตามที่ท่านได้แจ้งข้อมูลมา สำนักจัดการป่าชุมชนต้องขอขอบคุณ และขอเรียนว่า จะดำเนินการดังนี้
    1. จะมอบหมายเจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่ตรวจสอบข้อมูล/ข้อเท็จจริง และรายงานในรายละเอียดของเรื่องที่แจ้งดังกล่าว
    2. วิเคราะห์ข้อมูล เกี่ยวกับการจัดตั้งป่าชุมชน ว่าได้ดำเนินการเป็นไปตามระเบียบ กฏหมาย และแนวทางการจัดทำโครงการป่าชุมชนของกรมป่าไม้อย่างถูกต้องหรือไม่ รวมถึงพื้นที่ทำกินของราษฎรที่กล่าวอ้าง มีสิทธิหรือเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดหรือไม่โดยจะต้องไปพบท่านเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติม
    3. จะมอบหมายเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ที่รับผิดชอบในระดับพื้นที่ ไปร่วมหารือกับชุมชนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขและข้อยุติร่วมกัน

    ซึ่งจากการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นจากฐานข้อมูลของสำนักจัดการป่าชุมชน พบว่าโครงการป่าชุมชนบ้านโคกโสกขี้หนู ดำเนินการโดยชุมชนบ้านทะเมนชัย หมู่ที่ 1 บ้านใหม่ทะเมนชัย หมู่ที่ 6 บ้านกุดน้ำใส หมู่ที่ 10 ตำบลไพล อำเภอลำทะเมนชัย จังหวัดนครราชสีมา ยื่นเสนอโครงการเพื่อขออนุมัติจัดตั้งป่าชุมชน เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2543 เนื้อที่ 2,240-2-83 ไร่ มีพื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 เป็นหมู่บ้านเป้าหมายที่ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อดูแลรักษาป่าชุมชนให้เกิดประโยชน์ต่อพี่น้องประชาชนในหมู่บ้าน เมื่อปี 2544 ยื่นเสนอโครงการเพื่อขอต่ออายุโครงการป่าชุมชน เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2560 เนื้อที่ 2,240-2-83 ไร่ (เนื้อที่เท่าเดิม)

    จึงเรียนมาเพื่อทราบไว้เบื้องต้นก่อน

    ส่วนส่งเสริมการจัดการป่าชุมชน
    สำนักจัดการป่าชุมชน

    coorspec
    Keymaster

    กำลังดำเนินการเสนอ ผอ.สำนักจัดการป่าชุมชน พิจารณาเรื่องครับ จะแจ้งผลให้ทราบภายหลัง

    เพื่อตอบกลับ: ปัญหาการขอจัดตั้งป่าชุมชน #402605
    coorspec
    Keymaster

    เรียน คุณอดิศักดิ์
    สำนักจัดการป่าชุมชนตรวจสอบเบื้องต้นแล้วขอเรียนว่า ป่าชุมชนควนพองที่ผู้ร้องอ้างถึง อยู่ในพื้นที่
    ป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ (ปลูกป่า) ซึ่งตามแนวทางการจัดทำโครงการป่าชุมชนของกรมป่าไม้ หน้า 5 ข้อ 2.3 พื้นที่ดำเนินโครงการป่าชุมชน
    2.3.1 พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
    2.3.2 พื้นที่ป่า ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
    2.3.3 ที่ดินอันมีลักษณะเป็นที่สาธารณประโยชน์ หรือ พื้นที่หน่วยงานต่างๆ ที่กำกับดูแลรักษาพื้นที่หรือมีอำนาจครอบครอง
    มีข้อควรคำนึงของการคัดเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการป่าชุมชนควรมีลักษณะ ดังนี้
    1) พื้นที่ ที่มีอาณาเขตอยู่ติดหรือใกล้หมู่บ้าน และราษฎรในหมู่บ้านมีความพร้อมและสนใจที่จะร่วมจัดทำโครงการป่าชุมชน
    2) ไม่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ เช่น อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า วนอุทยาน หรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
    3) ไม่เป็นพื้นที่ซึ่งส่วนราชการหรือผู้หนึ่งผู้ใดได้รับอนุญาตเข้าทำประโยชน์ หรือพื้นที่ที่กรมป่าไม้ใช้หรือจัดการ หรือประกาศเป็นพื้นที่วิจัยทางวิชาการหรือประโยชน์อย่างอื่นของรัฐ
    4) กรณีเป็นพื้นที่อันมีลักษณะเป็นที่สาธารณประโยชน์หรือพื้นที่ของหน่วยงานต่างๆ ต้องได้รับการยินยอมหรือแจ้งไม่ขัดข้อง จากหน่วยงานที่กำกับดูแลรักษาพื้นที่ หรือผู้มีอำนาจครอบครอง
    ซึ่งขณะนี้ สำนักจัดการป่าชุมชนได้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบในรายละเอียดเพื่อพิจารณา ต่อไป

    เพื่อตอบกลับ: ปัญหาการขอจัดตั้งป่าชุมชน #402596
    coorspec
    Keymaster

    กำลังดำเนินการตอบครับ

    เพื่อตอบกลับ: ร้องเรียน #390484
    coorspec
    Keymaster

    การจัดตั้งโครงการป่าชุมชนตามแนวทางของกรมป่าไม้
    เป็นการที่อธิบดีกรมป่าไม้ สั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่า ในรูปแบบ “ป่าชุมชน”
    1.ในพื้นที่ป่า กรมป่าไม้อาศัยอำนาจมาตรา 17 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
    มาตรา 17 บัญญัติว่า” บทบัญญัติในส่วนนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
    (1) พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า การค้นคว้าหรือการทดลองในทางวิชาการ
    (2) ผู้เก็บหาเศษไม้ปลายไม้ตายแห้งที่ล้มขอนนอนไพรอันมีลักษณะเป็นไม้ฟืน ซึ่งมิใช่ไม้สักหรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ไปสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนแห่งตนหรือประกอบกิจของตน”
    มาตรา 32 บัญญัติว่า”บทบัญญัติในส่วนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า การค้นคว้า หรือการทดลองในทางวิชาการ
    2.ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้อาศัพอำนาจมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
    มาตรา 19 บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือ เจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตป่าสงวนแห่งชาติได”
    ดังนั้น ในกรณีดังกล่าว
    1. การที่ผู้นำหมู่บ้านอนุญาติให้บุคคลเข้าไปทำสวนโดยไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการจะมีความผิดหรือไม่
    ตอบ การทำสวนไม่เป็นการกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 หรือเพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จึงไม่สามารถทำสวนในพื้นที่ป่าชุมชนได้
    2. ร้องเรียนได้ดังนี้
    – ร้องเรียนผ่านระบบE-petition
    – ทำหนังสือส่งไปรษณีแจ้งกรมป่าไม้
    – ร้องเรียนต่อสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

    เพื่อตอบกลับ: ร้องเรียน #390483
    coorspec
    Keymaster

    การจัดตั้งโครงการป่าชุมชนตามแนวทางของกรมป่าไม้
    เป็นการที่อธิบดีกรมป่าไม้ สั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่า ในรูปแบบ “ป่าชุมชน”
    1.ในพื้นที่ป่า กรมป่าไม้อาศัยอำนาจมาตรา 17 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484
    มาตรา 17 บัญญัติว่า” บทบัญญัติในส่วนนี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้
    (1) พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า การค้นคว้าหรือการทดลองในทางวิชาการ
    (2) ผู้เก็บหาเศษไม้ปลายไม้ตายแห้งที่ล้มขอนนอนไพรอันมีลักษณะเป็นไม้ฟืน ซึ่งมิใช่ไม้สักหรือไม้หวงห้ามประเภท ข. ไปสำหรับใช้สอยในบ้านเรือนแห่งตนหรือประกอบกิจของตน”
    มาตรา 32 บัญญัติว่า”บทบัญญัติในส่วนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่จัดกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า การค้นคว้า หรือการทดลองในทางวิชาการ
    2.ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ กรมป่าไม้อาศัพอำนาจมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507
    มาตรา 19 บัญญัติว่า “เพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ อธิบดีมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือ เจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้ กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดในเขตป่าสงวนแห่งชาติได”
    ดังนั้น ในกรณีดังกล่าว
    1. การที่ผู้นำหมู่บ้านอนุญาติให้บุคคลเข้าไปทำสวนโดยไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการจะมีความผิดหรือไม่
    ตอบ การทำสวนไม่เป็นการกระทำไปเพื่อประโยชน์ในการบำรุงป่า มาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 หรือเพื่อประโยชน์ในการควบคุม ดูแล รักษาหรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 จึงไม่สามารถทำสวนในพื้นที่ป่าชุมชนได้
    2. ร้องเรียนได้ดังนี้
    – ร้องเรียนผ่านระบบE-petition
    – ทำหนังสือส่งไปรษณีแจ้งกรมป่าไม้
    – ร้องเรียนต่อสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้แห่งท้องที่ ในพื้นที่ที่รับผิดชอบ

    เพื่อตอบกลับ: จำนวนป่าชุมชน #190195
    coorspec
    Keymaster

    9,721 แห่ง

    coorspec
    Keymaster

    สำนักจัดการป่าชุมชน
    วิสัยทัศน์ : เพื่อเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการ
    บริหารจัดการป่าชุมชน
    ประเด็นยุทธศาสตร์ : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการป่าชุมชน เพื่ออำนวยประโยชน์
    อย่างยั่งยืน
    พันธกิจ :
    1. ศึกษา วิจัย เพื่อกำหนดแผนงานและมาตรการในการจัดการป่าชุมชน ป่าในเมือง และระบบวนเกษตร
    2. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยป่าชุมชน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
    3. ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน และ สถาบันต่างๆ มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการป่าชุมชน ป่าในเมือง และระบบวนเกษตร
    4. ดำเนินการและประสานงานเกี่ยวกับการพัฒนางานด้านวนศาสตร์ชุมชนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    5. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
    เป้าหมายการดำเนินการ
    กลุ่มเป้าหมายหลักในการดำเนินโครงการป่าชุมชนคือ หมู่บ้านที่อยู่รอบป่าสงวนแห่งชาติในรัศมี 5 กิโลเมตร จำนวน 21,850 หมู่บ้าน ทั่วประเทศ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ขณะนี้ กรมป่าไม้อนุมัติให้จัดตั้งป่าชุมชนไปแล้วทั้งสิ้น 9,492 หมู่บ้าน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2558) โดยมีเป้าหมายขยายการจัดตั้งป่าชุมชนให้แล้วเสร็จภาในระยะเวลา 10 ปี ดังนี้

    ลำดับที่ กิจกรรม เป้าหมาย ระยะเวลา หมายเหตุ
    1.การจัดตั้งป่าชุมชน
    – ระยะที่ 1 (2558)
    – ระยะที่ 2 (2559 – 2562)
    – ระยะที่ 3 (2563 – 2567)
    เป้าหมาย
    12,848 หมู่บ้าน
    1,000 หมู่บ้าน
    4,800 หมู่บ้าน
    7,048 หมู่บ้าน
    ระยะเวลา
    10 ปี
    1 ปี
    4 ปี
    5 ปี
    ๒.การส่งเสริมการบริหารจัดการป่าชุมชน
    เป้าหมาย
    12,848 หมู่บ้าน
    ระยะเวลา
    12 ปี (๒๕๕๘-๒๕๖9)

    แหล่งงบประมาณ
    ๑) งบประมาณประจำปี
    ๒) งบประมาณจากภาคเอกชน (CSR)
    ๓) งบจังหวัด
    ๔) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

กำลังดู 8 ข้อความ - 1 ผ่านทาง 8 (ของทั้งหมด 8)