หลักคุณธรรม จริยธรรม


มาตรฐานทางจริยธรรม

มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งจะต้องประกอบด้วย
1 ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  ตัวอย่างพฤติกรรมที่ พึงกระทำ
  - สนับสนุนและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเฉลิมสพระเกียรติในโอกาสต่าง ๆ
  - แสดงออกถึงความเคารพ เทิดทูน และรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์
  - ไม่ดูมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้าย หรือสร้างความเสื่อมเสียต่อประเทศชาติ
  - ปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายกำหนดในฐานะประชาชนคนไทย
  - มีความเป็นกลางทางการเมือง ไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อพรรคการเมือง พรรคใดพรรหนึ่ง
  - แสดงออกด้วยความภูมิใจในชาติ
  - ตระหนักถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ
  - ติดตามสถานการณ์ที่อาจเป็นภัยต่อประเทศและป้องกันภัยที่เกิดขึ้นเต็มกำลังความสามารถ
  - มีค่านิยมและความประพฤติที่ถูกต้องดีงามตามทำนองคลองธรรม ยึดหลักคำสอนทางศาสนาเป็นแนวทางในการประพฤติ
    ปฏิบัต ในการดำเนินชีวิต รวมทั้งยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
  พฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ
  - เผยแพร่ข่าวสารของข้อมูลอันเป็นเท็จหรือให้ร้ายต่อชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์
  - แสดงพฤติกรรมที่ดูหมิ่นประเทศชาติ ศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์
  - ต่อต้านการปกครองระบบประชาธิปไตรอันมีพระมหาษัตริย์ทรงเป็นประมุข
  - เพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำที่ไม่จงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์

2 ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่
  พฤติกรรมที่พึงกระทำ
  - ปฏิบัตหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ หลักวิชาการ และหลักคุณธรรม
  - ปฏิบัตหน้าที่ด้วยความโปร่งใสมีหลักการ ขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน จัดเก็บหลักฐานเอกสารเพื่อสามารถสอบได้
    และสามารถอธิบายได้อย่างชอบธรรมในสิ่งที่ได้กระทำลงไป
  - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ ไม่หวังผลประโยชน์
  - ไม่ดูหมิ่น เหยียดหยาม ให้ร้าย หรือสร้างความเสื่อมเสียต่อองค์กรและประเทศชาติ
  - ปฏิบัตหน้าที่โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และยึดหลักสิทธิมนุษยชน
  - รักษาความลับของทางราชการ กรณีไม่สามารถเปิดเผยได้
  - เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ชัดเจน
  - ไม่รับและไม่อนุญาตให้ครอบครัวหรือญาติพี่น้องรับของกำนัลหรือการรับรองจากธุรกิจหรือธุรกิจเอกชนที่ติดต่องานกับทางราชการ
  - ตระหนักในบทบาทหน้าที่ที่ตนเองรับผิดชอบในความผิดพลาดที่ได้กระทำ
  - เสียสละ อุทิศตน และอุทิศเวลาในการปฏิบัตงาน
  พฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ
  - ใช้ทรัพย์สินราชการ เพื่อประโยชน์ส่วนตน เช่น พาหนะ วัสดุสำนักงาน
  - กระทำการทุจริตหรือร่วมทำทุจริต เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ผู้อื่น และพวกพ้อง ที่ผิดวัตถุประสงค์ ผิดเป้าหมายของงาน
    หรือใช้วิธีการผิดในการทำงาน เพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้ประโยชน์
  - ใช้เวลาราชการทำธุระส่วนตัว
  - ปฏิบัติราชการสายและกลับก่อนเวลา
  - ปล่อยปละละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำที่ไม่จงรักภัคด่ต่อชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์
  - ประพฤติ ปฏิบัติ โดยไม่คำนึงถึงความเสียหายที่าจะเกิดขึ้นยต่องาน องค์กร ประชาชน และประเทศชาติ
  - เพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำผิด ขาดความรับผิดชอบต่องาน และไม่โปร่งใสในการทำงาน

3 กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม
  พฤติกรรมที่พึงกระทำ
  - เปิดเผยการทุจริตที่พบเห็นหรือรายงานการทุจริตให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ
  - ไม่ใช้ช่องว่างทางกฎหมายสร้างประโยชน์ให้ตนเอง ผู้อื่นหรือพวกพ้อง
  - ประพฤติ ปฏิบัต และยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องชอบด้วยกฎหมาย และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
  - ไม่ยึดถือปฏิบัติที่กระทำการต่อ ๆ กันมา ในสิ่งที่ผิดกฎหมาย ระเบียบ
  - กล้าที่จะยืนหยัดในการกระทำที่ถูกต้อง แม้ว่าบุคคลรอบข้างจะกระทำผิด
  พฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ
  - ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่เป็นธรรม
  - อาศัยอำนาจหน้าที่ราชการของตนหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง ผู้อื่น พวกพ้อง เช่น ทุจริตในการสอบ เรียกเงิน
    เพื่อพาเข้าทำงาน เอื้อปะโยชน์ต่อธุกิจของญาติและพวกพ้อง
  - ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงหลักกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางปฏิบัติ
  - ประพฤติปฏิบัติตนโดยไม่คำนึงถึงหลักคำสอนของศาสนา

4 คิดถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ
  พฤติกรรมที่พึงกระทำ
  - ยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้งอันได้แก่ ประโยชน์ของราชการ ประชาชน ประเทศชาติ เป็นหลัก
  - มีความตั้งใจ และสร้างทัศนคติที่ดี ในการให้บริการต่อประชาชน หน่วยงานต่าง ๆ ที่มารับบริการ ด้วยความเต็มใจ
    บริการด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง มีน้ำใจ ยิ้มแย้ม เอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือ วาจาสุภาพร่วมแก้ไขปัญกาที่เกิดขึ้นในการ
    บริการ และบริการด้วยความจริงใจให้กับผู้รับบริการ
  - ให้คำแนะนำเกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ ขั้นตอนการดำเนินการให้ผู้รับบริการทราบ
  - เข้าร่วมกิจกรรมช่วยเหลือสังคมทั้งในที่ทำงาน และ/หรือชุมชน
  - อุทิศตนปฏิบัติงานนอกเหนือเวลาราชการและนอกเหนือจากงานตามหน้าที่อย่างเต็มกำลังความสามารถด้วยความเต็มใจ
  - แยกแยะเรื่องส่วนตัวออกจากหน้าที่การทำาน
พฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ
  - ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานเรียกรับ เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตน
  - ใช้เวลาราชการกระทำเรื่องส่วนตัว
  - ใม่มีจิตสำนึก โดยใช้ทรัพย์สินและบุคลากรของทางราชการเพื่อประโยชน์ส่วนตน
  - ปฏิบัติงานโดยมีพฤติกรรมที่เอื้อประโยชน์ต่อตนเอง ญาติ พี่น้อง และพวกพ้อง ไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม
  - ใช้ความรู้สึกส่วนตัวมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ หรือมีอคติต่องานที่ปฏิบัติ ต่อเพื่อร่วมงาน ต่อองค์กร ต่อรัฐบาล
    และต่อประชาชน

5 ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ
  พฤติกรรมที่พึงกระทำ
  - ประพฤติปฏิบัตตนให้เป็นที่เชื่อถือของบุคคทั่วไป รักษาเกียตริและศักดิ์ศรีของการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดี
  - ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเสมอภาค ยุติธรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยไม่เลือกปฏิบัติ
  - ใช้มาตรฐานการทำงานที่ตามหลักธรรมมาภิบาลสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย
  - อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้มาติดต่อราชการด้วยอัธยาศัยที่ดี สุภาพ และสร้างความประทับใจแก่ผู้มาใช้บริการ
    ด้วยความจริงใจ
  - ปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากอคติ
  พฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ
  - ใช้เหตุผล อคติ และความเชื่อถือส่วนตัวทั้งทางด้านต่าง ๆ และทางการเมืองมาปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่เป็นธรรม
  - ไม่วางตัวเป็นกลางทั้งทางด้านต่าง ๆ และทางการเมือง
  - ละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการเลิกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม
  - ใช้อำนาจหน้าที่ทางราชการด้วยความลำเอียง กระทบต่อสิทธิ หน้าที่ และความเจริญก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของผู้อื่น
  - เลือกปฏิบัติเพาะความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา เพศ อายุ สภาพร่างกาย สถานะทางเศรษฐกิจสังคม
    และความเชื่อทางการเมือง
  - เอื้ประโยชน์แก่ญาติพี่น้องและพวกพ้องในการปฏิบัติงาน

6 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
  พฤติกรรมที่พึงกระทำ
  - กำหนดมาตรฐาน รูปแบบ และเป้าหมายในการทำงาน
  - ปฏิบัติงานด้วยความรับผิดเต็มความสามารถ อดทน มุ่งมั่น รอบคอบ ถูกต้อง ไปให้ถึงเป้าหมายที่หน่วยงานตั้งไว้
    โดยคำนึงถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของงาน
  - มีความคิดสร้างสรรค์ แสดงและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาและส่งเสริมการทำงาน
  - ทำงานโดยดำเนินการประสานงานบุคคล หน่วยงาน ยึดผลลัพธ์ของงานที่เกิดผลดีและเป็นประโยชน์ต่อองค์กร
    ต่อส่วนรวม โดยติดตามผลงาน ประเมินผลงาน และปรับปรุงงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ
  - พัฒนาตนเอง เรียนรู้งานอย่างต่อเนื่อง เพิ่มทักษะ ปรับตัว คิดทันตามยุคสมัย มีการแลกเปลี่ยนความรู้
    และถ่ายทอดกระบวนการทำงานให้กันและกัน
  - รักษามาตรฐานการทำงานให้ดรยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงาน
  - ใช้ทรัพยากรในหน่วยงานอย่างคุ้มค่าและประหยัด
  - ทำงานเป็นทีมด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ สร้างความเป็นเลิศให้กับงาน
  - จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงาน
  พฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ
  - ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่คำนึงถึงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ผลสำเร็จของงาน
  - ปฏิบัติห้นาที่ไม่เต็มกำลังความสามารถ ทำตามความพึงพอใจส่วนตัว
  - ไม่เห็นคุณค่าของทรัพยากร และบริหารเงินงบประมาณที่ได้รับอย่างฟุ่มเฟือย ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อการ
    ดำเนินงาน

7 ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ
  พฤติกรรมที่พึงกระทำ
  - ปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่ดีของบ้านเมืองในระบบประชาธิปไตร
  - ดำเนินชีวิตและปฏิบัติหน้าที่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หลักคำสอนทางศาสนา จรรยาบรรณ เคารพต่อกฎหมาย
    ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน และระเบียบวินัย
  - แต่งการสุภาพเรียบร้อยตามระเบียบ
  - รักษาเกียตริ ศักดิ์ศรี เป็นแบบอย่างที่ดี รักษาชื่อเสียง และภาพลักษณ์ของตนและส่วนราชการ
  - เผยแพร่ข้อมูลของส่วนราชการที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนอย่างถูกต้อง ครบถ้วน
  พฤติกรรมที่ไม่พึงกระทำ
  - กระทำการอันเป็นการเสื่อมเสียมาสู่ราชการ
  - ประมาทเลินเล่นในการปฏิบัติราชการเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ
  - เปิดเผยความลับของทางราชการเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน และส่วนราชการ